Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1601
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์-
dc.contributor.authorสการ พิพัฒศุภมงคล, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-09T07:59:09Z-
dc.date.available2006-08-09T07:59:09Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741767382-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1601-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสร้างและทดสอบสมรรถนะของห้องทดลอง ในการจำลองภาวะมลพิษอากาศและสภาพแวดล้อม เพื่อใช้ในการตรวจวัดหาสารพิษอากาศได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง โดยห้องทดลองที่ออกแบบไว้สามารถนำไปประยุกต์ และทดสอบใช้กับอุปกรณ์เก็บตัวอย่างอากาศแบบต่างๆ เช่น passive sampler หรือ gas detector tube ให้สามารถเก็บตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง ตามสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นจริง นอกจากนั้นยังนำไปใช้ประยุกต์สร้างอุปกรณ์เก็บตัวอย่างอากาศแบบใหม่เพื่อใช้ตรวจวัดมลพิษอากาศต่างๆ ต่อไปได้ ในการวิจัยได้ออกแบบห้องทดลองขนาด 110 ลิตร ทำด้วยสแตนเลส ภายในมีอุปกรณ์สำหรับบันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ ขดลวดทำความร้อน ขดลวดทำความเย็น พัดลมขนาดเล็ก และแผงติดตั้งอุปกรณ์เก็บตัวอย่างอากาศแบบพาสสีพ 4 จุด ห้องทดลองนี้ สามารถใช้เจือจางความเข้มข้นมลพิษอากาศได้ต่ำถึง 2,000 เท่าจากถังก๊าซมาตรฐาน (จาก 200 ส่วนในล้านส่วนเป็น 0.1 ส่วนในล้านส่วน)การทดลองแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนได้แก่ การทดสอบการกระจายตัวของก๊าซในห้องทดลองโดยใช้ควัน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลของก๊าซ ซึ่งจะคำนวณออกมาในรูปความเร็วที่ก๊าซไหลเข้าสู่ห้องทดลองกับระยะเวลาที่ก๊าซกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึงภายในห้องทดลองที่ออกแบบ ขั้นที่ 2 เป็นการทดสอบสมรรถนะของห้องทดลอง ให้มีค่าอุณหภูมิเป็นไปตามที่กำหนดไว้ ขั้นที่ 3 เป็นการสร้างความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในห้องทดลองโดยปรับความเข้มข้นจาก 200 ส่วนในล้านส่วนจากถังก๊าซมาตรฐาน ให้ได้ความเข้มข้นภายในห้องทดลองเป็น 32, 24, 16, 8, 4, 2, 1 ส่วนในล้านส่วนตามลำดับ โดยใช้เครื่อง CO Analyzer ในการตรวจวัด และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการนำเอาห้องทดลองไปประยุกต์ใช้ เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของอุปกรณ์เก็บตัวอย่างอากาศแบบพาสสีพ การศึกษาพบว่าการกระจายตัวของก๊าซเป็นไปอย่างทั่วถึง และสม่ำเสมอตลอดทั้งห้องทดลอง และไม่มีการรั่วซึมออกภายนอกตามรอยต่อต่างๆ สำหรับผลการทดสอบตั้งค่าอุณหภูมิภายในห้องทดลองที่ 15, 20, 25, 30, 35, 40 องศาเซลเซียสจะได้ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัด เป็น +-0.008, +-0.014, +-0.011, +-0.008, +-0.006 และ +-0.008 องศาเซลเซียสตามลำดับ ส่วนการจำลองค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในห้องทดลองตามสภาวะและความเข้มข้นที่กำหนดพบว่า เมื่อกำหนดอุณหภูมิภายในห้องทดลองอยุ่ที่ 15, 20, 25, 30, 35, 40 องศาเซลเซียส และใช้การทดสอบค่าที (t-test) พบว่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่กำหนดไว้ และความเข้มข้นที่วัดได้จริงไม่แตกต่างกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการหาค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของอุปกรณ์พาสสีพโดยใช้ห้องทดลองที่ออกแบบไว้ พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การแพร่โดยเฉลี่ย สำหรับอุปกรณ์พาสสีพชนิดนี้อยู่ที่ 1.88x10[superscript -5] ตารางเมตรต่อวินาที และเมื่อใช้การทดสอบค่าที พบว่าความเข้มข้นของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ที่กำหนดไว้ และความเข้มข้นที่วัดได้จริงไม่แตกต่างกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์en
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to design, construct and test performance of an air pollutant measurement chamber under varied environmental conditions accurately and exactly. The chamber was designed to be used for development of air samplers such as passive sampler or gas detector tube. Furthermore, it can be used for instrument calibration and testing of monitoring instruments. The chamber was designed and constructed with stainless steel, having interior volume of 110 liters. Data logger, condenser, evaporator, small fans and passive sampler holder are contained inside it. This chamber can be used to dilute pollutant level about 2000 times from high concentration standard gas (i.e. from 200 ppm to 0.1 ppm). The experiments had four steps, the first one was to test dispersion of gas in the chamber and determine degree of dispersion in relation to air flow rates and time. The second experiment was to control temperatures at a predetermined level between 15 ํC and 40 ํC. The third, was to dilute carbon monoxide standard gas at level of 200 ppm concentration to 32, 24, 16, 8, 4, 2, 1 ppm using CO analyzer to measure final concentration. In the final step, the chamber was utilized to determine diffusion coefficient of nitrogen dioxide passive sampler. The study revealed that the gas dispersion was uniform in all parts of the chamber and no leak occurred. The results of temperature control test at 15, 20, 25, 30, 35, 40 ํC had standard error of measurement of +-0.008, +-0.014, +-0.011, +-0.008, +-0.006 and +-0.008 ํC, respectively. In dilution of carbon monoxide concentration, the measured concentration compared with target CO concentration had no statistically significant difference at 99% confidence level. The chamber yielded diffusion coefficient of NO[subscript 2] passive sampler at 1.88 x 10[superscript -5] m[superscript 2]/s. Using the derived coefficient to determine NO[subscript 2] concentration it was found that the measured concentration and the target concentration had no statistically significant difference at 99% confidence level.en
dc.format.extent9777258 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมลพิษทางอากาศ--การทดลองen
dc.titleการทดสอบสมรรถนะห้องทดลองเพื่อใช้ตรวจวัดสารมลพิษอากาศen
dc.title.alternativePerformance test of chamber for air pollutant measurementen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected], [email protected]-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakarn.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.