Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18419
Title: การกักเก็บน้ำมันตะไคร้ด้วยไซโคลเด็กซ์ตรินโดยวิธีการอบแห้งแบบพ่นฝอย
Other Titles: Encapsulation of lemongrass oil with cyclodextrins by spray drying
Authors: ศรัญญา พันปี
Advisors: อภินันท์ สุทธิธารธวัช
อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: น้ำมันตะไคร้
การอบแห้งแบบพ่นกระจาย
ไซโคลเดกซตริน
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในครัวไทย ปัจจุบันสารสกัดน้ำมันตะไคร้ได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยา เนื่องจากซิตรัลซึ่งเป็นสารสำคัญหลักในน้ำมันตะไคร้พบว่าเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งซิตรัลสามารถเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันจากความร้อน แสง และออกซิเจนได้ง่าย จึงเป็นข้อจำกัดการใช้งานของน้ำมันตะไคร้ โดยน้ำมันตะไคร้จะสูญเสียสมบัติทางชีวภาพไปจากเดิม ดังนั้นกระบวนการไมโครเอนแคปซูเลชันจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการเพิ่มความคงทนของน้ำมันตะไคร้ ในงานวิจัยนี้ศึกษาการกักเก็บน้ำมันตะไคร้ด้วยไซโคลเด็กซ์ตรินโดยวิธีการอบแห้งแบบพ่นฝอย โดยวัตถุประสงค์ของงานวิจัยต้องการศึกษาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ชนิดของไซโคลเด็กซ์ตรินและอัตราส่วนโดยโมลของน้ำมันตะไคร้ต่อไซโคลเด็กซ์ตริน ที่มีผลต่อการกักเก็บน้ำมันตะไคร้ระหว่างกระบวนการอบแห้งแบบพ่นฝอย จากการศึกษาพบว่า เบต้าไซโครเด็กซ์ตรินให้ค่าการกักเก็บของ E-citral และแอลฟาไซโคลเด็กซ์ตรินให้ค่าการกักเก็บของ Z-citral ดีที่สุด ที่อัตราส่วนโดยโมลของซิตรัลต่อไซโคลเด็กซ์ตริน 1:1 และลักษณะโครงสร้างของผงแห้งน้ำมันตะไคร้ที่เตรียมจากการใช้แอลฟาไซโคลเด็กซ์ตรินและแกมมาไซไคลเด็กซ์ตรินเป็นสารห่อหุ้ม พบว่ามีลักษณะเป็นอนุภาคทรงกลม ผิวด้านนอกขรุขระ ในขณะที่ผงแห้งน้ำมันตะไคร้ที่ใช้เบต้าไซโคลเด็กซ์ตรินเป็นสารห่อหุ้ม มีลักษณะเป็นโครงสร้างผลึก ส่วนการเติมมอลโตเด็กซ์ตรินลงในสารประกอบเชิงซ้อนต่อประสิทธิภาพการกักเก็บซิตรัลในผงแห้ง พบว่าเมื่อปริมาณมอลโตเด็กซ์ตรินเพิ่มขึ้น การกักเก็บของซิตรัลในผงแห้งมีค่าลดลง นอกจากนี้แล้วผงแห้งน้ำมันตะไคร้ได้ถูกศึกษาการปลดปล่อยของซิตรัลจากโพรงของไซโคลเด็กซ์ตรินด้วย พบว่าซิตรัลถูกปลดปล่อยจากโพรงของเบต้าไซโคลเด็กซ์ตรินได้น้อยกว่าแกมมาไซโคลเด็กซ์ตรินและแอลฟาไซโคลเด็กซ์ตริน ซึ่งการปลดปล่อยของซิตรัลจากโพรงของไซโคลเด็กซ์ตริน ถูกกำหนดด้วยการแพร่ผ่านของสาร
Other Abstract: Lemongrass (Cymbopogon ciatrus) is widely used as a herb in Thai cuisine for a long time. Nowadays, the lemongrass oil has been applied and used as a medicine due to citral, major component, has a reported antimicrobial activity. But citral had limited biological properties by oxidation of heat, light and oxygen. Therefore, encapsulation process is the way for enhancing their stability and releasing control. In this study, encapsulation of lemongrass oil with cyclodextrins (CD) was investigated by spray drying. The effect of type of cyclodextrin and the citral:CD molar ratio on total oil retention were studied during spray drying process. The results showed that β-CD and α-CD demonstrate the best encapsulation efficiency of E-citral and Z-citral, respectively, all of them showed the maximum total citral retention at the citral:CDs molar ratio 1:1. The morphology of powders appeared spherical shape with roughness for α-CD and γ-CD whereas β-CD presented crystallite. In addition, maltodextrin was added in inclusion complexes for helpful encapsulation efficiency. The results showed that the total oil retention was not increased with increasing MD. Furthermore, the release characteristics of spray dried powders were studied. The results suggest that β- CD complex had a lower releases rate than those for γ-CD complex and α-CD complex. The release of included citral in the complexes corresponded to the limited diffusion kinetics system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18419
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.596
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.596
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarunya_ph.pdf8.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.