Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16983
Title: การสื่อสารเพื่อการสร้างพื้นที่สาธารณะของวัฒนธรรมย่อย Cos'Play
Other Titles: Communication for creating public sphere of sub-culture Cos'Play
Authors: กอบชัย ศักดาวงศ์ศิวิมล
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การสื่อสารในกลุ่มขนาดเล็ก
วัฒนธรรมย่อย
อัตลักษณ์
ความพอใจ
พื้นที่สาธารณะ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาลักษณะการสื่อสารในการสร้างและธำรงรักษาวัฒนธรรมย่อยคอสเพลย์ (2) เพื่อศึกษาลักษณะของการสื่อสารในการสร้างพื้นที่สาธารณะ ทั้งที่เป็นพื้นที่จริงและพื้นที่ในสื่อมวลชน และ (3) เพื่อศึกษาทัศนะของสมาชิกกลุ่มและบุคคลทั่วไป ที่มีต่อการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อการแสดงออกของกลุ่มคอสเพฃย์ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ การสังเกต และการวิจัยเอกสารเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การนำเสนอวัฒนธรรมย่อยคอสเพลย์ในพื้นที่เชิงกายภาพนั้น จะมีการเชื่อมโยงกับหน่วยธุรกิจเป็นหลัก ส่วนพื้นที่ในมิติสื่อนั้น หากเป็นสื่อกระแสหลัก เช่น โทรทัศน์หรือสื่อสิ่งพิมพ์เองก็จะมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจ ส่วนในสื่อกระแสรองจะมีทั้งสื่อที่เป็นของหน่วยธุรกิจ ที่สมาชิกของกลุ่มคอสเพลย์มีฐานะเป็นเพียงผู้รับสาร แต่ถ้าเป็นสื่อที่สมาชิกกลุ่มคอสเพลย์เป็นเจ้าของเอง สมาชิกกลุ่มก็จะมีฐานะเป็นทั้งผู้ผลิตสารและผู้รับสาร และลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมย่อยคอสเพลย์ของไทยคือ ถึงแม้จะเป็นการรับเอาต้นแบบมาจากวัฒนธรรมต่างชาติ แต่ก็มีการเลือกรับเอามาบางสิ่งมิได้รับเอามาทุกอย่าง สิ่งใดที่สังคมไทยไม่ยอมรับ คนเหล่านี้ก็เลือกที่จะไม่รับเข้ามาด้วย ในส่วนทัศนคติของสมาชิกกลุ่มและบุคคลทั่วไปต่อการใช้พื้นที่สาธารณะ เพื่อการแสดงออกของกลุ่มคอสเพลย์นั้น สมาชิกของวัฒนธรรมย่อยคอสเพลย์และคนทั่วไปมองว่า เป็นเรื่องดีที่มีที่ให้แสดงออกถึงความชอบและความสามารถของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยนี้
Other Abstract: The objectives of this research were (1) to study the type of communication in creating and maintaining sub-culture cos’play (2) to study the type of communication in creating both the physical space and the space in the media (3) to study the attitudes of cos’play members and outsiders towards the use of public sphere for the presentation of cos’play culture. Qualitative research methods i.e., in-depth interview, observation and documentary research were employed The result of this research shows that the presentation of cos’play sub-culture in physical space is mainly linked to business unit. For the space in media; in case of the mainstream media such as television or print media, is linked to business unit as well. In the alternative media, the role of cos’play members is varied. In businessowned media, cos’play members could be only audiences. Another important characteristic of Thai cos’play sub-culture fond in this research is the selective adoption. Though Thai cos’play members imitate this culture from the foreign country, they selectively chose only some well-accepted attributes in Thai society. According to the attitude toward the use of public sphere, both cos’play members and outsiders think it is a good idea for the availability of public sphere for this subculture to express their passion and the ability.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16983
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.382
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.382
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kobchai_sa.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.