Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17722
Title: ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกำลังคนของรัฐวิสาหกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
Other Titles: Public enterprise personnel cost : The Bangkok Mass Transit Authority case
Authors: นัยนา เกิดวิชัย
Advisors: อิสระ สุวรรณบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ -- การบริหารงานบุคคล
รัฐวิสาหกิจ -- ไทย -- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
การบริหารงานบุคคล -- ไทย
enterprises
cost accounting
รัฐวิสาหกิจ
การขนส่งมวลชน
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน องค์การรัฐวิสาหกิจหลายแห่งในประเทศไทย เป็นที่เพ่งเล็งและถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่าเป็นการสมควรและคุ้มค่าหรือไม่ในการดำเนินการให้บริการด้านสาธารณูปโภคหรือด้านอื่นๆ แก่ประชาชน เนื่องจากหลายแห่งประสบความล้มเหลวในการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการด้านรถยนต์โดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร และอาณาบริเวณใกล้เคียงอีก 5 จังหวัด โดยถูกต้องตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว แต่การดำเนินงานขององค์การฯ ไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายในการอำนวยความสะดวกด้านให้บริการแก่ผู้โดยสารให้ดีที่สุดและยังต้องประสบกับภาวะการขาดทุนอย่างหนักมาโดยตลอด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ประสงค์ที่จะศึกษาถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกำลังคนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ อันเป็นค่าใช้จ่ายประเภทหนึ่งในการดำเนินงานขององค์การฯ ซึ่งอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูงอันเป็นสาเหตุที่ทำให้องค์การฯ มีรายได้ไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย และประสบการขาดทุนอย่างหนักดังกล่าว ในการศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสาร เอกสารทางวิชาการ ข้อมูลตัวเลขและเอกสารต่างๆ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และสัมภาษณ์พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนการสังเกตการณ์และประสบการณ์ด้วยตนเองมาประกอบการพิจารณาและวิเคราะห์ ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐานในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกำลังคนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้องค์การฯ ประสบการขาดทุนในการดำเนินงาน ผลจากการวิจัยพบว่า 1. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีระบบการบริหารงานบุคคลที่ล้มเหลว และมีการบริหารค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกำลังคนที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลถึงภาวะการขาดทุนอย่างมหาศาลมาโดยตลอด 2. ภาวะการขาดทุนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นผลจากปัญหาอันเกิดจากสภาพแวดล้อม และปัญหาการบริหารภายใน ปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ก. ความไม่พร้อมของการก่อตั้งองค์การ ข. การบริหารอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมือง ค. อัตราค่าโดยสารต่ำกว่าต้นทุน ง. การขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหาร จ. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกำลังคนอยู่ในอัตราที่สูง 3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกำลังคนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ทำให้องค์การประสบการขาดทุนในการดำเนินงาน 4. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขจากระดับบน คือผู้กำหนดนโยบายขององค์การฯ โดยให้เอกชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารหรือร่วมลงทุนกับรัฐบาลในระดับองค์การฯ ควรมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารที่สำคัญ โดยเฉพาะการบริหารงานบุคคลด้วยการนำระบบที่เหมาะสมกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาใช้
Other Abstract: Many Thai public utility enterprises have been widely criticized for their inefficiency, mismanagement, financial losses, and inability to provide adequate and convenient services to the public. The Bangkok Mass Transit Authority, which provides bus services in the capital city and five adjacent provinces, is one among them. The Authority, since its establishment in 1976, has accumulated losses of more five thousand million baht. There are many factors which contribute to public enterprise inefficiency. Among them are high operation costs, particularly, personnel cost. In the BMTA case, personnel cost had amounted to around 40% of total expenditures. This thesis, therefore, attempts to investigate into BMTA’s personnel cost because the writer believes that such cost is one of most important factors contributing to the losses and BMTA has been unable to cut down this fixed cost. The study is carried out through extensive library research and filed study. A large number of BMTA personnel of different levels and outsides involved were interviewed. The writer was also a former BMTA personnel, so that she has acquired some experiences and been able to gather some in-depth information. The main findings are as follows: 1. BMTA has failed to establish an effective personnel management system. This, in effect, has contributes to heavy losses in its operation. 2. There are several factors contributing to BMTA’s efficiency and effectiveness; (a) political interference in its policy-making processes and its internal management, (b) unplanned establishment, (c) unreasonable low fares, (d) managerial inefficiency, and (e) high personnel cost 3. Unless there is great improvement in the BMTA personnel management system, personnel cost would continue to increase still be a main contributors to the losses. 4. There should be immediate and drastic reform of BMTA. The organization should be restructured and the managerial system be improved. The private participation should also be allowed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17722
ISBN: 9745669342
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naiyana_Gi_front.pdf337.42 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Gi_ch1.pdf675.51 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Gi_ch2.pdf635.57 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Gi_ch3.pdf779.16 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Gi_ch4.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Gi_ch5.pdf477.98 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Gi_back.pdf577.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.