Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16614
Title: การทำความเย็นอาคารโดยการใช้ผิวสัมผัสพื้นดิน
Other Titles: Passive cooling from earth contact surface
Authors: เอนก ธีระวิวัฒน์ชัย
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: อาคาร -- การทำความเย็น
การทำความเย็นและเครื่องทำความเย็น
ความร้อน -- การถ่ายเท
การออกแบบสถาปัตยกรรม
พื้น -- สมบัติทางความร้อน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อศึกษาการทำความเย็นจากผิวสัมผัสพื้นดิน โดยดินที่มีความชื้นจะมีอุณหภูมิของดินใกล้เคียงกับอุณหภูมิกระเปาะเปียก จะมีผลทำให้ผิวของอาคารที่สัมผัสเย็นลง อิทธิพลของความเย็นที่ผิวสัมผัสดินที่เย็นกว่าปกติเป็นการลดอุณหภูมิที่ผิวผนังภายในของอาคาร (MRT) ทำให้ผู้ใช้อาคารสามารถปรับอุณหภูมิห้องให้สูงกว่าปกติได้เป็นการขยายช่วงของอุณหภูมิน่าสบายให้กว้างขึ้น ในช่วงต้นของการวิจัย เน้นไปที่การศึกษาวิจัยในลักษณะการทดลอง (Experiment Research) โดยทำการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของดินที่มีผลทำให้ผิวสัมผัสดินที่อุณหภูมิลดลง โดยทำการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่ออุณหภูมิดิน ที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปรวมไปถึง การศึกษาในเรื่องอิทธิพลของความลึกของดิน, ลักษณะดิน, สภาพผิวดินที่ปกคลุมด้วยพืช และอิทธิพลของทิศที่แตกต่างกันของอาคาร ในการวิจัยทำการศึกษาและทดลองตัวแปรดังกล่าวรอบๆ อาคารที่ได้สร้างขึ้น มีขนาด 8x8 เมตร อาคารมีฉนวนกันความร้อนที่ผนัง, หลังคา และฝ้าเพดานเพื่อป้องกันความร้อนจากหลังคา ทำการบันทึกผล 1 ชั่วโมง โดยการทดลองได้เลือกวันเก็บข้อมูล 2-3 วัน ติดต่อกัน ในช่วงตั้งแต่ มกราคม 2539-มีนาคม 2539 ผลจากการวิเคราะห์พบว่า อุณหภูมิดินที่ระดับความลึก 1.00 เมตร จากผิวดิน มีความอุณหภูมิค่อนข้างจะคงที่จะมีความแตกต่างของค่าอุณหภูมิสูงสุดและค่าอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 2ํC ถึง 3ํC พบว่าทิศใต้จะเป็นทิศที่มีความแตกต่างของค่าอุณหภูมิสูงสุดและค่าอุณหภูมิต่ำสุด มากกว่าทิศอื่นและมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิของดินสูงกว่าทิศอื่น ในขณะที่ทิศเหนือเป็นทิศที่มีความแตกต่างของค่าอุณหภูมิสูงสุดและค่าอุณหภูมิต่ำสุด น้อยกว่าทิศอื่นและมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิของดินต่ำกว่าทิศอื่น ในการเปรียบเทียบชนิดของดิน ระหว่างดินและทรายพบว่าดินมี Time Lag 10-12 ชั่วโมง และทรายมี Time Lag 6 ชั่วโมง จากการวิจัยพบว่าอิทธิพลของอุณหภูมิดินทำให้อุณหภูมิที่ผิวสัมผัสดินภายในอาคาร (MRT) จะมีอุณหภูมิลดลง สภาพของผิวดินที่ถูกปกคลุมด้วยพืชจะมีความอุณหภูมิต่ำกว่าสภาพดินที่ปราศจากสิ่งปกคลุม โดยเฉพาะดินที่ปกคลุมด้วยพืชคลุมดิน จะมีอุณหภูมิที่ผิวสัมผัสดินลดลงต่ำกว่าดินที่ปราศจากสิ่งปกคลุมถึง 2ํC อุณหภูมิภายในอาคารที่ 1.5 เมตร จะมีอุณหภูมิค่อนข้างจะคงที่และมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในทิศทางตรงกันข้ามกับอุณหภูมิอากาศ ในขณะที่อุณหภูมิอากาศสูงขึ้น อุณหภูมิภายในอาคารลดลง และในขณะที่อุณหภูมิอากาศเย็นลงอุณหภูมิภายในอาคารจะอบอุ่นขึ้น โดยอุณหภูมิภายในอาคารจะอยู่ที่24-25 องศาเซลเซียน ซึ่งอยู่ในช่วงของสภาวะน่าสบาย (comfort zone) เกิดจากอิทธิพลของ Time Lag ของดิน จากการวิจัยพบว่า สามารถลดอุณหภูมิที่ผิวหนังภายในอาคาร (MRT) ได้ถึง 1.5-2.0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิภายในอาคารมีอุณหภูมิค่อนข้างที่จะคงที่ อุณหภูมิภายในอาคารอยู่อุณหภูมิสภาวะน่าสบาย (Comfort Temperature) ในกรณีอาคารที่ไม่ปรับอากาศอิทธิพลของความเย็นที่ผิวสัมผัสดิน สามารถลด MRT ของอาคาร ทำให้ผู้ที่อยู่ในอาคารรู้สึกเย็นกว่าปกติ ในกรณีของอาคารที่ปรับอากาศอิทธิพลของความเย็นที่ผิวสัมผัสดินสามารถลดภาระการทำความเย็นและระยะเวลาการใช้เครื้องปรับอากาศ ผลที่ได้จากการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบอาคาร และภูมิสถาปัตยกรรม เพื่อการประหยัดพลังงาน ในภูมิภาคนี้ได้ต่อไป
Other Abstract: The aim of this research is to study passive cooling from earth contact surface. The temperature of humid soil will nearly to the temperature of wet bulb which made the envelope of building contact surface cool. This method will save energy. Building user can set room temperature higher for expanding thermal comfort range wider. To passively cool the building from earth contact surface, the ground condition has to be studied first which difference of selected ground is ordinary ground that can be seen anywhere. An 8x8 m. building is constructed to have insulated walls, ceiling and roof to provide extra protection against the heat from the roof. Then, the variables affecting ground temperature are studied. These are ground depth, ground condition, soil which covered by small plants and influence to building's aspects. Temperature is taken every hour. Data are collected for 2-3 consecutive days from December 1995 to February 1996. The data are finally analyzed. Findings : The ground temperature is rather stable, range of temperature is 2-3ํC. The highest range of temperature in 24 hours is on the south. The lowest range of temperature in 24 hours is on the north. Ground condition covered by small plants will cooler than naked ground 2ํC. The temperature inside building at level 1.5 meter from floor will decrease and change against air temperature which is anytime air temperature high temperature inside will low and if air temperature cool, temperature inside will warm (24-26.5ํC) caused by influence of ground time lag. After this research finds time lag is 10-12 hours. This research finds reduced temperature 1.5-2ํC, inside temperature rather stable and building temperature is a comfort temperature. If the building has not air-condition, the result of passive cooling will decrease MRT in the building. That made user feel cool. If the building has air-condition, the result of passive cooling will decrease energy load. The findings can be applied to future design and land scape architecture
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีอาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16614
ISBN: 9746344099
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anake_Te_front.pdf834.33 kBAdobe PDFView/Open
Anake_Te_ch1.pdf716.65 kBAdobe PDFView/Open
Anake_Te_ch2.pdf771.76 kBAdobe PDFView/Open
Anake_Te_ch3.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Anake_Te_ch4.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Anake_Te_ch5.pdf832.57 kBAdobe PDFView/Open
Anake_Te_back.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.