Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15014
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจใน การเรียนรู้แบบยึดหยุ่น ของนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์
Other Titles: Development of a causal model of achievement and satisfaction with flexible learning of undergraduate students in science majoring in software development
Authors: ประสาท จูมพล
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความพอใจ
การเรียนรู้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ -- นักศึกษา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ ทงการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นของนิสิตหลักสูตรวิทยา ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการ เรียนรู้แบบยืดหยุ่นของนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูล เชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เข้าศึกษาในหลักสูตร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 – 2549 จำนวน 150 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 2 ตัวแปรคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจของผู้เรียน ตัวแปรภายนอกแฝง 5 ตัว คือการสนับสนุนการเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอน เทคโนโลยีการเรียนการสอน วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจใน การเรียนรู้ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตั้งแต่ 0.708 ถึง 0.924 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดและอิทธิพลรวมสูงสุดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ปัจจัยทางด้านผู้เรียน ปัจจัยที่อิทธิพลสูงสุดต่อความพึงพอใจในการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นของนิสิตหลัก สูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีการเรียนการสอน 2. ผลการพัฒนาได้โมเดลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 2 ตัวแปรคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจของผู้เรียน ตัวแปรภายนอกแฝง 5 ตัว คือการสนับสนุนการเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอน เทคโนโลยีการเรียนการสอน วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัว 3. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยให้ค่า X[superscript 2] = 30.505, p = 1.00, df = 64, GFI = 0.978, AGFI = 0.940 และ RMR = 0.007 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอ ใจในการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นของนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร้อยละ 44.0 และ 90.0 ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research were to study the causal effect to achievement and satisfaction with flexible learning, to development of a causal model of achievement and satisfaction with flexible learning of undergraduate students in science majoring in solfware develment and to examine the goodness of fitting of the model to the empirical data, The research sample consisted of 150 undergraduate students in science majoring in solfware development, Chulalongkorn University; the variables consisted of two endogenous latent variables; academic achievement and satisfaction; and five exogenous latent variables: support, teacher, learning, activity and technology. These latent variables were measure by 18 observed variables. Data were collected by testing of factor effect to achievement and satisfaction with flexible learning having reliability form 0.708 – 0.924 and analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation were analyzed by employing SPSS program and LISREL analysis were analyzed by employing LISREL program. The major findings were as follows: 1. The structural equation model showed that variable having maximum direct effect and total effect to academic achievement was learner and variable having maximum effect to satisfaction was technology. 2. The Causal model for the model development have two endogenous latent variables: academic achievement and satisfaction; and five exogenous latent variables: support, teacher, learning, activity and technology. These latent variables were measure by 18 observed variables. 3. The structural equation model was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit to test was 30.505, p = 1.000, df = 64, GFI = 0.978, AGFI = 0.940 and RMR = 0.007 The model accounted for 44.0% of variance in effectiveness of academic achievement and 90.0% of variance in effectiveness of satisfaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15014
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.752
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.752
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prasat.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.