Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15453
Title: การพัฒนากระบวนการผลิตอะคริโลไนไทรล์โดยเครื่องมือการประเมินวัฏจักรชีวิตภายใต้ความไม่แน่นอน
Other Titles: Development of acrylonitrile production process by life cycle assessment tool under uncertainty
Authors: พิรญาณ์ สงวนเนตร
Advisors: ชัยฤทธิ์ สัตยาประเสริฐ
สุรเทพ เขียวหอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
อะคริโลไนทริล
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประยุกต์ใช้การประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของกระบวนการผลิตอะคริโลไนไทรล์ โดยขอบเขตที่พิจารณาตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาสามทางเลือกการผลิตที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1. กระบวนการผลิตแบบทั่วไปซึ่งใช้โพรพิลีนเป็นสารตั้งต้น 2. กระบวนการผลิตซึ่งใช้โพรเพนเป็นสารตั้งต้นโดยมีสายป้อนกลับ และ 3. กระบวนการผลิตซึ่งใช้โพรเพนเป็นสารตั้งต้นโดยไม่มีสายป้อนกลับ โปรแกรมสำเร็จรูปถูกใช้เพื่อเลียนแบบกระบวนการทั้งสามเส้นทาง และสร้างข้อมูลปริมาณวัตถุดิบ พลังงานที่ใช้ และปริมาณสารที่ออกจากกระบวนการผลิต และดัชนีสิ่งแวดล้อม Eco-indicator 99 ถูกใช้เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า ในขอบเขตของขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ ทางเลือกที่ 3 มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ส่วนในขอบเขตของขั้นตอนการผลิตอะคริโลไนไทรล์ และในขอบเขตตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจนถึงขั้นตอนการผลิตอะคริโลไนไทรล์ ทางเลือกที่ 1 มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ส่วนทางเลือกที่ 2 มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในทุกขอบเขต จากการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ความไม่แน่นอนของข้อมูล และสภาวะการดำเนินการของทางเลือกที่ 1 และ 3 ในขอบเขตตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจนถึงขั้นตอนการผลิตอะคริโลไนไทรล์ พบว่าทางเลือกที่ 1 มีค่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าทางเลือกที่ 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 91.7% การปรับปรุงกระบวนการโดยใช้ข่ายงานเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนส่งผลให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลง.
Other Abstract: In this work, we apply the life cycle assessment (LCA) in order to evaluate environmental impacts of acrylonitrile production process. We consider three different production routes including 1) convention process using propylene as raw material, 2) the process using propane as raw material with recycle stream , and 3) the process using propane as raw material without recycle stream. Commercial simulation software is used to perform simulation and to obtain information on amount of raw material, energy consumed and material streams leaving the production process. Eco-indicator 99 is used as an indicator to quantify the environment impacts. The results show that alternative 3 has the lowest environmental impacts in the scope of raw materials production. In the scope of acrylonitrile production and cradle-to-gate, alternative 1 has the lowest environmental impacts. While, alternative 2 has the maximum impacts in all scope. In addition, the environmental impacts assessment under uncertainty of data and operating condition in the scope of cradle-to-gate is performed. It was found that alternative 1 has environmental impacts less than that of alternative 3 at 91.7% confidence level. Process improvement using heat exchanger network (HEN) can reduce environmental impacts.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15453
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1369
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1369
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piraya_sa.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.