Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17254
Title: | การศึกษาฤทธิ์ของยาอะซัยโคลเวีย (Acyclovir) และ สารสกัดจากพญายอในการต้านเชื้อ Koi Herpesvirus (KHV) ในเซลล์เพาะเลี้ยง |
Other Titles: | In vitro antiviral activity of Acyclovir and Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau. extract against Koi Herpesvirus (KHV) |
Authors: | ฐนิดา เหตระกูล |
Advisors: | นันทริกา ชันซื่อ จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ เนาวรัตน์ สุธัมนาถพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | อะซัยโคลเวีย พญายอ การเพาะเลี้ยงเซลล์ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาผลของยาอะซัยโคลเวียและสารสกัดพญายอในการต้านเชื้อไวรัสเคเอชวีซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดความเสียหายในการเลี้ยงปลาไนและปลาแฟนซีคาร์พทั่วโลก โดยทำการศึกษาประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสทั้งก่อนและหลังจากที่มีการติดเชื้อเข้าสู่เซลล์เพาะเลี้ยงเคเอฟเซลล์ พบว่า สารสกัดพญายอสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ที่ความเข้มข้น 0.475 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ทั้งก่อนที่มีการติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ 1,2,3 และ 4 ชั่วโมง และหลังจากเชื้อติดเข้าสู่เซลล์แล้ว ในขณะที่ยาอะซัยโคลเวียที่ความเข้มข้นสูงสุดที่ 10 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อไวรัสเคเอชวีภายในเซลล์ การทดสอบความเป็นพิษพบว่ายาอะซัยโคลเวียที่ความเข้มข้น 25, 50 และ 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีความเป็นพิษต่อเซลล์เคเอฟซีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยความเข้มข้นที่ทำให้เซลล์ตายไป 50% ของเซลล์ทั้งหมด คือ 11.60 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สารสกัดพญายอที่ความเข้มขัน 4.75 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์โดยทำให้เซลล์ตายทั้งหมด ส่วนที่ความเข้มข้น 0.95, 0.475, 0.095 และ 0.0095 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร พบว่าไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์โดยความเข้มข้นที่ทำให้เซลล์ตายไป 50% ของเซลล์ทั้งหมดคือที่ความเข้มข้น 1.9 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้ทำการศึกษาพยาธิสภาพของเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน พบว่ามีความสอดคล้องกับผลการทดลองที่ได้ โดยวิริออนที่พบภายในเซลล์ที่ใช้สารสกัดพญายอจะมีความผิดปกติ เกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้ไม่สามารถเจริญเป็นไวรัสที่มีคุณสมบัติในการติดเชื้อได้ จากผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดพญายอมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสเคเอชวีในเซลล์เพาะเลี้ยงจากปลาคาร์พ โดยอาจนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อไปเพื่อการรักษาโรคไวรัสเคเอชวีได้ในอนาคต |
Other Abstract: | Acyclovir and Clinacanthus nutans extract were tested for antiviral activities against Koi Herpesvirus (KHV) which has caused global epizootic in common carp and koi. Acyclovir and C. nutans extract were tested for pre and post infection antiviral activities. The mean ED50 of plant extract post-infection was 0.475 mg/ml and pre-infection at 1 hr, 2hr, 3hr and 4hr were 0.475 mg/ml. While acyclovir at the maximum concentration 1 0 ~g/ml was not have antiviral activity in pre and post infection tests. The cytotoxicity results indicated that acyclovir at the concentration of 25, 50 and 100 ug/ml and C. nutans plant extract at 4.75 mg/ml damaged Koi fin cell line and had the cytotoxic effect to the cells. 10r non-toxic concentration of acyclovir was at 11 .60 ug/ml and C. nutans plant extract at 1.9 mg/ml. The cellular pathological study under Transmission electron microscope indicated that the intracellular virion exposed to C. nutans extract was degenerated. Therefore, the incomplete development of these virions effected the infectivity of the virus. The results showed that C. nutans extract showed antiviral activity against Koi herpesvirus in Koi fin cell line which may be applied as therapeutic agents in common carp and koi in the future |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์สัตวแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17254 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.302 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.302 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanida_ha.pdf | 7.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.