Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16711
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะฉับพลันและตำแหน่งรอยโรคในสมอง
Other Titles: Relationship between poststroke depression and lesion location
Authors: มณฑล ว่องวันดี
Advisors: กัมมันต์ พันธุมจินดา
สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ความซึมเศร้า
หลอดเลือดสมอง -- โรค
หลอดเลือดสมอง -- โรค -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ : ข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของสมองขาดเลือดกับการเกิดภาวะซึมเศร้าระยะต้น หลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะฉับพลัน ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่และยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย จึงมีแนวคิดที่ศึกษานี้ขึ้น วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของสมองขาดเลือดซีกซ้ายกับการเกิดภาวะซึมเศร้าระยะต้น หลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะฉับพลัน วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะฉับพลันที่เกิดขึ้นครั้งแรกและได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้วิจัยประเมินภาวะซึมเศร้าโดยใช้ Hamilton Depression Rating Scale (Thai Version) ภายใน 2 สัปดาห์หลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะฉับพลัน ร่วมกับเก็บข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ จิตสังคม ระดับพุทธิปัญญา ตำแหน่งสมองขาดเลือด ความพิการหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบ หลังจากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าและปัจจัยอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้นโดยวิธีการทางสถิติ ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยทั้งหมด 39 ราย อายุเฉลี่ย 59.7 ปี มีผู้ป่วยเกิดภาวะซึมเศร้าหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันในระยะเฉียบพลันทั้งหมด 11 รายหรือ 28.2% ตำแหน่งของสมองขาดเลือดซีกซ้าย ปัจจัยเพศหญิงและการไม่มีโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าระยะต้น หลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะฉับพลัน อย่างมีนัยทางสถิติ สรุปผลการศึกษา : ตำแหน่งรอยโรคสมองขาดเลือดซีกซ้ายเป็นปัจจัยหนึ่งในการเกิดภาวะซึมเศร้า หลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบในระยะต้น
Other Abstract: Introduction : Depression is more frequently found in stroke patient compared to other medical illness with equal disability. The relationship between poststroke depression and stroke lesion location is controversial. Objective : To determine the relationship between poststroke depression and stroke lesion location. Methods : A cross-sectional analysis was conducted. In-patients diagnosed with first acute ischemic stroke were recruited. Hamilton Depression Rating Scale was used to assess poststroke depression within 2 weeks after the onset of stroke. A multivariate analysis was conducted to determine the relationship between demographic data, psychosocial data, stroke lesion location, cognitive function, disability after stroke and poststroke depression. Results : A total of 39 patients were recruited in this study. The mean age is 59.7 years. Poststroke depression was found in 11 patients (28.2%). Factors that statistically significantly related to acute poststroke depression are left sided stroke lesion, female gender and absence of hypertension. Conclusions : Left sided stroke lesion and female gender are factors contributing to poststroke depression.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16711
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.287
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.287
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
monton_wo.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.