Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1870
Title: ความสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนีมวลกาย การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง
Other Titles: Relationships between body mass index, daily-living practice, health care access, social support, and health status and blood sugar level in type 2 diabetes pat
Authors: สมคิด สีหสิทธิ์, 2501-
Advisors: สุรีพร ธนศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ดัชนีมวลกาย
เบาหวาน--ผู้ป่วย
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
การสนับสนุนทางสังคม
น้ำตาลในเลือด
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนีมวลกาย การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองวัยผู้ใหญ่ ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 60 ราย และโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 50 ราย รวมเป็น 110 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินภาวะสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .65 .77 .91 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้ป่วยเบาหวานรับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพอยู่ในระดับดี (X=126.19) ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ปกติ (X=8.56) โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 79.1 มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ (HbA[subscript 1C]less or equal than 7) มีเพียงร้อยละ 20.9 ที่ระดับ น้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (HbA[subscript 1C]less or equal than 7) 3. การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันด้านการควบคุมอาหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุภาพของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r=.539, r=.480 และ r=.201 ตามลำดับ) ในขณะที่ดัชนีมวลกายและการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4. การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน ด้านการรับประทานยามีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r=-.208) ในขณะที่ดัชนีมวลกาย การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
Other Abstract: The purposes of this research were to study health status and blood sugar level, and to examine relationships between body mass index, daily-living practice, health care access, social support, and health status and blood sugar level of diabetes patients. Participants were 110 diabetes patients including 60 patients form Rajavithi Hospital, and 50 patients form Ramathibodi Hospital. Data were collected by using Daily-living Practice, Health Care Access, Social Support and, Health Status Questionnaires. All Questionnaires were tested for content validity by 5 panel of experts, and tested for reliability with Alpha Cronbach coefficients of .65, .77, .91, and .81 respectively. Study data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and Pearson's product moment correlation. Major findings were as follows:1. Health status of diabetes patients was at good level (X =126.19). 2. Blood sugar level of diabetes patients was higher than normal range (X=8.56). There were 79.1% of patients had higher blood sugar level than normal standard (HbA[subscript 1C]less or equal than 7) while only 20.9% of patients had normal standard of blood sugar level (HbA[subscript 1C]less or equal than 7). 3. Health care access, social support and diet control (a subscale of daily-living practice) had positively and significantly relationships to health status (r= .539, r= .480, and r= .201, p<.05). Body mass index and overall daily-living practice were not associated with health status of diabetes patients. 4. Taking oral glycemic drugs (a subscale of daily-living practice) had negatively and significantly relationship to blood sugar level (r= -.208, p<.05) whereas overall daily-living practice, body mass index, health care access, and social support were not associated with blood sugar level of diabetes patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1870
ISBN: 9741734247
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkid.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.