Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17439
Title: | อินเตอร์เน็ตกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Internet and political participation of Chulalongkorn University student |
Authors: | วราวุธ แสงอร่าม |
Advisors: | กนกศักดิ์ แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต -- ไทย การเมือง นักศึกษา -- กิจกรรมทางการเมือง การรับรู้ทางการเมือง |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองจากอินเทอร์เน็ต และหาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตกับปัจจัยการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองจากอินเทอร์เน็ต โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม จำนวนนิสิต 18 รายที่เลือกแบบเจาะจง ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 198 รายที่เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงแค่ “เครื่องมือ” และ “ช่องทาง” ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร แต่มิได้เป็นเครื่องมือสำคัญต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยที่ เว็บไซด์นั้นเป็นเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงบุคคลได้มากที่สุด โดยที่เมื่อสังเกตจากผลการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น พบว่า “อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการสื่อสารทางการเมืองและถือว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่นำไปสู่การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมือง” เนื่องจากในอินเทอร์เน็ตนอกจากจะมีช่องทางให้ผู้ที่สนใจเรื่องการเมืองเข้าไปอ่านข่าวสารและติดตามข่าวสารแล้ว เนื่องด้วยอินเทอร์เน็ตค่อนข้างมีอิสระระดับหนึ่งในการแสดงความคิดเห็น หรือแลกเปลี่ยนการคิดเห็นกัน โดยเฉพาะรูปแบบของการเป็นเครือข่ายของคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน ย่อมทำให้เกิดพลังในการรวมตัวกันของคนได้ อีกทั้งการสนทนาในลักษณะตอบกระทู้ หรือ การแสดงความเห็นระดับบุคคล ในรูปแบบของการเขียนบล็อก ก็เป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้คนมีจิตสำนึกร่วมทางการเมืองได้ จะเห็นได้ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มเครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ และกลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊กมีส่วนสืบเนื่องมาจากการติดตามข่าวสารทางการเมืองผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านทางเว็บ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และกระดานสนทนาต่างๆ ที่เป็นส่วนกระตุ้นให้สมาชิกของทั้งสองกลุ่มมีการตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นสื่อกลางในการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางการเมืองอีกด้วย เมื่อสมาชิกของทั้งสองกลุ่มได้รับข่าวสารที่เพียงพอและเป็นประโยชน์ จึงทำให้เกิดแรงผลักดันในการแสดงออกทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การเข้าร่วมประท้วง การล่ารายชื่อเพื่อตรวจสอบ การออกแถลงการณ์ การถกกันเรื่องความรู้ด้านประชาธิปไตย ฟังและแสดงความคิดเห็นในการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชน (Hyde Park) ขึ้นปราศรัย เดินขบวน และการเข้าชื่อเพื่อถอดถอนรัฐมนตรี |
Other Abstract: | The research aims to study the relationship between internet and political participation of Chulalongkorn University student. Research method is mainly a qualitative research of a focus group study of 18 students. In addition, it is complemented by a purposive questionnaire survey of 198 students. It is found that, from a questionnaire survey of 198 students, internet is only a “tool” or a “channel” for accessing political information. But internet’s role here is not important for political participation. All in all, website is, among other means, the most important and effective tool for students to access political information. This evidence is obviously seen from the focus group study as internet is the means which can bring students to get political information for their political participation and social movement. As internet provides its users for a freely access to political information as well as to freely comment or share and voice their opinions through internet blog, so internet will partly activate for a further political consciousness. However, the study also found that, from a focus group study, the political participation activity of both Young People’s Alliance for Democracy Group and Change a Heart, Change the World Group are mainly stimulated through internet such as website, electronic mail and web board. In this Thai political context, internet is the most crucial communication medium for creating free space for sharing political information led to political activities such as preparing demonstration, joining protests, signing petition requesting public investigation of political corruption, spreading official statements, discussing political issues, attending Hyde park, ect |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17439 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1500 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1500 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
warawudh_sa.pdf | 3.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.