Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15704
Title: ความต้องการบริการด้านการดูแลระยะยาวแบบเป็นทางการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย
Other Titles: Need for formal long-term care for the elderly in Thailand
Authors: ณัฐพงษ์ พบสมัย
Advisors: วรเวศม์ สุวรรณระดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ผู้สูงอายุ -- ไทย
ผู้สูงอายุ -- การดูแล -- ไทย
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาภาพรวมของการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาปัจจัยที่กำหนดความต้องการบริการด้านการดูแลระยะยาวแบบเป็นทางการ สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย ซึ่งได้แก่ ศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ การจัดบริการตามบ้านเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ บ้านพักสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ทั้งโดยรวมและรายประเภท โดยนำข้อมูลระดับจุลภาคจากรายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2545 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 43,447 ตัวอย่างและคัดเลือกเฉพาะผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามเองซึ่งเหลือจำนวนทั้งสิ้น 32,020 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวม ปัจจัยส่วนบุคคล การอยู่อาศัย สุขภาพของผู้สูงอายุ จะส่งผลในทิศทางบวกกับความต้องการบริการด้านการดูแลระยะยาวแบบเป็นทางการสำหรับผู้สูงอายุ กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิง ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่อยู่กับสมาชิกคนอื่นๆ ในครัวเรือน ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพไม่ดี และช่วยเหลือตนเองได้น้อยเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ช่วยเหลือตนเองได้มาก ผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแลเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีผู้ดูแลอยู่ในครัวเรือน มีแนวโน้มต้องการใช้บริการด้านการดูแลระยะยาวแบบเป็นทางการมากกว่า ขณะที่เมื่อแยกประเภทบริการด้านการดูแลระยะยาวแบบเป็นทางการออกเป็น ศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ การจัดบริการตามบ้านเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ บ้านพักสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง พบว่า ถ้าผู้ดูแลไม่ได้อยู่ครัวเรือนเดียวกับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจะมีความน่าจะเป็นที่จะต้องการบริการศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ และการจัดบริการตามบ้านเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ มากกว่าผู้สูงอายุที่มีผู้ดูแลอยู่ในครัวเรือน รายได้และการเตรียมความพร้อมด้านการเงิน เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มต้องการบริการด้านการดูแลระยะยาวแบบเป็นทางการ ทั้งโดยรวมและแบบแยกประเภทในระดับที่มากขึ้น.
Other Abstract: To study the need of formal long-term care in Thailand and to analyze the determinants of need for formal long-term care for the elderly, namely Day Care Center, Home Care Service and Chronic Residential Home, in Thailand. Data used for this analysis is micro data from the 2002 Survey of Elderly in Thailand collected by National Statistic Office. The original sample size is 43,447 elderly and omits the elderly who did not response the questionnaire by him/herself. So the sample size of this research is 32,020. The finding of this study is, in general, personal factors, living factors and health factors affect positively the need for formal long-term care for the elderly. Female elderly, the elderly who lives alone compared with the elderly who lives with family, worse health status compared with good health status, and the elderly who has a problem in activities of daily living compared with the elderly who has not got, tends to need formal long-term care services more than others. Furthermore, when we classified formal long-term care by types of services, Day Care Center, Home Care Services, and Chronic Residential Home, we found that the elderly who lives alone is likely to require for the Day Care Center and Home Care Service. Additionally, when we consider the economic status of the elderly, we found that the high-income elderly and elderly who well-prepare in financial is more likely to prefer elderly care in term of both overall and separate formal long-term care.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15704
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1110
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1110
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthapong_po.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.