Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17131
Title: ปัจจัยทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Other Titles: Factors predicting pre-hospital time in patients with acute coronary syndrome
Authors: วัชรี พิมพ์ภักดี
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: กล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจ--โรค--ผู้ป่วย
หลอดเลือดโคโรนารีย์--โรค
หัวใจ--โรค--การวินิจฉัย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและศึกษาความสามารถในการทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยตัวแปรด้านลักษณะทางคลินิก การตอบสนองต่ออาการด้านการรู้คิด และการตอบสนองต่ออาการด้านอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คนเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม จากโรงพยาบาลศูนย์ 3 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลด้านระยะเวลาและการเจ็บป่วย และแบบสอบถามการตอบสนองต่ออาการ ที่พัฒนามาจาก Response to Symptom Questionnaire ของ Dracup and Moser (1997) มีค่าความเที่ยง(สัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค)เท่ากับ .82 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบเชิงชั้น (Hierarchical Multiple regression) 1. ระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 ชั่วโมง ([Mean]= 4.90 hours, SD = 5.11) 2. ตัวแปรด้านการตอบสนองต่ออาการด้านคิดรู้ การตอบสนองต่ออาการด้านอารมณ์ และการตอบสนองต่ออาการด้านลักษณะอาการ สามารถร่วมกันทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาได้ร้อยละ 68.9 เขียนเป็นสมการทำนายแบบคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Pre-hospital time = 0.53(Ability to control symptoms)* -0.15(Appraised symptoms as serious)* -0.01(Recognized symptoms as cardiac) +0.22(Waiting for symptoms to go away)* +0.32(Concern about troubling others)* -0.08(Symptom Intensity) +0.10(Fearing consequences of seeking help) -0.12(Chest pain) +0.09(Type of ACS)
Other Abstract: The purposes of this descriptive study were to study the pre-hospital time for seeking treatment, and to examine the predictability of selected factors influencing the pre-hospital times in patients with acute coronary syndrome. The participants include 140 acute coronary syndrome patients who received treatment in the medical departments of North-East center hospitals from three settings. The instrument used in this study was the Adaptation of The Response to Symptoms Questionnaire developed by Dracup and Moser (1997) reliability assessed by using the Cronbach’s alpha was 0.82. The data were analyzed using the hierarchical multiple regression. The results of this study revealed that 1. Mean of the pre-hospital time was 4.90 hours and median 3 hours ( [Mean]=4.90 hours, SD = 5.11) 2. The predicted power was 69.8% and the equation derived from standardize score was: Pre-hospital time = 0.53(Ability to control symptoms)* -0.15(Appraised symptoms as serious)* -0.01(Recognized symptoms as cardiac) +0.22(Waiting for symptoms to go away)* +0.32(Concern about troubling others)* -0.08(Symptom Intensity) +0.10(Fearing consequences of seeking help) -0.12(Chest Pain) +0.09(Type of ACS )
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17131
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1030
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1030
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
watcharee_pi.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.