Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16599
Title: ความเปรียบเกี่ยวกับน้ำกับมรรคาสู่นิพพานในอรรถกถาชาดก
Other Titles: Metaphor of water and the path to nirvana in Jatakatthakatha
Authors: สุภัค มหาวรากร
Advisors: สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ชาดก
นิพพาน
น้ำ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความเปรียบเกี่ยวกับน้ำในอรรถกถาชาดกในฐานะกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่สื่อแนวคิดมรรคาสู่นิพพาน เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของความเปรียบเกี่ยวกับน้ำที่มีนัยสำคัญเชื่อมโยงไปสู่สาระสำคัญ คือหนทางสู่นิพพาน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือความเปรียบเกี่ยวกับน้ำที่ปรากฏอย่างเด่นชัด ในอรรถกถาชาดกจำนวน 256 เรื่อง จากทั้งหมด 547 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของความเปรียบเกี่ยวกับน้ำในอรรถกถาชาดกมี 2 ประการ ได้แก่ ความเปรียบเกี่ยวกับน้ำทางตรงมีทั้งสิ้น 7 กลุ่ม คือ น้ำ บ่อน้ำ สระโบกขรณี ห้วงน้ำ แม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร ทั้งหมดนี้แสดงความหมายของน้ำโดยตรง หมายถึงพระธรรม กิเลส และสังสารวัฏ ส่วนความเปรียบเกี่ยวกับน้ำทางอ้อมมี 2 ประการคือ การแสดงคุณสมบัติของน้ำ ได้แก่ ความเย็น ความสะอาดบริสุทธิ์ และความบริบูรณ์ และการแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับน้ำ คือ ไฟและฝน ความเปรียบเกี่ยวกับน้ำทางอ้อมแสดงให้เห็นว่า กิเลสทำให้มนุษย์เป็นทุกข์ มนุษย์สามารถดับกิเลสได้โดยใช้พระธรรมซึ่งทำให้เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ ความเปรียบเกี่ยวกับน้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมมีลักษณะสัมพันธ์กัน โดยแสดงความหมายที่มีนัยเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดี ความเปรียบเกี่ยวกับน้ำที่ปรากฏในอรรถกถาชาดก แสดงให้เห็นแนวทางประพฤติธรรมตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ได้แก่ การบำเพ็ญทาน การรักษาศีล และการบำเพ็ญสมาธิ การแสดงธรรมเพื่อนำไปสู่การบรรลุนิพพานในอรรถกถาชาดกมีลักษณะเช่นเดียวกับ “อนุปุพพิกถา” คือการเทศนาตามลำดับความสำคัญจากง่ายไปหายาก ได้แก่ การพรรณาทาน การพรรณนาศีล การพรรณนาสวรรค์ การพรรณนาโทษของกาม และการพรรณนาอานิสงค์การออกจากกาม อรรถกถาชาดกแสดงให้เห็นว่า ทานเป็นธรรมขั้นต้นที่นำไปสู่การรักษาศีล ซึ่งเป็นเครื่องชำระมนุษย์ให้สะอาดบริสุทธิ์ ผลของทานและศีลทำให้ชีวิตเป็นสุขและได้เสวยสวรรค์สมบัติ ทั้งยังแสดงโทษของกามและอานิสงส์การออกจากกาม เกิดปัญญาดับกิเลสอันเป็น “มรรคาสู่นิพพาน” อรรถกถาชาดกซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญในพุทธศาสนา ใช้ความเปรียบเกี่ยวกับน้ำอย่างประณีตและโดดเด่นในฐานะกลวิธีทางวรรณศิลป์ เพื่อสื่อแนวคิดสำคัญของเรื่อง ทำให้เข้าใจแนวทางสู่พระนิพพาน โดยแสดงแนวทางประพฤติธรรมทำให้ตระหนักรู้ว่า นิพพานมีอยู่ในสังสารวัฏ มนุษย์ผู้ยังว่ายเวียนในสังสารวัฏก็อาจบรรลุนิพพานได้หากเริ่มปฏิบัติตามแนวทางเบื้องต้น สอดคล้องกับเนื้อหาของอรรถกถาชาดกซึ่งแสดงพระจริยวัตรอันงดงาม ของพระโพธิสัตว์ที่เน้นการบำเพ็ญบารมีเพื่อข้ามพ้นสังสารวัฏ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การใช้ความเปรียบเกี่ยวกับน้ำในฐานะกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่สื่อแนวคิดสำคัญในอรรถกถาชาดก จึงแสดงให้เห็นว่าอรรถกถาชาดก เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่สื่อแนวคิดอุดมคติสูงสุดของพุทธศาสนา
Other Abstract: To study the characteristics and the significance of the metaphor of water as a literary technique used to convey the idea of the path to Nirvana in Jatakatthakatha. The data used in this study include the metaphors of water appeared in 256 out of 547 jatakas. The study reveals that there are two kinds of metaphor of water in Jatakatthakatha. The first kind includes the metaphors which explicitly connote or relate to ‘water’ - water, well, lotus pond, river, sea, and ocean. These metaphors convey dharma, defilements, and Samsara. The second kind of the water metaphor includes the metaphors which implicitly convey the characteristics of water, namely coolness, purity, and fullness; and which implicitly relate to water, namely fire, and rain. The message conveyed through the use of these metaphors is that the defilements are the cause of suffering and will be caused only by practicing dharma. The two kinds of metaphor of water are well related as they collectively convey related meanings. The metaphor of water in Jatakatthakatha convey the path of dharma practice according to Punnakiriyavatthu (Meritorious fields of action), namely gift – giving, morality, and meditation, which is paralleled to Anupubbikatha, the traditional technique of delivering dharma in Buddhism. Dharma will be presented step by step from gift-giving, morality, heavenly bliss, disadvantage of worldly pleasure, and advantage of renunciation. Jatakatthakatha follows these steps by demonstrating that gift-giving is the fundamental practice bringing one to the practice of morality, which purifies one’s action and speech. The result of gift-giving and morality delivers one to happiness both in the human realm and heaven. However, Jatakatthakatha asserts further that this worldly happiness is ephemeral. It demonstrates the disadvantage of worldly pleasures and the benefit of renouncing them. These are the process of mind purification aimed to attain a perfect wisdom or Nirvana. In Jatakatthakatha, the metaphor of water is employed delicately as a literary technique to convey the idea of the path to Nirvana and to bring one to the realization that Nirvana actually exists in Samsara. Those who are wandering in Samsara may attain Nirvana when they start practicing dharma from the basic level to the utmost level. They can emulate the bodhisattva who, in Jatakatthakatha, fulfils the perfection to attain Buddhahood and cross over the ocean of Samsara. The use of metaphor of water as a significant literary technique to convey the idea of the path to Nirvana, therefore, assures the value of Jatakatthakatha as Buddhist literature which brings the audience to the utmost aim of Buddhism.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16599
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1161
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1161
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supak_Ma.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.