Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18108
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญมี เณรยอด-
dc.contributor.authorฒามรา ผลัดธุระ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-17T08:25:25Z-
dc.date.available2012-03-17T08:25:25Z-
dc.date.issued2524-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18108-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑. เพื่อศึกษาเทคนิคการนิเทศการฝึกสอนของอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึก สอนที่ปฏิบัติอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยฝึกสอนของวิทยาลัยครูภาคตะวันตก ๒. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างเกี่ยวกับเทคนิคการนิเทศการฝึกสอนของอา จารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอน ที่มีวุฒิระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ากับอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอน ที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ๓. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างเกี่ยวกับเทคนิคการฝึกสอนของอาจารย์นิเท ศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนที่มีประสบการณ์ในการนิเทศการฝึกสอนตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป กับอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนที่มีประสบการณ์ในการนิเทศการฝึ กสอนต่ำว่า ๕ ปี สมมติฐานของการวิจัย ๑. อาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนที่มีวุฒิต่างกันมีเทคนิคการนิเทศที่ไม่แ ตกต่างกัน ๒. อาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนที่มีประสบการณ์ต่างกันมีเทคนิคการนิ เทศไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย อาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาของกลุ่ มวิทยาลัยครูภาคตะวันตก ๔ วิทยาลัยที่ปฏิบัติงานในภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๒๓ เลือกมาโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้หน่วยละ ๒ คน และนักศึกษาฝึกสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ที่ผ่านการฝึกสอนในภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๒๓ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ร้อยละ ๕๐ ของจำนวนนักศึกษาของแต่ละวิทยาลัย เป็นจำนวนอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอน ๑๗๒ คน นักศึกษา ๔๐๐ คน จากแบบสอบถามที่ส่งไปจำนวน ๙๗๒ ฉบับ ได้รับแบบสอบถามคืนมา ๔๘๔ ฉบับคิดเป็นร้อยละ ๘๒.๓๑เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ (Check list) แบบมาตราส่วนประเมินค่า ( Rating Scale) และแบบปลายเปิด ( Open- ended) แบบสอบถามมี ๒ ฉบับ คือ ฉบับที่ ๑ สำหรับอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอน และฉบับที่ ๒ สำหรับนักศึกษาฝึกสอน ผู้วิจัยได้หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้ง ๒ ฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๔ และ ๐.๙๖ ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าอัตราส่วนวิกฤต (t-test) สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่า ๑. ในระยะก่อนออกฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอน มีความเห็นว่าตนเองได้ปฏิบัติเกี่ยวกับเทคนิคการฝึกสอนอยู่ในระดับมาก แต่นักศึกษาฝึกสอนมีความเห็นว่าปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ในระยะระหว่างฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนมีความเห็นว่าตนเองได้ปฏิบัติเกี่ยวกับเ ทคนิคการนิเทศฝึกสอนอยู่ในระดับมาก แต่นักศึกษาฝึกสอนมีความเห็นว่าปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ในระยะเสร็จสิ้นการฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอน มีความเห็นว่า ตนเองได้ปฏิบัติเกี่ยวกับเทคนิคการนิเทศการฝึกสอน อยู่ในระดับมาก แต่นักศึกษาเห็นว่าปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ๒. เทคนิคการนิเทศฝึกสอนที่อาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนปฏิบัติอยู่ใน ระดับมากในระยะก่อนการฝึกสอน ได้แก่ จัดให้นักศึกษาฝึกสอนได้ทำการสอนตามวิชาเอก โท ที่ได้เรียนมาแนะนำนักศึกษาฝึกสอนเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร และคู่มือประกอบการสอน จัดปฐมนิเทศแก่นักศึกษาฝึกสอนเกี่ยวกับงานสอน งานประจำชั้น และงานในหน้าที่ ให้นักศึกษาวางแผนการสอนระยะสั้นและระยะยาวส่วนการปฏิบัติที่อยู่ในร ะดับน้อยได้แก่ การจัดหาและเตรียมโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์การสอนร่วมกับนักศึกษาฝึกสอน จัดให้มีการสาธิตการสอนโดยนักศึกษาหลังจากชี้แจงข้อบกพร่องแล้ว ในระยะระหว่างฝึกสอน เทคนิคที่อาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ให้คำแนะนำในการทำบันทึกการสอน ตรวจบันทึกการสอนสม่ำเสมอและล่วงหน้า เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดโดยเสรี สังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับการปกครองชั้นเรียน ส่วนเทคนิคที่ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่เมื่อนั กศึกษาฝึกสอนมีความคิดเห็นไม่สอดคล้องกับตน ส่วนเทคนิคที่ไม่ปฏิบัติเลยได้แก่ การใช้เครื่องบันทึกเสียงเป็นเครื่องประกอบในการสังเกตพฤติกรรมทางวา จาของนักศึกษาฝึกสอนอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนออกไปสอนแ ทนเมื่อนักศึกษาฝึกสอนผิด ในระยะเสร็จสิ้นการฝึกสอน เทคนิคที่อาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ จัดให้มีการรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ไว้เป็นหมวดหมู่ มีการประชุมสัมมนาร่วมกับนักศึกษาฝึกสอนภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกสอนแ ล้ว ส่วนเทคนิคที่ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยได้แก่ จัดให้มีการศึกษาระเบียนสะสม (Anecdotal Record) จัดให้มีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของอาจาร ย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอน จัดให้มีการศึกษาผลการเรียนของนักเรียนร่วมกับนักศึกษาฝึกสอน แล้วนำไปเป็นแนวทางในการทำแผนการสอนร่วมกัน ๓. การใช้เทคนิคการนิเทศการฝึกสอนทั้ง ๓ ระยะของอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนที่มีวุฒิระดับปริญญาตรีหรือสู งกว่า กับอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนที่มีวุฒต่ำกว่าปริญญาตรีแตกต่างกั นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๔. การใช้เทคนิคการนิเทศการฝึกสอนทั้ง ๓ ระยะของอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอนที่มีประสบการณ์ตังแต่ ๕ ปีขึ้นไปและต่ำกว่า ๕ ปี แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕-
dc.description.abstractalternativePurposes of the study : 1. To study the supervisory techniques which are implemented by the co-operating teachers in the elementary schools within the Western Teachers Colleges Group. 2. To compare the supervisory techniques between the cooperating teachers who earned a Bachelor’s degree or post- graduate degree, and those who did not earn a university degree. 3. To compare the supervisory techniques between the cooperating teachers who had experience in supervise teaching for more than five years and those who had less than five years. Hypothesis : 1. There will be no significant differences in the implementation of supervisory techniques between the co- operating teachers who earned a Bachelor’s degree of post- graduate degree, and those who did not have a university’s degree. 2. There will be no significant differences in the implementation of supervisory techniques between the co- operating teachers, who had experience in supervise teaching for more than five years and those who had less than five years. Procedure : Sample of this study comprised 172 co-operating teachers and 400 student teachers who performed their duties in elementary schools within 4 Colleges of the Western Teachers College Group, during the academic year 2523, co-operating teachers were randomly selected by the simple random sampling technique by obtaining 2 teachers from each school, and student teachers of Higher Certificate Level who had implemented in the first semester of academic year 2523. Also were randomly selected by simple random sampling and by using 50 percent of students in each college. All co-operating teachers and student teachers within these elementary schools composed the sample total to be 572. From the total 572 questionnaires set out, 484 or 82.31 percent were completed and returned. Data were analyzed by means of percentages, means, standard deviation, and t-test. Findings : Concerning the performance of the co-operating teachers, the co-operating teachers themselves rated that they had performed at the high level in every period. But, the students teachers rated and the co-operating teachers had performed at the low level in every period. During the pre-training period, techniques which co-operating teachers implemented at the high level were as follow : assigning student teachers to teach within their major and minor areas, advising student teachers concerning the curriculum implementation, teachers’ handbook, and sources of information and teaching aids, arranging an orientation concerning teachers’ duties and responsibilities, advising student teachers to writ long-term and short-term lesson plans. But arranging of teaching demonstration by student teachers after completion of suggestion, providing and preparing teaching aids together with student teachers, and demonstration of teaching performance were performed at the low level. During the training period, techniques which co-operating teachers implemented at the high level were advising and correcting lesson plan regularly, accepting the student teacher’s opinions, observing the classroom administration. Regarding their own opinions the stereotyped were implemented at the low level. Substituting student teachers when the gave wrong lesson, and using a tape recorder during observing period were not implemented. During the post training period a techniques which teachers implemented at the high level was gathering and organizing educational aids, call a meeting after training period between the student teachers and co-operating teachers. But arranging co-operating for anecdotal records, keeping and analyzing co-operating performance’s data were implemented at the low level. There is no significant differences in implementing supervisory techniques during all training periods of co-operating teachers who earned a university degrees on higher and those who did not at the .05 level. Hypothesis on is retained. There is no significant differences in implementing supervisory techniques during all training periods of co-operating teachers who had experiences of five years or more and those who has less than five years at the .05 level. Hypothesis two is retained.-
dc.format.extent453918 bytes-
dc.format.extent435906 bytes-
dc.format.extent1503854 bytes-
dc.format.extent345839 bytes-
dc.format.extent1404292 bytes-
dc.format.extent838135 bytes-
dc.format.extent999445 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการฝึกสอนen
dc.subjectการนิเทศการศึกษาen
dc.titleเทคนิคการนิเทศการฝึกสอนของอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนฝึกสอน ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ของกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันตกen
dc.title.alternativeSupervisory technique of co-operating teachers in the elementary schools within the Western teachers colleges groupen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thamara_Pl_front.pdf443.28 kBAdobe PDFView/Open
Thamara_Pl_ch1.pdf425.69 kBAdobe PDFView/Open
Thamara_Pl_ch2.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Thamara_Pl_ch3.pdf337.73 kBAdobe PDFView/Open
Thamara_Pl_ch4.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Thamara_Pl_ch5.pdf818.49 kBAdobe PDFView/Open
Thamara_Pl_back.pdf976.02 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.