Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15843
Title: การบำบัดน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยกระบวนการอัลตราฟิลเตรชั่นร่วมกับกระบวนการออสโมซิสผันกลับเพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
Other Titles: Treatment of textile industry effluent by combination of ultrafiltration and reverse osmosis for water reuse
Authors: นรา รัตนพันธ์
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: น้ำ -- การนำกลับมาใช้ใหม่
น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการออสโมซิสผันกลับ
อัลตราฟิลเตรชัน
อุตสาหกรรมสิ่งทอ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยและหาสภาวะที่เหมาะสมในบำบัดน้ำทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอ กลับมาใช้ใหม่ด้วยกระบวนการอัลตราฟิลเตรชั่นร่วมกับออสโมซิสผันกลับ โดยแบ่งการทดลอง ออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ทำการแปรค่าความดันเข้าระบบอัลตราฟิลเตรชั่น 3 ค่า ได้แก่ 0.10, 0.15 และ 0.20 MPa ตามลำดับ ขั้นตอนที่ 2 ทำการแปรค่า %Recovery ของระบบออสโมซิส ผันกลับ 3 ค่า ได้แก่ ร้อยละ 60, 70 และ 80 ตามลำดับ ขั้นตอนที่ 3 นำสภาวะการทำงานที่เหมาะสม ที่สุดไปเดินระบบระยะยาว จากการทดลองพบว่า สำหรับระบบอัลตราฟิลเตรชั่นที่เป็นระบบกรองแบบ dead-end เมื่อ เพิ่มความดันให้กับระบบสูงขึ้น อัตราการผลิตน้ำสะอาดก็จะเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการกำจัดสูงขึ้น ด้วย สำหรับระบบออสโมซิสผันกลับ เมื่อค่า %Recovery เพิ่มขึ้นอัตราการผลิตน้ำสะอาดจะมี แนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ค่า %Recovery สูงมาก คือที่ %Recovery เท่ากับ 80% ประสิทธิภาพการ กำจัดจะมีค่าลดลง เนื่องจาก น้ำเข้าระบบมีความเข้มข้นสูงขึ้น มีผลทำให้อนุภาคต่างๆ สามารถ หลุดผ่านเมมเบรนไปได้บางส่วน ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพการกำจัดลดลง และจากการที่ค่า %Recovery สูงขึ้นมาก ยังทำให้ระบบเกิดการอุดตันเร็วขึ้นด้วย สำหรับประสิทธิภาพการกำจัด สูงสุดของระบบของแต่ละพารามิเตอร์มีดังนี้ ร้อยละการกำจัดความขุ่นเท่ากับ 99.1 ร้อยละการ กำจัดการนำไฟฟ้าเท่ากับ 91.4 ร้อยละการกำจัดความกระด้างเท่ากับ 96.8 ร้อยละการกำจัดสภาพ ด่างเท่ากับ 83.6 ร้อยละการกำจัดคลอไรด์เท่ากับ 85.2 และร้อยละการกำจัดซีโอดีเท่ากับ 83.3 และ ประสิทธิภาพของระบบสามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองการละลาย-แพร่
Other Abstract: The research was aimed to evaluate a reuse of textile dyeing effluent by using combination of ultrafiltration and reverse osmosis process. Three sets of experiment were performed. Step 1, Pressure of ultrafiltration was varied from 0.10, 0.15 and 0.20 MPa. Step 2, %Recovery of reverse osmosis was varied from 60, 70 and 80. Step 3, Long-term was studied base on the optimum conditions gained from Step 1 and 2. For dead-end ultrafiltration, the result showed that the higher pressure were performed, the higher fluxes were obtained and increasing of efficiency. For reverse osmosis, the result showed that the higher % recovery were performed, the higher were obtained. But, the %recovery was higher than 80 revealed the less efficiencies of the system. The highest efficiency percentage of turbidity removal, conductivity removal, hardness removal, alkalinity removal, chloride removal and COD removal were 99.1, 91.4, 96.8, 83.6, 85.2 and 83.3 respectively. The system efficiency would be explained by solute – diffusion model.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15843
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.915
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.915
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nara_ra.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.