Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16059
Title: | การฟื้นฟูย่านตลาดพระโขนง |
Other Titles: | Urban renewal of Phrakhanong market area |
Authors: | พรนภา พรพันธุ์ไพบูลย์ |
Advisors: | นิลุบล คล่องเวสสะ จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การฟื้นฟูเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ ย่านตลาด -- ไทย -- กรุงเทพฯ ตลาดพระโขนง (กรุงเทพฯ) |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาฟื้นฟูย่านตลาดพระโขนงเป็นการศึกษา เพื่อหาลักษณะทางกายภาพ ที่จะทำให้ย่านตลาดพระโขนงสามารถคงความเป็นย่านตลาด และศูนย์กลางต่อไปได้ท่ามกลางการเปลี่ยนของเมืองและวิถีชีวิตของคนเมือง โดยการศึกษาผ่านปัจจัยที่ทำให้เกิดย่านตลาดองค์ประกอบของย่านตลาด และกระแสการพัฒนาย่านตลาดในอนาคตของกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาพบว่า ย่านตลาดจะสามารถคงความเป็นย่านตลาดหรือศูนย์กลางต่อไปได้ จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขของความเป็นย่านตลาด 4 เงื่อนไข ได้แก่ ความหลากหลายของกิจกรรมความยืดหยุ่นในการใช้พื้นที่ ความหนาแน่นของกิจกรรมการค้า และการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่โดยลักษณะทางกายภาพของย่านตลาดมีความสัมพันธ์ อย่างมากกับวิถีชีวิตของผู้คนที่เข้ามาใช้บริการ การศึกษากระแสการพัฒนาย่านตลาดในอนาคตของกรุงเทพมหานครพบว่า ลักษณะของย่านตลาดที่มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องมีลักษณะของสถานที่ลำดับที่ 3 และองค์ประกอบของความเป็นสถานที่ ทั้งองค์ประกอบทางกายภาพกิจกรรมและความหมาย ดังนั้นการฟื้นฟูย่านตลาดพระโขนงจึงมีแนวความคิดหลักในการฟื้นฟูคือ เงื่อนไขของความเป็นย่านตลาด และองค์ประกอบของความเป็นสถานที่ของย่านตลาดพระโขนง ซึ่งเมื่อพิจารณาร่วมกับวัตถุประสงค์สภาพปัจจุบันและบทบาทในอนาคตของย่าน ตลาดพระโขนง ทำให้สามารถกำหนดวิสัยทัศน์ในการฟื้นฟูย่านตลาดพระโขนงได้คือ ย่านตลาดและจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรที่ให้ความสำคัญกับการเดินเท้า (Pedestrian mall) มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยองค์ประกอบของความเป็นสถานที่ของย่านตลาดพระโขนง โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านความหมายหรือความเป็นชุมชน และมีบรรยากาศที่ส่งเสริมกิจกรรมการพักผ่อน และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมตามแนวความคิดของสถานที่ลำดับที่ 3 (The third place) หรือคอมมูนิตี้มอลล์ (Community mall) โดยใช้แนวทางในการพัฒนาฟื้นฟู (redevelopment) ผ่านแผนการฟื้นฟู 4 กลุ่มหัวข้อ ได้แก่ การฟื้นฟูโครงข่ายและจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรการฟื้นฟูมวลอาคารและพื้นที่ ว่างสาธารณะ การฟื้นฟูการใช้ประโยชน์ที่ดินอาคารและพื้นที่ว่างสาธารณะ และการฟื้นฟูองค์ประกอบทางจินตภาพและความเป็นสถานที่ |
Other Abstract: | “Urban renewal of Phrakhanong market area” is the research about the physical character that have impact to survivorship of Phrakhanong market area among the changing of urban and lifestyle. The physical character is analyzed from the factor, the element, and the trend of commercial district. From the research, the conceptual framework is the condition of market area, the diversity of activities, the flexibility of space use, the density of commercial activities, and the accessible, and the physical characters of markets in the future, show the character of “the third place”, relaxation and interaction, and the sense of place in 3 characteristic: physical reality, activity, and meaning. From the conceptual framework, the objective, the Phrakhanong’s surrounding and the role of Phrakhanong in the future, the vision of the urban renewal of Phrakhanong market area is the pedestrian mall and transportation node that has the characters of “the third place” and the sense of place, and the method of urban renewal is redevelopment in the issue of transportation, mass, open public space, use, image of the city, and the sense of place. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การออกแบบชุมชนเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16059 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.939 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.939 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornnapa_Po.pdf | 6.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.