Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18461
Title: การทดลองกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับผลของการช่วยตนเองไม่ได้ ที่เกิดจากการเรียนรู้ที่มีต่อความมั่นใจในการทำงานและผลงานในภายหลัง
Other Titles: An experiment with university students concerning the effects of learned helplessness on subsequent performance confidence and actual performance
Authors: นภาพร จึงพัฒนาปรีชา
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การเรียนรู้ (จิตวิทยา)
นักศึกษา -- วิจัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการช่วยตนเองไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้จากการจัดสภาพการณ์ประสบความสำเร็จเมื่อตอบถูก ประสบความล้มเหลวเสมอไม่ว่าจะตอบอย่างไรก็ตาม ประสบความสำเร็จเสมอไม่ว่าจะตอบอย่างไรก็ตามและสภาพการณ์ควบคุม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ปทุมวัน กลุ่มละ 20 คนจำนวน 4 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 80 คนที่ได้มาโดยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองในช่วงแรกคือแบบทดสอบสมมุติฐานของลีไวน์ แล้วให้ผู้ร่วมทดลองประเมินความมั่นใจในการทำงานในช่วงหลังของการทดลอง จากนั้นในช่วงหลังของการทดลองก็ให้ผู้ร่วมการทดลองตอบแบบทดสอบโปรเกรสซีพแมทรีซิส ฉบับมาตรฐานชุด D และ E สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยนเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ โดนผู้วิจัยตั้งสมมุติฐานว่า 1.กลุ่มที่ประสบความสำเร็จเมื่อตอบถูก กลุ่มที่ประสบความสำเร็จเสมอไม่ว่าจะตอบอย่างไรก็ตามและกลุ่มควบคุมที่มีความมั่นใจในการทำงานภายหลังของการทดลองสูงกว่ากลุ่มที่ประสบความล้มเหลวเสมอไม่ว่าจะตอบอย่างไรก็ตาม 2.กลุ่มที่ประสบความสำเร็จเมื่อตอบถูก กลุ่มที่ประสบความสำเร็จเสมอไม่ว่าจะตอบอย่างไรก็ตามและกลุ่มควบคุมได้คะแนนแบบทดสอบโปรเกรสซีพแมทรีซีสสูงกว่ากลุ่มที่ประสบความล้มเหลวเสมอไม่ว่าจะตอบอย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยปรากฏว่าสนับสนุนสมมุติฐานทั้ง 2 ข้อดังกล่าวที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001)
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of learned helplessness under four conditions, namely contingent group and control group, noncontingent failure group, noncontingent success group and control group. The subjects were first year female university students from the University of Srinakharinwirot Pathumwan. Eighty subjects were randomly assigned into four groups. The Levine discrimination hypothesis testing was used as the training task. After the training task the subjects were asked to estimate their confidence in performing the subsequent task. Then the subjects were asked to work on the Standard Progressive Matrices, Set D and Set E. One-way Analysis of Variance and Scheffe’s Multiple Comparisons were utilized to test the following hypotheses. 1. The contingent group, the noncontingent success group, and the control group had significantly higher performance confidence in performing the task during the test task than the noncontingent failure group. 2. The contingent group, the noncontingent success group, and the control group gained higher scores in the Standard Progressive Matrices Set D and E than the noncontingent failure group in the test task. The research results supported these two hypotheses of the experiment (P<.001)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18461
ISBN: 9745634697
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Napaporn_Ji_front.pdf317.04 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_Ji_ch1.pdf745.51 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_Ji_ch2.pdf304.9 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_Ji_ch3.pdf301.69 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_Ji_ch4.pdf309.55 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_Ji_ch5.pdf250.54 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_Ji_back.pdf366.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.