Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1646
Title: | การวิเคราะห์เชิงตัวเลขของวัฏจักรการทำงานที่เหมาะสมสำหรับรีเจเนอเรเตอร์แบบโครงอิฐทนไฟ |
Other Titles: | Numerical analysis of optimum time cycle for a fireclay brick regenerator |
Authors: | มโนสิทธิ์ แจ้งจบ, 2523- |
Advisors: | พงษ์ธร จรัญญาภรณ์ สมพงษ์ พุทธิวิสุทธิศักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected], [email protected] [email protected] |
Subjects: | ไฟไนต์ดิฟเฟอเรนซ์ ความร้อน--การถ่ายเท เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อหาค่าของวัฏจักรการทำงานที่ดีที่สุดของระบบ รีเจเนอเรเตอร์ ซึ่งสามารถหาได้จากลักษณะการกระจายของอุณหภูมิของกระบวนการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ในรีเจเนอเรเตอร์ โดยใช้ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขประกอบกันกับการทำการทดลอง ทั้งนี้ได้ทำการทดลองตรวจวัดและเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ เช่น อุณหภูมิของไหลและโครงอิฐทนไฟ ส่วนประกอบก๊าซเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ และอัตราการใช้น้ำมัน โดยได้ทำการทดลองที่บริษัท ไทยแลนด์สเมลติ้งแอนด์รีไฟนิ่ง จำกัด (ไทยซาร์โก) ซึ่งเป็นโรงงานถลุงแร่ดีบุก สำหรับระเบียบวิธีเชิงตัวเลขที่ใช้ในที่นี้ จะใช้วิธีไฟไนต์ดิฟเฟอเรนต์ในการคำนวณการกระจายตัวของอุณหภูมิและปริมาณความร้อนทิ้งที่นำกลับมาได้มากที่สุด ซึ่งจะได้พิจารณาผลกระทบของการนำความร้อนทั้งในทิศทางตามแนวการไหลและในทิศทางตั้งฉากกับการไหลที่มีต่อตัววัสดุสะสมความร้อน ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณได้ถูกนำมาปรับเทียบกับการทดลอง และนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในการคำนวณหาค่าวัฏจักรการทำงานที่ดีที่สุดของรีเจเนอเรเตอร์ จากการตรวจสอบพบว่า ผลการคำนวณที่ได้มีความสอดคล้องกันดีกับผลเฉลยแม่นตรง และผลการทดลองที่นำมาเปรียบเทียบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้มีความถูกต้องอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานได้โดยง่าย บนระบบ Windows และให้นำไปใช้ในการคำนวณหาวัฏจักรการทำงานที่เหมาะสมของรีเจเนอเรอเตอร์ ที่เวลา 30 นาที และสามารถนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ได้ 32.80% จากการคำนวณโดยใช้โปรแกรมที่สร้างขึ้นพบว่าเมื่อใช้เวลาในการสลับคาบการไหล 6 นาที สามารถนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ได้มากที่สุด 32.26% ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 0.46% เมื่อพิจารณาในแง่ของความสะดวกในการทำงาน จึงสรุปได้ว่าคาบการทำงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับโครงสร้างและแบบของรีเจนเนอเรเตอร์แล้ว |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to find the optimum time cycle of the regenerator system. The temperature distributions of the overall heat recovery process in a fireclay brick regenerator are investigated by experiments and numerical simulation. The experiments were conducted at Thailand Smelting and Refining Co., Ltd. (Thaisarco), a tin smelting factory, in order to measure and record essential data, such as the fluid temperature, heat storage element temperature, exhaust gas composition and fuel consumption. In the numerical side, the finite difference method is employed to calculate the temperature distribution and the maximum heat recovery. Effects of both axial and transverse conductions on the sensible heat storage element were considered. The developed computer program for optimum time cycle was validated by comparing with the experimental data. From the validation, it was found that the result was in good agreement with exact solution and experiment data. Therefore, present computer program yieldsfairly satisfactory results of calculation. The computer program was developed for operating on Microsoft Windows OS and employed to find the optimum time cycle and the maximum heat recovery for the regenerator of Thailand Smelting and Refining Co., Ltd. The time cycle for changing periods currently used in smelting process Is 30 minutes, which can recover about 32.80% of exhaust heat. From the calculation, the optimum time cycle is 6 minutes, which can recover exhaust heat of 33.26% or 0.46% increase compared to the present time cycle. Thus, in view of field practice, it way be concluded that the factory has already been operating at a suitable condition. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเครื่องกล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1646 |
ISBN: | 9745314471 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Manosit.pdf | 3.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.