Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15214
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบภาพลักษณ์ปัจจุบันของธนาคารของรัฐและธนาคารเอกชน |
Other Titles: | Comparison of the current image of government and private banks |
Authors: | ฐิติชญา เพชรสายทิพย์ |
Advisors: | สุวัฒนา วงษ์กะพันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภาพลักษณ์องค์การ ธนาคารและการธนาคาร |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประชาสัมพันธ์เพื่อปรับภาพลักษณ์ของธนาคารของรัฐ และธนาคารเอกชน เปรียบเทียบภาพลักษณ์ปัจจุบันของธนาคารของรัฐ และธนาคารเอกชนในสายตาผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของธนาคารกับพฤติกรรมการใช้บริการของประชาชน โดยมีกรณีศึกษา คือ บมจ.ธนาคารกรุงไทยเป็นตัวแทนธนาคารของรัฐ และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนธนาคารเอกชน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพจะประกอบด้วย การศึกษานโยบายและการดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กร กระบวนการประชาสัมพันธ์ของทั้ง 2 ธนาคาร ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์จำนวน 4 คนและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ได้ศึกษาภาพลักษณ์ของธนาคารโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการทั้ง 2 ธนาคาร ซึ่งเป็นเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง15-59 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ทั้ง 2 ธนาคารได้มีนโยบายและดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรในปี 2544-2545 โดยได้มีการปรับปรุงพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์และบริการ ทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยีฯลฯ สร้างเอกลักษณ์และภาพลักษณ์องค์กรด้วยการปรับเปลี่ยนโลโก้ สี รูปลักษณ์ของสาขาและจุดบริการ เครื่องแบบพนักงานให้มีความโดดเด่น เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ อีกทั้งได้ทำการประชาสัมพันธ์องค์กรและการประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดควบคู่กันไป เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ภาพลักษณ์และการดำเนินงานต่างๆขององค์กร โดยมีกระบวนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการวิจัย-รับฟัง ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการสื่อสาร และขั้นตอนการประเมินผล โดยทำการวางแผนการประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจใหญ่ของธนาคาร ใช้กลยุทธ์การใช้สื่อแบบผสมผสาน และเลือกใช้สื่อให้เหมาะกับรูปแบบวิธีการ เป้าประสงค์และกลุ่มเป้าหมายของแต่ละโครงการ และมีการประเมินผลอย่างเป็นระบบ ซึ่งทั้ง 2 ธนาคารมีการดำเนินงานที่แตกต่างกันไปในรายละเอียด ในส่วนของภาพลักษณ์ พบว่า ภาพลักษณ์ของทั้ง 2 ธนาคารในสายตาประชาชนผู้ใช้บริการอยู่ในระดับดีไม่แตกต่างกัน โดยธนาคารของรัฐมีค่าเฉลี่ยภาพลักษณ์ด้านภาพรวมของธนาคารสูงที่สุด ส่วนธนาคารเอกชนมีค่าเฉลี่ยภาพลักษณ์ด้านธุรกิจสูงที่สุด อีกทั้ง พบว่า ภาพลักษณ์ของทั้ง 2 ธนาคารมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้บริการของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ. |
Other Abstract: | The objectives of this research are: to study the PR process of government and private banks which are Krungthai Bank(KTB) and Siam Commercial Bank (SCB), to compare the current image perceived by the customers of both banks, and to study the relationship between the banks’ image as well as consumers purchase. Four in-depth interviews with banks’ PR executives and documentary analysis were firstly conducted to explore banks’ change program and bank’s PR Process. Questionnaires were then used to collect data about banks’ image from 400 customers of both banks, age of 15-59 years old, living in Bangkok. The findings revealed that both banks started their changes in 2001-2002. They’ve developed their performance: Product& Service, HR, IT, etc. They’ve created their corporate identity and image by renewing logo, using identically outstanding colours, design of branches and service centers as well as staff’s uniform throughout the country in order to attract target groups. Marketing Public Relations (MPR)and Corporate Public Relations(CPR) were conducted simultaneously. The PR process of both banks was composed of 4 steps; Research& Listening, Planning, Communication and Evaluation. In this respect, the PR plan depended on the business plan. The PR Strategies were the uses of mass media as the main media and integrated media, depending on objectives and target group of campaigns. Evaluation process was systematic. The quantitative results indicated that the banks’ current image was good; governmental corporate image was the most remarkable for government bank, and business image of private bank was the most significant. Moreover, the image of the banks was positively correlated with consumers’ purchase regarding statistic implication. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15214 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1471 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1471 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thitichaya.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.