Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15990
Title: การใช้ประโยชน์กากขี้แป้งเป็นแหล่งธาตุอาหารเพื่อการปลูกต้นกล้าปาล์มน้ำมันระยะอนุบาลแรก
Other Titles: Utilization of rubber latex sludge as nutrient soureces for pre-nursery oil palm seedlings
Authors: คณาวุฒิ อินทร์แก้ว
Advisors: อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ปาล์มน้ำมัน -- การปลูก
กากขี้แป้ง
น้ำยาง
ธาตุอาหารพืช
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาปริมาณธาตุอาหารของกากขี้แป้งที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำยางข้น ปริมาณธาตุอาหารเมื่อเติมกากขี้แป้งลงในดิน และการเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนอราระยะอนุบาลแรก (3 เดือน) เมื่อใช้กากขี้แป้งเป็นแหล่งธาตุอาหาร โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) ทำ 3 ซ้ำ ประกอบด้วยชุดควบคุม (ดินเดิมไม่เติมสิ่งทดลอง) เติมปุ๋ยเคมี เติมกากขี้แป้ง 5 อัตรา (10, 30, 50, 70 และ 90 กรัม/กิโลกรัมดิน) หนึ่งหน่วยทดลอง คือถุงเพาะชำขนาด 6 × 9 นิ้ว ผลการศึกษาพบว่า กากขี้แป้งมีปริมาณธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน (total N) ร้อยละ 4.3 ฟอสฟอรัส (P₂O₅) ร้อยละ 10 (100,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (K₂O) ร้อยละ 0.7 (7,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ธาตุอาหารรอง คือ แมกนีเซียม ร้อยละ 8.9 (89,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และธาตุอาหารเสริม คือ สังกะสี ร้อยละ 0.01 (113.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) การเติมกากขี้แป้งลงในดินจะทำให้ปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี รวมทั้งความเป็นกรดเป็นด่าง ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก และสภาพการนำไฟฟ้า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ .05) สำหรับ การเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมันซึ่งวัดจากจำนวนใบ ความกว้างใบ ความยาวใบ ขนาดลำต้น และความสูง พบว่า การเติมกากขี้แป้งอัตรา 10 กรัม/กิโลกรัมดิน ส่งผลให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันมีการเติบโตไม่ต่างทางสถิติกับการเติมปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ การเติมกากขี้แป้งในอัตราที่มากกว่า 30 กรัม/กิโลกรัมดิน จนถึง 90 กรัม/กิโลกรัมดิน กลับส่งผลให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันเติบโตน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ .05) กล่าวได้ว่า กากขี้แป้งสามารถใช้ประโยชน์เป็นแหล่งธาตุอาหารเพื่อการเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมันระยะอนุบาลแรกได้ การเติมกากขี้แป้งอัตรา 10 กรัม/กิโลกรัมดินเป็นประโยชน์เทียบเท่าปุ๋ยเคมี แต่อัตราเติมที่มากขึ้นกลับส่งผลให้การเติบโตลดลง
Other Abstract: Nutrients content of rubber latex sludge, a by-product of concentrated latex processing, was studied. Including plant nutrients in soil and growth of Tenera oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) seedling (3 months) after applied with rubber latex sludge. The experimental design was randomized complete block design (RCBD) with 3 replications. The treatments consisted of control, chemical fertilizer, and rubber latex sludge at 10, 30, 50, 70 and 90 grams per kilogram soil. One experimental plantation bag size 6 × 9 inch. The result showed that rubber latex sludge consisted of major elements as nitrogen (total N) 4.3 %, phosphorus (P₂O₅) 10 % (100,000 milligrams per kilogram), potassium (K₂O) 0.7 % (7,000 milligrams per kilogram), minor elements as magnesium 8.9 % (89,000 milligrams per kilogram), and essential elements as zinc 0.01 % (113.1 milligrams per kilogram). Application of rubber latex sludge in soil resulted in significant increased (p ≤ .05) of phosphorus, potassium, magnesium and zinc contents, including pH, cation exchange capacity (CEC), and electro-conductivity (EC). Moreover growth of per-nursery oil palm measured by number of leaves per palm, the width and the length of leaf, stem girth and plant height when applied with rubber latex sludge at 10 grams per kilogram soil rate did not significant difference from that of chemical fertilizer recommended by department of agriculture. Nevertheless, increasing application rate from 30 to 90 grams rubber latex sludge per kilogram soil indicated the decreasing of the growth significantly (P ≤ .05). In conclusion, rubber latex sludge can be utilized as nutrient source for pre-nursery oil palm seedlings equal to chemical fertilizer at the rate of 10 grams per kilogram soil.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15990
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.479
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.479
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanawut_in .pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.