Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/158
Title: | ผลกระทบจากความผันผวนของตัวแปรนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินที่มีต่อการลงทุนของประเทศ |
Other Titles: | The Impact of fiscal and monetary policy uncertainties on investment in Thailand |
Authors: | นิติวิชย์ ทองอร, 2522- |
Advisors: | ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การลงทุน นโยบายการเงิน--ไทย การคลัง--ไทย การลงทุน--ไทย |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การลงทุนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะของระบบเศรษฐกิจเช่นกัน ผลของการดำเนินนโยบายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเงินหรือการคลังจึงอาจเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของการลงทุน การศึกษานี้มุ่งศึกษาถึงอิทธิพลของความผันผวนของตัวแปรทางด้านมหภาค ที่เกิดจากการดำเนินนโยบายทั้งทางด้านนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง ที่มีผลกระทบต่อการลงทุนประเภทต่างๆ ของประเทศ ว่าได้รับผลกระทบแตกต่างกันเช่นไร โดยแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ประเภทคือ (1) การลงทุนในสิ่งก่อสร้าง (2) การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ (3) การลงทุนในสินค้าคงเหลือ ทั้งนี้โดยการศึกษาข้อมูลอนุกรมเวลารายไตรมาสระหว่างปี พ.ศ. 2536-2545 ตัวแปรนโยบายที่พิจารณาประกอบด้วย สัดส่วนการขาดดุลของภาครัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร และปริมาณเงินตามความหมายกว้าง การศึกษานี้ใช้ ค่าความแปรปรวน (Variance) ย้อนหลัง 4 ไตรมาส เป็นตัวแทนของความผันผวนในตัวแปรนโยบายดังกล่าว จากนั้นจึงทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความผันผวน ของการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง กับการลงทุนในประเภทต่างๆ โดยอาศัยการประมาณค่าโดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า ความผันผวนของนโยบายการคลังจะส่งผลกระทบในทางลบต่อการลงทุนในสิ่งก่อสร้าง มากกว่าความผันผวนของนโยบายการเงิน ในขณะที่การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ และการลงทุนในสินค้าคงเหลือ พบว่าความผันผวนของนโยบายการเงิน โดยเฉพาะความผันผวนของอัตราการเจริญเติบโตของปริมาณเงิน จะส่งผลกระทบในทางลบต่อการลงทุนทั้งสองข้างต้น มากกว่าความผันผวนของนโยบายการคลัง |
Other Abstract: | Investment is a major factor driving the economy. It would change in responding to varying economic situation. Specifically, investment may be affected by policy uncertainties, both these of monetary and fiscal policies. In this study, we examine the influence of the volatilities of macro variables due to shift the monetary and fiscal policies to the level of investment, Investment is disaggregated into 3 typical components, construction investment, equipment investment and inventory investment. In our empirical analysis, we contribute policy variable including the ratio of government deficit to gross domestic product, 14 days repurchase rate (RP14) and broad money stock (M2a). We use 4 quarter-lagged variances of these policy variables to measure policy volatilities. The ordinary least squared method is employed to test the relationship between the volatilities of these macro policy variables and various investment growths. Our empirical analysis found that growth in construction investment is negatively related to fiscal policy volatility relative to monetary policy-led one. Moreover, the volatilities of monetary policy variables, especially money stock, have negative impact on equipment investment and inventory investment relatively to that of fiscal policy volatilities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/158 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1301 |
ISBN: | 9741734824 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.1301 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nitiwit.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.