Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15910
Title: ผลกระทบของนโยบายการเงินผ่านช่องทางราคาหลักทรัพย์ภายใต้สภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง
Other Titles: The impacts of monetary policy through stock price channel under boom and bust
Authors: กฤษณี พิสิฐศุภกุล
Advisors: จูน เจริญเสียง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: นโยบายการเงิน
หลักทรัพย์ -- ราคา
เงินเฟ้อ
ตลาดหลักทรัพย์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลกระทบนโยบายการเงินผ่านช่องทางราคาหลักทรัพย์ภายใต้แต่ละสภาวะตลาดคือ ตลาดขาขึ้น ตลาดขาลง และตลาดปกติ การแบ่งแยกสภาวะตลาดใช้เครื่องมือที่เรียกว่า CMAX ratio และ MINC ratio แล้ววิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง Vector Autoregressive (VAR) 2 แบบจำลองคือ กรณีที่ไม่มีตัวแปรสภาวะตลาด และกรณีมีตัวแปรสภาวะตลาด ผลการศึกษาพบว่า ช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์อยู่ในสภาวะปกติ ราคาหลักทรัพย์จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย RP 1 day ทิศทางตรงกันข้าม ในช่วงตลาดขาขึ้น การใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดจะทำให้ราคาหลักทรัพย์ตอบสนองในทิศทางที่ลดลง แต่จะลดลงในระยะเวลาสั้นๆ 2-3 เดือน ขณะที่ช่วงตลาดขาลง การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินจะกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ในทิศทางเดียวกัน แต่การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้ ไม่สามารถส่งผลกระทบผ่านไปยังผลผลิตและอัตราเงินเฟ้อได้ เมื่อเปรียบเทียบขนาดของผลกระทบนโยบายการเงินต่อราคาหลักทรัพย์ภายใต้สภาวะตลาดขาขึ้น ขาลง และปกติ พบว่า นโยบายการเงินจะส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ในช่วงตลาดขาลงมากที่สุด รองลงมาคือ ตลาดขาขึ้น และตลาดปกติ อย่างไรก็ตามผลการศึกษาจากแบบจำลอง VAR ที่ไม่มีตัวแปรสภาวะตลาดพบว่า ผลกระทบนโยบายการเงินมีค่าน้อยมาก นั่นคือ สภาวะตลาดหลักทรัพย์เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผลกระทบนโยบายการเงินมีมากขึ้น และขนาดผลกระทบจะแตกต่างกันออกไป นัยเชิงนโยบายที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้คือ ธนาคารกลางควรระมัดระวังการใช้นโยบายการเงินช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์อยู่ในสภาวะขาลง เนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ลดลง จนตลาดหลักทรัพย์ซบเซาติดต่อกันเป็นเวลานาน ขณะที่การใช้นโยบายการเงินในช่วงตลาดขาขึ้นและปกติ ราคาหลักทรัพย์จะตอบสนองต่อนโยบายในทางตรงกันข้าม โดยที่นโยบายการเงินในช่วงดังกล่าวสามารถส่งผ่านไปยังตัวแปรเป้าหมายได้ นอกจากนี้นักลงทุนสามารถคาดการณ์ราคาหลักทรัพย์จากสัญญาณการใช้นโยบายการเงิน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรระมัดระวังผลกระทบจากนโยบายที่แตกต่างกันในแต่ละสภาวะตลาดร่วมด้วย
Other Abstract: To analyze the impacts of monetary policy through stock price channel under different stock market conditions, namely boom, bust and normal. Stock market conditions are identified using CMAX and MINC ratio. The impacts of monetary policy are then analyzed via two different VAR model setups; VAR without stock market conditions and VAR with stock market conditions. The results from VAR with stock market conditions show that monetary policy’s impacts on stock market are various depend on the respective stock market conditions. Stock market boom, stock price responds negatively to change in overnight repurchase rate, but it is only short-lived loosing its effect after a few months. Stock market bust, by contrast, change in overnight repurchase rate positively affects stock price, but insignificant pass-through effect on output and inflation. Regarding stock market bust, monetary policy has the strongest impact on stock price followed in rank by stock market boom and normal. On the other hands, the result from VAR without considering different stock market conditions shows only little impact on stock market. We can conclude that stock market condition is an important variable to evaluate the impacts of monetary policy through stock price channel. In policy implication, BOT should prudentially implement monetary policy during bust because increased policy rate severely decreases stock price then it is likely to depress long-lived bust. On the other hand, monetary policy during boom and normal negatively affect stock prices. Monetary policy implementation during boom and normal can take effect target variables. Furthermore, investors can predict stock price from monetary policy’s signal, nevertheless they should be cautious the various impacts.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15910
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1382
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1382
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kritsanee_pi.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.