Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18090
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของลูกเสือและเนตรนารี ต่อการเรียนวิชาลูกเสือเนตรนารีกับมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดี ในระบอบประชาธิปไตย
Other Titles: The relationships between boy scounts and girl guides' attitude towards learning boy scout-girl guide subject and concepts of citizenship in domocracy
Authors: วันเพ็ญ พันธุรักษ์
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ลูกเสือ
เนตรนารี
หน้าที่พลเมือง
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนคติต่อการเรียนวิชาลูกเสือเนตรนารี และศึกษามโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยของลูกเสือและเนตรนารีในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการเรียนวิชาลูกเสือเนตรนารีกับมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย และเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการเรียนวิชาลูกเสือเนตรนารีกับมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีของลูกเสือและเนตรนารี กลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมด 527 คน เป็นนักเรียนที่เรียนลูกเสือ 265 คน เนตรนารี 262 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัยคือแบบวัดทัศนคติต่อการเรียนวิชาลูกเสือเนตรนารี จำนวน 40 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยสร้างตามมาตรวัดทัศนคติของลิเคอท (Likert type Scales) และแบบวัดมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยซึ่งดัดแปลงมาจากของวารี แสนสุข จำนวน 40 ข้อ ในการรวบรวมข้อมูลได้นำแบบวัดทั้งสองชุดไปทดสอบกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างประชากรจากนั้นนำผลที่ได้มาตรวจและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบระดับทัศนะคติและระดับมโนทัศน์ กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และทดสอบนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนทัศนคติและคะแนนมโนทัศน์แยกตามเพศด้วยค่าสถิติที (t-test) ตลอดจนหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนทัศนคติและคะแนนมโนทัศน์ของลูกเสือและเนตรนารีโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยใช้ Fisher’s Z-transformation ผลการวิจัยพบว่า 1. ลูกเสือมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาลูกเสือเนตรนารีร้อยละ 53.59 ของจำนวนลูกเสือทั้งหมดในกลุ่มที่ศึกษา และเนตรนารีมีทัศนัคติที่ดีต่อการเรียนวิชานี้ร้อยละ 57.25 ของจำนวนเนตรนารีทั้งหมดในกลุ่มที่ศึกษา เมื่อทดสอบกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้เกี่ยวกับระดับความเห็นของผู้ที่จะถือได้ว่ามีทัศนคติที่ดีพบว่า ลูกเสือได้ระดับคะแนนเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกับเกณฑ์คือไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนเนตรนารีได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ลูกเสือมีมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีในลักษณะที่แยกออกไปเป็นสองกลุ่มและมีจำนวนในระดับที่ต่ำและสูงใกล้เคียงกัน โดยอยู่ในระดับต่ำเป็นจำนวนมากกว่าระดับสูงเล็กน้อย คืออยู่ในระดับต่ำร้อยละ 39.49 และอยู่ในระดับสูงร้อยละ 37.38 ของลูกเสือทั้งหมดในกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา แต่เนตรนารีส่วนใหญ่จะมีมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีอยู่ในระดับสูงคือมีจำนวนร้อยละ 59.54 ของเนตรนารีทั้งหมด เมื่อทดสอบกับคะแนนที่เป็นเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้เกี่ยวกับระดับมโนทัศน์ของผู้ที่ควรจะถือได้ว่ามีมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีอยู่ในระดับสูง พบว่าลูกเสือได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเนตรนารีได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ลูกเสือเนตรนารีมีทัศนคติต่อการเรียนวิชาลูกเสือเนตรนารีไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 4. ลูกเสือและเนตรนารีมีมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยแตกต่างกันอย่างมีนัยที่สำคัญที่ระดับ .05 โดยเนตรนารีมีมโนทัศน์สูงกว่าลูกเสืออย่างมีนัยสำคัญ 5. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการเรียนวิชาลูกเสือเนตรนารีกับมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยของลูกเสือและเนตรนารีมีค่าเท่ากับ 0.3995 และ0.3361 ตามลำดับ ทั้งสองค่านี้มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 6. ทัศนคติต่อการเรียนวิชาลูกเสือเนตรนารีของลูกเสือและเนตรนารี มีความสัมพันธ์ในด้านบวกกับมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.3173
Other Abstract: This Research was conducted to study the relationships between attitude towards learning boy scout-girl guide subject and concepts of citizenship in Democracy for the upper secondary school. Including with analyzing the correlation coefficients, and the comparisons of the correlation coefficients was also studied. Total sample of 527 students, 265 boy scouts and 262 girl guides, from the upper secondary school in Bangkok was used in this study. Forty items of the attitude towards learning the boy scout-girl guide subject were developed by using the Likert Type Scales and forty items of the concepts of citizenship in democracy were adapted from the Varee Sansuk's study. The collected data were statistically tested in sepereated sex by using the T-test. The correlation coefficients of the attitude scores and the concept scores was calculated by using the Pearson's method. These correlation coefficients were compared by using Fisher's Z-transformation. The findings are as follaws: 1. Approximately 53.59% and 57.25% of boy scouts and girl guides had a good attitude towards learning the boy scout-girl guide subject. In comparing with the criterion score for the good attitude towards learning boy scout-girl guide subject, the average score of the boy scouts was not significantly lower than the criterion score at the .05 level. But the average score of the girl guides was significantly higher than the criterion score at the .05 level. 2. Boy Scouts had concepts of citizenship in Democracy for the low and high levels at 38.49% and 37.36% respectively. On the other hand, most of the girl guides had concepts of citizenship for high level at 59.54%. In comparing with the criterion score for the good concepts of citizenship, the average score of the boy scouts was significantly lower than the criterion score at the .05 level. However, the average score of the girl guides was not significantly higher than the criterion score at the .05 level. 3. For the comparison of the attitude towards learning boy scout-girl guide subject between boy scouts and girl guides was not significantly different at the .05 level. 4. Girl guides had concerts of citizenship in Democracy significantly different from boy scouts at the .05 level. And girl guides had higher concepts than boy scouts. 5. The correlation coefficients between the attitude towards learning boy scout-girl guide subject and concepts of citizenship in Democracy of boy scouts and girl guides were 0.3995 and 0.3361, respectively. In addition, these two correlation coefficients were not significantly different at the .05 level. 6. The attitude towards learning boy scout-girl guide subject of boy scouts and girl guides had significantly possitive correlation with concerts of citizenship at the .05 level, and the correlation coefficient was 0.3173.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18090
ISBN: 9745620815
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanpen_Ph_front.pdf351.64 kBAdobe PDFView/Open
Wanpen_Ph_ch1.pdf440.86 kBAdobe PDFView/Open
Wanpen_Ph_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_Ph_ch3.pdf409.88 kBAdobe PDFView/Open
Wanpen_Ph_ch4.pdf305.21 kBAdobe PDFView/Open
Wanpen_Ph_ch5.pdf401.14 kBAdobe PDFView/Open
Wanpen_Ph_back.pdf692.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.