Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18286
Title: การพัฒนาเกณฑ์ประเมินภารกิจของภาควิชาคณิตศาสตร์ในวิทยาลัยครู
Other Titles: Development of evaluative criteria for functions of mathematics department in teachers' colleges
Authors: ฉัตรนภา พรหมมา
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
อุทัย บุญประเสริฐ
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
[email protected]
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
วิทยาลัยครู
การประเมินผลงาน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ประเมินภารกิจด้านต่างๆ ของภาควิชาคณิตศาสตร์ในวิทยาครู วิธีดำเนินการเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นการพัฒนาเกณฑ์โดยวิเคราะห์งานของภาควิชาคณิตศาสตร์ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 29 คน ตามกรอบแนวคิดของทฤษฎีเฉพาะของภาควิชาคณิตศาสตร์ที่ดี เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบถามและใช้เทคนิคเดลฟาย ตอนที่สองเป็นการทดลองใช้เกณฑ์กับภาควิชาคณิตศาสตร์ในกลุ่มตัวอย่าง 2 แห่ง เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์และความครอบคลุมของเกณฑ์ รวมทั้งหาข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเกณฑ์ ผลการวิจัยได้เกณฑ์ประเมินภารกิจด้านต่างๆ ของภาควิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งสรุปเกณฑ์ที่สำคัญได้ดังต่อไปนี้ ก. เกณฑ์ด้านการสอนและนิเทศการสอน 1. มีอาจารย์วุฒิปริญญาโทหรือเชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพียงพอตามความจำเป็นขั้นต่ำ คือ 1.1 คณิตศาสตร์ 2 คน 1.2 การสอนคณิตศาสตร์ 2 คน 1.3 สถิติ 1 คน 1.4 คอมพิวเตอร์ 1 คน 2. อาจารย์แต่ละคนมีความถนัดในการสอนอย่างน้อย 3 วิชา 3. มีตำราหรือเอกสารประกอบการสอนเพียงพอ 4. มีห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ขนาด 2 เท่ากันของห้องเรียน อย่างน้อย 1 ห้อง 5. อาจารย์มีเวลาเพียงพอสำหรับการปฏิบัติการสอนและนิเทศการสอน 6. คัดเลือกนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ โดยมุ่งเน้นให้มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพียงพอ 7. อาจารย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีพฤติกรรมการสอนดี อย่างน้อยระดับ 4 จากสเกล 5 โดยพิจารณาจาก 7.1 การกำหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชา 7.2 วิธีสอน อุปกรณ์และเอกสารตำรา 7.3 กิจการและการประเมินผล 8. อาจารย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จัดกิจกรรมการสอนและกิจการรมเสริมด้านคณิตศาสตร์ โดยมุ่งเน้นพฤติกรรมต่อไปนี้อย่างน้อยระดับ 4 จากสเกล 5 8.1 ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 8.2 เน้นการจัดระเบียบวิธีการคิดอย่างเป็นระเบียบมีเหตุผล 9. นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมวิชาด้านคณิตศาสตร์ และทำแบบฝึกหัดสม่ำเสมอ 10. จัดให้อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ได้พัฒนาความรู้ให้ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการตามความจำเป็นของภาควิชา 11. มีเอกสารที่ชี้บ่งถึงการเตรียมการและการปรับปรุงงานด้านการนิเทศการสอนคณิตศาสตร์อย่างดี 12. นักศึกวิชาเอกคณิตศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในเกณฑ์ที่ระดับ 4 จากสเกล 5 โดย พิจารณาจาก 12.1 ใฝ่ใจศึกษาความรู้ด้วยตนเองอยู่เสมอ 12.2 มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล 12.3 มีความรับผิดชอบ 13. นักศึกษาเก่านำความรู้และวิธีการทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในหน้าที่การงาน หรือศึกษาต่อได้เป็นอย่างดี 14. นักศึกษาเก่ามีความกระตือรือร้นและใฝ่ใจศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อพัฒนางานที่ปฏิบัติให้ดีขึ้นอยู่เสมอ 15. นักศึกษาเก่ามีผลสัมฤทธิ์ของงานที่ทำหรือศึกษาต่ออยู่ในระดับดี ข. เกณฑ์ด้านการวิจัยและผลิตเอกสารตำรา 1. มีข้อชี้บ่งปัญหาและความต้องการให้ปฏิบัติงานวิจัยและผลิตเอกสารตำรา 2. อาจารย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และกระตือรือร้นอยู่เสมอ 3. มีแหล่งความรู้สำหรับค้นคว้าเอกสารตำรา หรือผลงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ที่ทันสมัยเพียงพอ 4. มีงบประมาณและเวลาเพียงพอ 5. มีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อมตามความจำเป็น 6. มีระบบการเสริมแรงที่ดี 7. มีการจัดโปรแกรมพัฒนาความสามารถบุคลากรด้านการวิจัยหรือผลิตเอกสารตำรา 8. กำหนดนโยบายมุ่งเน้นตั้งแต่ระดับกรมการฝึกหัดครู วิทยาลัยครูและคณะวิชาให้ภาควิชามีผลงานวิจัยและผลิตเอกสารตำราออกมาทุกปี 9. ผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานสนับสนุนให้อาจารย์ทุกคนในภาควิชามีผลงานวิจัยและ/หรือผลิตเอกสารตำรา อย่างต่อเนื่องทุกปี 10. จัดให้อาจารย์ที่มี่โครงการวิจัยพร้อมผลิตเอกสารตำรา มีเวลาว่างและแหล่งงบประมาณพอที่ดำเนินงานได้ 11. ภาควิชามีผลงานวิจัยและ/หรือผลิตเอกสารตำราที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในวงการคณิตศาสตร์ทั้งในลักษณะรายบุคคลและคณะบุคคลอออกมาต่อเนื่องทุกปี 12. อาจารย์แต่ละคนมีผลงานผลิตเอกสารคำสอนสำหรับ 1 รายวิชาหรือผลงานวิชาการเทียบเท่าที่มีคุณภาพดี อย่างน้อยระดับ 4 จากสเกล 5 ปีละ 1 เล่ม เป็นอย่างต่ำ ค. เกณฑ์ด้านการบริการวิชาการและฝึกอบรม 1. มีข้อมูลที่ชี้บ่งความต้องการให้ปฏิบัติงานบริการวิชาการและการฝึกอบรมชัดเจน 2. อาจารย์มีความรู้ความสามารถและทักษะเฉพาะในสาขาที่ให้บริการวิชาเป็นอย่างดีอย่างน้อยระดับ 4 จากสเกล 5 สาขาละ 1 คนเป็นอย่างน้อยเช่น 2.1 สาขาสอนและผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถม 2.2 สาขาคอมพิวเตอร์ 3. คณาจารย์ในภาควิชามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการกระตือรือร้นอยู่เสมอ 4. มีสิ่งสนับสนุนและเอื้ออำนวยความสะดวกตามความจำเป็น 5. มีเครื่องมือ สื่อการสอนและอุปกรณ์ตามความจำเป็น 6. จัดให้อาจารย์ในภาควิชาได้พัฒนาความสามารถด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ 7. มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบระบบการให้บริการวิชาการของภาควิชาโดยทั่วกัน 8. ประสานงานกับหน่วยงานผู้ใช้ครูและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อวางโครงการให้การอบรมและดำเนินการตามแผนที่กำหนด 9. มีการประเมินผลและติดตามผลโครงการทุกครั้ง 10. มีการดำเนินโครงการบริการวิชาและฝึกอบรม ต่อเนื่องทุกปี 10.1 จัดนิทรรศการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 10.2 อบรมวิธีสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมและมัธยมอย่างน้อย 2 ครั้ง 11. ผลสัมฤทธิ์ของโครงการให้บริการวิชาการและฝึกอบรมอยู่ในเกณฑ์ 11.1 ผู้รับบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เห็นว่าบริการวิชาการที่ได้รับสอดคล้องกับความต้องการที่จำนำไปใช้จริงที่ระดับ 4 จากสเกล 5 11.2 ผู้รับบริการวิชาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของการให้บริการวิชาการที่ระดับ 4 จากสเกล 5 ง. เกณฑ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1. มีข้อมูลที่บ่งความต้องการให้ปฏิบัติงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาควิชาคณิตศาสตร์ 2. มีแหล่งข้อมูลและเอกสารค้นคว้าเพียงพอ 3. มีงบประมาณและเวลาเพียงพอ 4. มีระบบการเสริมแรงที่ดี 5. ส่งเสริมคณาจารย์ที่มีความคิดสร้างสรรค์งานด้านศิลปวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์ให้สามารถทำงานได้ 6. จัดให้มีการเผยแพร่ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์แก่ชุมชน 7. ปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาตามโอกาสที่เหมาะสม 8. ให้ความร่วมมือกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในส่วนที่เป็นความรับผิดชอบของภาควิชาคณิตศาสตร์ต่อวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง จ. เกณฑ์ด้านการบริหารทั่วไป 1 หัวหน้าภาควิชามีคุณลักษณะที่ดีอย่างน้อยระดับ 4 จากสเกล 5 โดยพิจารณาจาก 1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการ 1.2 มีหลักการในการทำงาน 1.3 มีความสามารถในการประสานงาน ตัดสินใจและแก้ปัญหา 1.4 มีความตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวมและอุทิศเวลารับผิดชอบงานของภาควิชาได้ 1.5 เป็นที่ศรัทธา ไว้วางใจและยอมรับของอาจารย์ในภาควิชาและผู้บริหารทุกระดับ 2. อาจารย์ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของภาควิชา โดยร่วมมือกันวางแผนและดำเนินการตามแผน 3. มีการประชุมภาควิชาอย่างเป็นทางการอย่างน้อยเดือนละครั้ง 4. มีการติดตาม กำกับและประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานตามแผนหรือโครงการอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ด้วนเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ยอมรับร่วมกัน 5. วิทยาลัยมีกระบวนการบริหารที่สนับสนุนและเอื้ออำนวยความสะดวกการทำงานของภาควิชาเป็นอย่างดีที่ระดับ 4 จากสเกล 5 โดยพิจารณาจาก 5.1 ขวัญและกำลังใจอาจารย์ 5.2 การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี 6. ภาควิชามีผลงานเป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำของภารกิจหลักแต่ละด้าน 7. มีการปฏิบัติงานเป็นไปตามเกณฑ์การปฏิบัติภารกิจแต่ละด้านอย่างน้อย ร้อยละ 80 8. ใช้ทรัพยากรที่จัดสรรให้อย่างคุ้มค่า อย่างน้อยร้อยละ 80 9. ผู้รับผิดชอบงานบริหารตำแหน่งต่างๆ ปฏิบัติงานบรรลุผลดีอย่างน้อยระดับ 4 จากสเกล 5
Other Abstract: The purpose of this study was to develop evaluative criteria for functions of mathematics departments in teachers' colleges. The study was divided into two parts. The first part involved the development of evaluative criteria by analyzing tasks of mathematics departments, studying related materials and research reports, and interviewing 29 experts, according to guidelines set for efficient mathematics departments. From these three sources of information, evaluative criteria were devised by using the Delphi Technique. The second part of the study involved the implementation of the criteria. Two mathematics departments were selected as samples to test the criteria for feasibility, propriety, utility, and accuracy, as well as to reveal some insights for the development of the criteria. Results of the study indicate significant evaluative criteria for functions of mathematics departments, are as follow: A. Teaching and supervising student-teaching. 1. To have sufficient instructors with master's degrees or with adequate experience in a certain area, including: 1.1 2 mathematicians. 1.2 2 instructors of mathematics teaching. 1.3 1 statistician 1.4 1 computer expert. 2. To ensure that each instructor can teach at least three mathematics courses effectively. 3. To have sufficient text and teaching materials. 4. To have at least one mathematics laboratory which is twice as large as a classroom. 5. To ensure that instructors have enough time to work in the laboratory, teach-, and supervise student-teaching. 6. To select mathematics major students who have sufficient basic background in mathematics. 7. To ensure that at least 80% of the instructors have good enough teaching skills to get 4 or more points on a scale of 5, determined by: 7.1 Instructional goals and content. 7.2 Method of teaching, teaching aids, teaching materials and text. 7.3 Activities and evaluation. 8. To require that at least 80% of the instructors provide students some teaching activities and supplementary activities in the field of mathematics. Those activities should focus on the following behavior and gain at least 4 from a scale of 5. 8.1 To encourage students to solve the problems by themselves. 8.2 To emphasize the organization of the systematic and logical thinking process. 9. To require that students attend academic mathe¬matics activities and do their exercises regularly. 10. To provide the mathematics instructors with some mathematics programs to develop their knowledge in their academic field as necessary. 11. To have supervisory materials to demonstrate good preparation of mathematics materials for the development of student-teaching tasks. 12. To verify that at least 80% of the mathematics students who graduate each year have positive characters, getting 4 out of 5 points on a scale of 5, for: 12.1 Acquiring further knowledge by himself. 12.2 Being able to think logically. 12.3 Having a high level of responsibility. 13. To check that former students apply their knowledge of mathematic techniques gained from college in their jobs or further studies. 14. To encourage former students to always actively seek for further knowledge to develop their job skills. 15. To encourage former students to make accomplish¬ments in their jobs or study for higher degrees. B. Research studies and the production of teaching materials and texts. 1. To have information about the problems and needs to conduct research studies, or about materials and texts. 2. To make sure that instructors are always creative and active. 3. To have up-dated educational resources for those who want search for materials, texts, or research studies in mathematics. 4. To provide sufficient budget and time. 5. To have necessary facilities available. 6. To have a good system of reinforcement. 7. To set up a program to develop the abilities of the personnel in the areas of research or materials and text preparation. 8. To set up a policy among faculty in the teacher training departments of teachers' college to encourage a department for conducting research studies, and preparing materials and texts, every year. 9. To have authorities and colleagues encourage every instructor in a department to conduct a research study, and prepare materials and texts every year. 10. To give enough time and budget to instructors who plan to conduct research studies, or prepare materials and text. 11. To have the department publish a yearly research study, or materials and text, which has been prepared by an individual or a group of instructors, and which has the approval of other mathematicians, 12. To require each instructor to produce at least one teaching material for one course or an equivalent academic project, each year rated at least 4 on a scale of 5. C. Academic services and in-service training 1. Have certain information about the needs to provide academic services and in-service training. 2. Make sure the instructors have special know¬ledge and skill in the field of their service, rated at least 4 on a scale of 5. There should be at least one instructor for each field. For example: 2.1 In the field of teaching mathematics and producing teaching aids for the elementary school level. 2.2 In the field of computer science. 3. To ensure that the instructors in the depart¬ments are always creative and active. 4. Have supplements and facilities available as needed. 5. Provide teaching aids as necessary. 6. Provide the instructors in the departments some programs to develop their applied mathematics knowledge. 7. Publicize the academic services of the departments. 8. Cooperate with other schools in the area and other related departments in order to plan and carry out in-service training according to the plan. 9. Evaluate and follow-up every project. 10. Conduct annual academic services or in-service training programs. 10.1 Sponsor an exhibition at least once a year. 10.2 Conduct in-service training in mathematics for elementary and secondary school levels at least twice a year. 11. Maintain a high standard of accomplishment in academic services and in-service programs. 11.1 Verify that at least 80% of the partici¬pants agree that what they gain from the academic service relates to their needs, based on a score of 4 on a 5 point scale. 11.2 Make sure that at least 80% of the participants reach their goals from the academic service, based on a score of 4 on a 5 point scale. D. Preservation of the culture 1. Have information indicating the need to preserve culture in mathematics. 2. Have sufficient information and resource materials. 3. Have sufficient funds and time. 4. Have a good system of reinforcement. 5. Support instructors who show a desire to preserve culture in mathematics so that they are able to achieve their goals. 6. Make the public aware of cultural activities relating to mathematics. 7. Establish satisfactory cultural characteristics in students when it is appropriate. 8. Always cooperate with the college and other related departments to preserve culture in mathematics. E. General administration 1. The head of the department should have good characteristics, rated at least 4 on a scale of 5, determined from: 1.1 His academic creativity in his work. 1.2 The principles of work which he sets. 1.3 His ability to cooperate, make decisions, and solve problems. 1.4 His intention to work for the department and his devotion of time to his responsibility to the duties of the department. 1.5 The trust and acceptance he recieves from all instructors in the department and the authorities. 2. Evidence that every instructor shares the responsibility to run the department by helping one another plan and carry out the work. 3. His practice of conducting a formal meeting in the department at least once a month. 4. Having a successive system of monitoring and evaluating to develop the work along the planned program by using acceptable criteria or standards. 5. The college has a good administrative process to support and facilitate the work of the department determined by: 5.1 Morale of the instructors. 5.2 The encouragement of the use of innovations and technology. 6. The department has sponsored a number of activities according to criteria set for main functions. 7. The department carries the task out along the criteria of each function (at least 80% rating). 8. Reasonable use of at least 80% of the given resources. 9. Evidence that each administrative member performs his task well (at least 4 points on a scale of 5).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18286
ISBN: 9745649309
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chartnapa_Pr_front.pdf449.25 kBAdobe PDFView/Open
Chartnapa_Pr_ch1.pdf459.15 kBAdobe PDFView/Open
Chartnapa_Pr_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Chartnapa_Pr_ch3.pdf404.4 kBAdobe PDFView/Open
Chartnapa_Pr_ch4.pdf817.38 kBAdobe PDFView/Open
Chartnapa_Pr_ch5.pdf842.18 kBAdobe PDFView/Open
Chartnapa_Pr_back.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.