Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18150
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนม คลี่ฉายา-
dc.contributor.authorภัสสรา เปรมประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-17T13:41:49Z-
dc.date.available2012-03-17T13:41:49Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18150-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจการรับรู้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสมัครเข้าทำงานขององค์กร แรงจูงใจ และการตัดสินใจเข้าทำงานในองค์กรของนิสิตนักศึกษา และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสมัครเข้าทำงานขององค์กร กับแรงจูงใจและการตัดสินใจเข้าทำงานในองค์กรของนิสิตนักศึกษา โดยใช้แบบสอบถาม(Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายของหลักสูตรการศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการรับรู้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสมัครเข้าทำงานขององค์กรในระดับปานกลาง สำหรับวิธีการที่กลุ่มตัวอย่างรับรู้ได้มากที่สุด คือ เว็บไซต์ขององค์กร ในด้านของแรงจูงใจพบว่า โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าทำงานกับองค์กรอยู่ในระดับมาก สำหรับแรงจูงใจที่สามารถจูงใจให้กลุ่มตัวอย่างเข้าทำงานได้มากที่สุด คือ การจูงใจด้วยค่าตอบแทน ด้านการตัดสินใจพบว่า ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจจะเข้าทำงานในองค์กรที่นึกถึงเป็นอันดับแรกอยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความถี่ในการรับรู้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสมัครเข้าทำงานขององค์กรมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเข้าทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำนอกจากนี้ความถี่ในการรับรู้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสมัครเข้าทำงานมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าทำงานเฉพาะ 3 วิธีการ ได้แก่ ข่าวการรับสมัครงาน เว็บไซต์ขององค์กร ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำen
dc.description.abstractalternativeThe main purposes of this research are to examine the perception of public relations activities and promotional job application among university student, motivation and decision making of university students for their job application, and explain correlation between the perception of public relations activities and motivation and decision for job application. The questionnaires are used to collect data from 400 samples among senior university students in Bangkok. The research findings are as follow: the correspondents perceive public relations activities of organization in middle level. The activity which correspondents mostly perceive is corporate website. The correspondents’ motivation for job application is high level. Motivation in money is highly motivate for job applying and the correspondents’ decision to apply for a job in their favorite organization is high level. The hypothesis testing shows that there is a significantly correlation between the perception of public relations activities and motivation to make decision for job application. In addition, there is a significantly correlation between the perception of public relations activities and decision for job application in only 3 methods that are job application news, corporate website and CEO interview news.en
dc.format.extent10094090 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการสมัครเข้าทำงานของนิสิตนักศึกษาen
dc.title.alternativePublic relations activities and promotional job application among university studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
passara_pr.pdf9.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.