Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15274
Title: | การพัฒนารูปแบบการวางแผนทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ |
Other Titles: | Development of a Rajabhat University human resource planning model |
Authors: | วีรภัทร ภัทรกุล |
Advisors: | ปองสิน วิเศษศิริ ศิริเดช สุชีวะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎ การบริหารงานบุคคล |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัย ราชภัฏ วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้ 1) กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) ศึกษาสภาพการวางแผนทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) สร้างรูปแบบการวางแผนทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 4) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบที่สร้างขึ้น และ 5) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการวางแผนทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รูปแบบของการวางแผนทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ความนำ 2) องค์ประกอบของรูปแบบการวางแผนทรัพยากรบุคคล 3) แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และ 4) เงื่อนไขหรือข้อจำกัดของรูปแบบ องค์ประกอบของรูปแบบการวางแผนทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) สภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม ด้านการเมือง การปกครอง และด้านเทคโนโลยี 2) ปัจจัยป้อนในการวางแผนทรัพยากรบุคคล ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) กระบวนการวางแผนทรัพยากรบุคคล ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานขององค์การ การประเมินทรัพยากรบุคคลปัจจุบัน การคาดการณ์ความต้องการทรัพยากรบุคคล การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การกำหนดแนวปฏิบัติ และการตรวจสอบและประเมินผล 4) ผลผลิตจากการวางแผนทรัพยากรบุคคล ได้แก่ บุคลากรในจำนวน คุณสมบัติ และเวลา ตามความต้องการขององค์การ และ 5) ข้อมูลย้อนกลับจากการวางแผนทรัพยากรบุคคล การนำรูปแบบไปใช้ต้องมีข้อกำหนดที่แสดงถึงการนำไปใช้ได้จริง และมีการกำหนดเงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบหรือข้อจำกัดของรูปแบบเตรียมไว้ล่วงหน้า การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการวางแผนทรัพยากรบุคคลเท่านั้น ผู้วิจัยเสนอแนะว่าในอนาคตควรมีการวิจัยในลักษณะเจาะจงในกระบวนการอื่นๆ ของการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การสรรหา การคัดเลือก และการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น. |
Other Abstract: | The purpose of this research is to develop a Rajabhat university human resource planning model. The research methodology is divided into 5 major stages: 1) to determine a research framework, 2) to study the condition of a Rajabat university human resource planning, 3) to construct a Rajabhat university human resource planning model, 4) to examine the appropriateness and the possibility of the constructed model and 5) to improve and present the model. The Rajabhat university human resource planning model consists of 4 parts: 1) An introduction 2) The Model of a Rajabhat university human resource planning 3) An approach of the model usage and 4) Any conditions or any limitations of the model. The Model of a Rajabhat university human resource planning covers 5 major components. They are 1) the external environmental states; i.e., economical, socio – cultural, political, and technological states, 2) the input factors in human resource planning; i.e., internal environmental states, laws, regularities, a history and a development of a Rajabhat university, 3) the processes of human resource planning; i.e., the study of basic information of the organization, the evaluation of the present human resource, the anticipation of the human resource need, the collection and the analysis of the information, the practical assignment, the monitoring and the evaluation, 4) the output of human resource planning; i.e., the personnels within the quantities, the qualities and the periods needed, and 5) the feedback of human resource planning. The Model usage needs to identify the states of the application and to determine success conditions or any limitations in advance. This research is only the study of developing human resource planning model. The researcher suggests that there should be the study that is specific in other processes of human resource administration; i.e., recruitment, selection, development etc. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15274 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.547 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.547 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
weeraphat.pdf | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.