Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16140
Title: | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Other Titles: | Development of a causal model of work stress of teachers under the Office of the Basic Education Commission |
Authors: | โรจนรินทร์ โกมลหิรัญ |
Advisors: | เอมอร จังศิริพรปกรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความเครียดในการทำงาน ครู -- ความเครียดในการทำงาน |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรก เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประการที่สอง เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และประการสุดท้าย เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู ระหว่างครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 488 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัวแปร คือ ความเครียดในการทำงานของครู ปัจจัยด้านลักษณะของงาน ปัจจัยด้านเศรษฐานะของครอบครัว ปัจจัยด้านความประพฤติของนักเรียน ปัจจัยด้านการบริหารเวลา และปัจจัยด้านสัมพันธภาพภายในโรงเรียน ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 17 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้แต่ละตัวตั้งแต่ .562 ถึง .900 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อความเครียดในการทำงานของครู ได้แก่ ปัจจัยด้านความประพฤติของนักเรียน รองลงมาคือ ปัจจัยด้านลักษณะของงาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวม ประกอบด้วย ตัวแปรปัจจัย 2 ประเภท ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความเครียดในการทำงานของครู ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารเวลา ปัจจัยด้านลักษณะของงาน ปัจจัยด้านเศรษฐานะของครอบครัว ปัจจัยด้านความประพฤติของนักเรียน และปัจจัยด้านสัมพันธภาพภายในโรงเรียน และตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเครียดในการทำงานของครู ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะของงาน 2. โมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องให้ค่าไค-สแควร์เท่ากับ 85.79; p = .083 ที่องศาอิสระเท่ากับ 69 ค่า GFI เท่ากับ .980 ค่า AGFI เท่ากับ .955 ค่า RMR เท่ากับ .033 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ 33.40% 3. โมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างกลุ่มครูที่สอนทั้งสองระดับชั้น โดยให้ค่าไค-สแควร์เท่ากับ 242.180; p = .016 ที่องศาอิสระเท่ากับ 197 ค่า GFI เท่ากับ .941 ค่า NFI เท่ากับ .950 ค่า RFI เท่ากับ .931 และค่า RMR เท่ากับ .050 อย่างไรก็ตามโมเดลสำหรับแต่ละระดับชั้นที่สอนมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ทุกค่าที่ทดสอบ |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to develop the causal model of work stress of teachers under the office of the basic education commission 2) to examine the model validity and 3) to test the model invariance between elementary teachers and secondary teachers. The research sample consisted of 488 teachers under the office of the basic education commission. Data consisted of 6 latent variables: work stress of teachers, factor of work characteristics, factor of family economics, factor of students’ behavior, factor of time management and factor of staff relationships; and 17 observed variables measuring those 6 latent variables. Data were collected by questionnaires having reliability for each variable ranging from .562 to .900. Data analyses were descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, LISREL analysis and multiple group structural equation model analysis. The major findings were as follows: 1. The causal model of work stress of teachers under the office of the basic education commission consisted of two types of factor variables, i.e., variables having direct effect work stress of teachers: factor of time management, factor of work characteristics, factor of family economics, factor of students’ behavior and factor of staff relationships; and variable having indirect effects: factor of work characteristics. The factor variable which had the highest total effect was factor of students’ behavior, and the following was factor of work characteristics. 2. The model of work stress of teachers was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 85.79, p = .083, df = 69, GFI = .980, AGFI = .955, RMR = .033. The model accounted for 33.4% of variance in teachers’ work stress. 3. The model of work stress of teachers indicated invariance of model form between two groups of teachers. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 242.180; p = .016; df = 197; GFI = .941; NFI = .950; RFI = .931; RMR = .050. However, all parameters were not invariant between elementary teachers and secondary teachers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16140 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1208 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1208 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rojnarin_ko.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.