Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1811
Title: | การวิเคราะห์ตัวประกอบสมรรถนะของพยาบาลผ่าตัดโรงพยาบาลของรัฐ |
Other Titles: | A factor analysis of perioperative nurses' competencies, governmental hospitals |
Authors: | มุทิตา รัตนภาค, 2514- |
Advisors: | พิชญาภรณ์ มูลศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สมรรถภาพในการทำงาน การพยาบาลศัลยศาสตร์ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวประกอบสมรรถนะและตัวแปรที่อธิบายลักษณะตัวประกอบสำคัญของสมรรถนะของพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลของรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 1,092 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสกัดตัวประกอบ ด้วยวิธีตัวประกอบภาพพจน์ หมุนแกนตัวประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ ตัวประกอบสมรรถนะที่สำคัญของพยาบาลผ่าตัดมีจำนวน 8 ตัวประกอบ มีค่าความแปรปรวนรวมกัน คิดเป็นร้อยละ 55.2 และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า 1) ตัวประกอบสมรรถนะด้านการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผ่าตัด เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุดคือร้อยละ 23.7 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ จำนวน 37 ตัวแปร 2) ตัวประกอบสมรรถนะด้านการติดต่อสื่อสารเป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 10.3 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ จำนวน 19 ตัวแปร 3) ตัวประกอบสมรรถนะด้านเทคนิคการพยาบาลผ่าตัด เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบาย ความแปรปรวนได้ร้อยละ 9.4 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ จำนวน 16 ตัวแปร 4) ตัวประกอบสมรรถนะด้านการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการพยาบาลผ่าตัด เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.7 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ จำนวน 7 ตัวแปร 5) ตัวประกอบสมรรถนะด้านการบริหารจัดการทั่วไป เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบาย ความแปรปรวนได้ร้อยละ 2.6 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ จำนวน 10 ตัวแปร 6) ตัวประกอบสมรรถนะด้านการเตรียมผู้ป่วยผ่าตัด เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบาย ความแปรปรวนได้ร้อยละ 2.3 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ จำนวน 3 ตัวแปร 7) ตัวประกอบสมรรถนะด้านจริยธรรมและการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 1.1 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ จำนวน 5 ตัวแปร 8) ตัวประกอบสมรรถนะด้านการดูแลแผลผ่าตัด เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 1.1 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ จำนวน 2 ตัวแปร |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the factors of perioperative nurses' competencies and the variables which described those major factors. A sample of 1,092 perioperative nurses in governmental hospitals all over the country, who has at least one year of experience were selected. The research instrument was a questionaire consisted of six competencies of perioperative nurse. The reliability of the instrument, calculated by the Cronbach's coefficient alpha, was .98. The data were analysed by Image factoring method with varimax orthogonal rotation. The results were as follows: There were eight significant factors of perioperative nurses' competencies; 1) Perioperative nursing's quality improvement, a major factor of perioperative nurses' competencies, which described by 37 items, can be accounted for 23.7 percent of total variance, 2) Communication, which described by 19 items, can be accounted for 10.3 percent of total variance, 3) Perioperative nursing technique, which described by 16 items, can be accounted for 9.4 percent of total variance, 4) The utilization of nursing process in perioperative nursing practice, which described by 7 items, can be accounted for 4.7 percent of total variance, 5) General management, which described by 10 items, can be accounted for 2.6 percent of total variance, 6) Patient preparation for surgery, which described by 3 items, can be accounted for 2.3 percent of total variance, 7) Ethics and patient advocacy, which described by 5 items, can be accounted for 1.1 percent of total variance, 8) Surgical wound care which described by 2 items, can be accounted for 1.1 percent of total variance. All these factors can accumulated 55.2 percent of the variance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1811 |
ISBN: | 9741702876 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Mutita.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.