Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15219
Title: การผลิตไดอะตอม Amphora delicatissima แบบเฮเทอโรโทรฟิก เพื่อเป็นอาหารเสริมสำหรับเพรียงทราย Perinereis nuntia
Other Titles: Heterotrophic production of the diatom Amphora delicatissima as food supplement for polychaete Perinereis nuntia
Authors: เอกราช ภูฆัง
Advisors: สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
สรวิศ เผ่าทองศุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ไดอะตอม
เพรียงทราย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการทดลองเลี้ยงเพรียงทราย Perinereis nuntia ในห้องปฏิบัติการโดยมีการเติมไดอะตอม Amphora delicatissima ที่เติบโตในสภาวะเฮเทอโรโทรฟิกลงในถังเลี้ยงร่วมกับการให้อาหารสำเร็จรูปตามปรกติ ในขั้นแรกได้ทำการศึกษาการเติบโตของไดอะตอมในชั้นทรายของระบบเลี้ยงเพรียง พบว่าขนาดของเม็ดทรายมีผลต่อการเติบโตของไดอะตอม โดยไดอะตอมสามารถเติบโตได้ดีที่สุดในทรายขนาด 0.3-0.7 มิลลิเมตร และไดอะตอมจะมีการเติบโตได้ดีในสภาวะมิกโซโทรฟิกในชั้นทรายที่มีสารอินทรีย์คาร์บอนและได้รับแสง ในขณะที่การเลี้ยงไดอะตอมในทรายเทียม (vermiculite) โดยมีอาหารกุ้งเป็นแหล่งสารอาหารหลัก และระบบอยู่ในสภาวะที่ไม่มีแสง จะพบการเติบโตเพิ่มจำนวนเซลล์ไดอะตอมไม่มาก แต่ไดอะตอมสามารถดำรงชีวิตอยู่ในระบบเลี้ยงได้โดยมีสภาพเซลล์ที่สมบูรณ์และมีสารสีเหมือนไดอะตอมปรกติที่เติบโตแบบโฟโตออโตโทรฟิก ผลการเลี้ยงเพรียงทราย Perinereis nuntia วัยอ่อนด้วยอาหารกุ้งร่วมกับไดอะตอม พบว่าสารสีจากไดอะตอมถูกถ่ายทอดไปสู่เพรียงทรายตามห่วงโซ่อาหารได้โดยสารสีที่พบมากก็คือฟูโคแซนทิน (Fucoxanthin) ซึ่งเป็นสารสีชนิดเด่นในไดอะตอม ในขณะที่การเสริมไดอะตอมไม่ช่วยเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงปริมาณและองค์ประกอบสารสีในเพรียงทรายขนาดใหญ่ เนื่องจากเพรียงทรายจะเลือกกินเฉพาะอาหารกุ้งเป็นหลัก และการเลี้ยงเพรียงทรายด้วยอาหารกุ้งร่วมกับไดอะตอม พบว่ามีปริมาณกรดไขมันที่ไม่สามารถจำแนกได้ปริมาณที่สูงกว่าชุดทดลองที่เลี้ยงด้วยอาหารกุ้งเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การเสริมไดอะตอมลงในระบบเลี้ยงเพรียงทรายนอกจากจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับเพรียงทรายแล้ว ไดอะตอมยังช่วยควบคุมคุณภาพน้ำโดยลดปริมาณแอมโมเนียและไนเตรตในน้ำช่วยให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งเห็นผลได้อย่างชัดเจนทั้งในชุดการทดลองที่ทำกับเพรียงทรายวัยอ่อนและกับเพรียงทรายตัวเต็มวัย
Other Abstract: This study involved the cultivation of sandworm (Perinereis nuntia) fed with artificial feed and supplemented with the heterotrophic diatom Amphora delicatissima under laboratory condition. Preliminary studies on growth of the diatom in sand layer of the sandworm culture system showed that grain sizes of the sand had an effect on growth of the diatom. Highest growth rate of the diatom was obtained in 0.3-0.7 mm diameter sand under mixotrophic culture condition supplemented with organic carbon and light. Dark-heterotrophic growth of the diatom in artificial sand (Vermiculite) with shrimp feed as a sole carbon source could induce only slow growth rate. However, with this condition, diatom could survive and cells were still in good condition with normal pigment profile as autotrophic condition. The experiment on diatom supplemented in juvenile sandworm culture tank showed that pigment from diatom could be transferred through food chain from diatom to sandworm. The dominant pigment found in sandworm was fucoxanthin which is the dominant pigment in the diatom. However, diatom supplement did not improve pigmentation in adult sandworm due to its food selective capability. Fatty acids profile analysis showed that sandworm fed with shrimp feed plus diatom had higher unidentified fatty acids than that found without diatom supplement. Moreover, supplement of diatom in sandworm culture system also improved water quality especially with ammonia and nitrate removal. This was clearly found in both juvenile and adult sandworm culture experiments.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15219
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1910
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1910
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekarat_Ph.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.