Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16108
Title: การแตกตัวด้วยความร้อนของพอลิสไตรีนและน้ำมันพืชใช้แล้วในเครื่องปฏิกรณ์แบบท่อ
Other Titles: Thermal cracking of polystyrene and used vegetable oil in a tubular reactor
Authors: นิศา วิสุทธิรังษีอุไร
Advisors: ธราพงษ์ วิทิตศานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: น้ำมันพืช -- การนำกลับมาใช้ใหม่
เครื่องปฏิกรณ์เคมี
โพลิสไตรีน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษากระบวนการแตกตัวด้วยความร้อนของพอลิสไตรีน และน้ำมันพืชใช้แล้วในเครื่องปฏิกรณ์แบบท่อ เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่างๆที่มีผลต่อร้อยละผลิตภัณฑ์น้ำมันและองค์ประกอบที่ดีที่สุด ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยอุณหภูมิ 350-600 องศาเซลเซียส, อัตราส่วนระหว่างน้ำมันพืชใช้แล้วและพอลิสไตรีน 100:0, 90:1, 80:20, 70:30, 60:40 โดยน้ำหนัก และอัตราการไหลเข้า 4.14, 9.04, 15.49 กรัมต่อนาที และทำการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์น้ำมันโดยเครื่อง Simulated Distillation Gas Chromatograph (DGC) พบว่าภาวะที่ส่งผลต่อการแตกตัวด้วยความร้อนของน้ำมันพืชใช้แล้วที่ทำให้เกิดปริมาณร้อยละแนฟทามากที่สุดคือ อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส อัตราการไหล 9.04 กรัมต่อนาที ได้ปริมาณแนฟทาร้อยละ 41.15 เคโรซีนร้อยละ 8.72 แก๊สออยล์เบาร้อยละ 28.26 แก๊สออยล์หนักร้อยละ 9.92 กากน้ำมันร้อยละ 11.12 และพบว่าภาวะที่ส่งผลต่อการแตกตัวด้วยความร้อนของพอลิไตรีน และน้ำมันพืชใช้แล้วที่ทำให้เกิดปริมาณร้อยละแนฟทามากที่สุดคือ อัตราส่วนของน้ำมันพืชใช้แล้วและพอลิสไตรีน 60:40 โดยน้ำหนัก อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส อัตราการไหล 9.04 กรัมต่อนาที ได้ปริมาณแนฟทาร้อยละ 70.38 เคโรซีนร้อยละ 6.26 แก๊สออยล์เบาร้อยละ 14.49 แก๊สออยล์หนักร้อยละ 3.33 กากน้ำมันร้อยละ 3.43 เมื่อทำการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์น้ำมันโดยเครื่อง Fourier Transform Infrared Spectrophotometer (FTIR) พบว่ามีหมู่ฟังก์ชันหลักเป็น แอโรแมติกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหมู่ฟังก์ชันหลักในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 แล้วพบว่ามีหมู่แอโรแมติกไฮโดรคาร์บอนที่คล้ายคลึงกัน
Other Abstract: The main objective of this research was aimed to study the thermal cracking of polystyrene and used vegetable oil in a tubular reactor by varied operating condition at reaction temperature range of 350-600 degree Celsius, ratio between used vegetable oil and polystyrene of 100:0, 90:10, 80:20, 70:30, 60:40 by weight and flow rate of 4.14, 9.04 and 15.49g/min. The analyzed oil product from Simulated Distillation Gas Chromatograph (DGC) was found that the hight yield of naphtha from thermal cracking of used vegetable oil was carried out at temperature of 550 degree Celsius, flow rate in 9.04 g/min. Selectivity was 41.15% Naphtha, 8.72% Kerosene, 28.26% Light gas oil, 9.92% Heavy gas oil, 11.12%Long residue. Thermal cracking of polystyrene and used vegetable oil, the ratio of used vegetable oil : PS ratio of 60:40 by weight, reaction temperature of 600 degree Celsius, flow rate I 9.04 g/min was the optimum condition that gave the hightest yields of naphtha. The selectivity of this product was 70:38% Naphtha, 6.26% Kerosene, 14.49% Light gas oil, 3.33% Heavy gas oil, 3.43% Long residue. The analyzed oil product from Fourier Transform Infrared Spectrophotometer (FTIR) was found that the product also found an aromatic hydrocarbon in main structure. Comparing the product and benzene (octane 95) the structure was similar.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16108
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1384
ISBN: โพลิสไตรีน
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1384
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nisa.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.