Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17701
Title: ความสามารถในการทรงตัวของนักเรียนหญิง
Other Titles: Balancing abilities in girl students
Authors: นัยนา จันทร์ฉลอง
Advisors: ศิลปชัย สุวรรณธาดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สมรรถภาพทางกาย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทรงตัวในขณะที่ร่างกายเคลื่อนที่ และขณะที่ร่างกายอยู่กับที่ของนักเรียนหญิง 3 กลุ่มอายุ คือกลุ่มอายุ 11-12 ปี 14-15 ปี และ 17-18 ปี ตัวอย่างประชากรที่ใช้คือนักเรียนหญิงโรงเรียนสตรีวัดระฆัง โดยการสุ่มตัวอย่างออกมา 3 กลุ่ม ๆ ละ 50 คนเท่า ๆ กันตามระดับอายุคือ กลุ่มที่ 1 อายุ 11-12 ปี กลุ่มที่ 2 อายุ 14-15 ปีและกลุ่มที่ 3 อายุ 17-18 ปี ทำการทดสอบความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายอยู่กับที่ด้วยเครื่องมือวัดการทรงตัว และความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่ด้วยแบบทดสอบกระโดดของจอห์นสัน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่า เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ความความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายอยู่กับที่ของกลุ่มอายุ 11-12 ปี 14-15 ปี และ 17-18 ปีไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2. ความสามารถในการทรงตัวในขณะที่ร่างกายเคลื่อนที่ของกลุ่มอายุ 11-12 ปี 14-15 ปี และ 17-18 ปีแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2.1 ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่ของกลุ่มอายุ 17-18 ปี ดีกว่ากลุ่มอายุ 11-12 ปี 2.2 ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่ของกลุ่มอายุ 14-15 ปี ดีกว่ากลุ่มอายุ 11-12 ปี 2.3 ความสามารถในการทรงตัวขณะร่างกายเคลื่อนที่ของกลุ่มอายุ 14-15 ปี กับกลุ่มอายุ 17-18 ปี ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the ability of dynamic and static balance of girl students who were 11-12, 14-15, and 17-18 years old. One hundred and fifty girl students Of Wat Rakeng School were used as the samples. They were divided into three equal groups of 11-12, 14-15, and17-18 years old. A stabilometer was used for testing the ability of static balance and the Johnson Stagger Jump Test was used for the ability of dynamic balance. The obtained data were then analyzed into means and standard deviation. The analysis of variance method was also used to determine the level of significance. It was found that: 1. The ability of static balance for the group of 11-12, 14-15, and 17018 years old was not significantly different at the .05 level. 2. The ability of dynamic balance for the group of 11-12, 14-15, and 17018 years old was significantly different at the .05 level. 2.1 The ability of dynamic balance for the group of 17-18 years old was better than the group of 11-12 years old. 2.2 The ability of dynamic balance for the group of 14-15 years old was better than the group of 11-12 years old. 2.3 The ability of dynamic balance for the group of 14-15 and 17-18 years old was not significantly different.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17701
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naiyana_Ch_front.pdf327.42 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ch_ch1.pdf458.01 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ch_ch2.pdf602.18 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ch_ch3.pdf310.22 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ch_ch4.pdf296.94 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ch_ch5.pdf479.37 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Ch_back.pdf402.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.