Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16249
Title: การสื่อสารกับการตอบสนองและการปรับตัวของผู้ถูกเวนคืนที่ดินในโครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร
Other Titles: Communication pattern, responses and adjustment of the land-expropriated villagers in the 2nd Mekong Bridge Construction Project in Mukdahan
Authors: กุณฑีร์ ตั้งตระกูล
Advisors: สุริชัย หวันแก้ว
กนกพรรณ อยู่ชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเวนคืนที่ดิน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องการสื่อสารกับการตอบสนองและการปรับตัวของผู้ถูกเวนคืนที่ดินในโครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารของรัฐต่อประชาชนเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เพื่อศึกษาการตอบสนองและการปรับตัวของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการพัฒนาสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และศึกษาผลกระทบของโครงการพัฒนาโดยติดตามประชาชนที่ย้ายถิ่น เนื่องจากโครงการพัฒนา ทำการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารระดับทุติยภูมิและการสัมภาษณ์ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินเป็นรายบุคคลจำนวน 23 ราย สัมภาษณ์หน่วยงานราชการและผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสะพาน รวม 43 ราย ผลจากการศึกษาพบว่า ประชาชนไม่ได้รับทราบข่าวสารเรื่องสะพานและการเวนคืนที่ดินอย่างเพียงพอ ประชาชนจึงสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานต่างๆ นอกจากการสอบถามข้อมูลแล้วประชาชนร้องเรียนเรื่องความเดือดร้อนจากการก่อสร้าง ขอคำแนะนำในการฟ้องศาลเพื่อขอเงินค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมแม้กระทั่งการบ่นต่อว่าในปัญหาระหว่างการก่อสร้างสะพานและเรื่องเงินเวนคืนที่ได้รับน้อยมาก การตอบสนองและปรับตัวของประชาชนต่อการก่อสร้างสะพานและการเวนคืนที่ดิน พบว่า ประชาชนที่ประสบปัญหาจากการก่อสร้างส่วนใหญ่ตอบสนองด้วยความไม่พอใจ และทำหนังสือร้องเรียนต่อจังหวัดเรื่องน้ำท่วม การปิดถนน ต่อต้านเจ้าหน้าที่ แต่มีบางรายยินดีในการก่อสร้างและเวนคืนที่เนื่องจากทำให้เศรษฐกิจของหมู่บ้านดีขึ้น ยินดีที่ได้รับเงินค่าเวนคืนเพื่อใช้หนี้ ประชาชนที่สูญเสียที่ดินต่างประกอบอาชีพเสริม บางรายซื้อที่ดินผืนใหม่ บางรายทำนาในที่ดินเดิมที่ยังมีอยู่ต่อไป แต่ประชาชนเห็นว่าการก่อสร้างสะพานและการเวนคืนที่ดินทำให้วิถีวีชีวิตลำบากมากขึ้น
Other Abstract: The objectives of the research, "Communication Pattern, Responses and Adjustment of the Land-expropriated Villagers in the 2nd Mekong Bridge Construction Project in Mukdahan", are 1) to examine communication pattern from the government to the people regarding the 2nd Mekong bridge project, 2) to examine the response and adjustment of the people effected by the construction project and 3) to examine the impact of the bridge construction project towards the land-expropriated villagers. The researcher conducted documentary research from secondary sources and interviewed 23 land-expropriate villagers, including 43 government officials and community leaders. The results of the study showed that Mukdahan residents received inadequate information concerning the construction project. They, hence, requested more information from different sources. In addition, the people complained about the inconvenience resulted from the construction and asked for instruction regarding petition for more land-expropriating compensation. Most of the effected people responded with contempt. They protested to the provincial authority about the flood, and road block. However, some of them were content with the project because of the prospect of better economy. Some were happy because they could use the land-expropriating money either to repay their debt, or to buy an new piece of land. And some of them continued to farm in the remained land. In general, mostly, people opined that the bridge construction and land-expropriation causes trouble and hardship to their lives.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16249
ISBN: 9745312622
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Koontee_Tu.pdf13.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.