Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18999
Title: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการใช้กับไม่ใช้แผ่นโปร่งใสประกอบการสอน |
Other Titles: | Comparison of achievement of upper secondary students in learning the use of books and libraries with and without transparencies |
Authors: | สุชาดา อมรพิเชษฐ์กุล |
Advisors: | สำเภา วรางกูร สุภาพ วาดเขียน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล [email protected] |
Subjects: | บรรณารักษศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน การสอนด้วยสื่อ |
Issue Date: | 2522 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแผ่นโปร่งแสงประกอบการสอนวิชาการใช้ห้องสมุดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเรื่อง เลขหมู่หนังสือและการเรียงหนังสือบนชั้นและเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการใช้กับไม่ใช้แผ่นโปร่งแสงประกอบการสอนวิชาการใช้ห้องสมุด เรื่อง เลขหมู่หนังสือและการเรียงหนังสือบนชั้นเมื่อเรียนจบบทเรียนและเมื่อเรียนผ่านไปแล้วหนึ่งเดือน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ โรงเรียนวัดบวรมงคล ปีการศึกษา 2522 จำนวน 60 คน โดยการพิจารณาจากคะแนนสอบไล่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม จัดเรียงลำดับคะแนนแล้วแยกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เพื่อให้ค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของคะแนนใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผ่นโปร่งแสงที่ผู้วิจัยได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยการเขียนเป็นรูปสีและข้อความประกอบรูปจำนวน 25 แผ่นและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ กลุ่มทดลองกำหนดให้เรียนโดยการใช้แผ่นโปร่งแสงประกอบการสอน ส่วนกลุ่มควบคุมให้เรียนโดยใช้แผนภูมิประกอบการสอน การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นและได้หาความเที่ยงตรงและหาความเชื่อถือได้ก่อนที่จะใช้ทดสอบจริง ในการสอนแต่ละครั้งผู้วิจัยได้ให้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนและให้ทำแบบทดสอบเพื่อวัดความจำหลังจากเรียนไปแล้วหนึ่งเดือน การทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของคะแนนใช้การทดสอบคะแนน คะแนนที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. แผ่นโปร่งแสงที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดีคือ มีประสิทธิภาพร้อยละ 89 2. การเรียนโดยการใช้กับไม่ใช้แผ่นโปร่งแสงประกอบการสอนทำให้นักเรียนเรียนรู้มากขึ้นกว่าเดิม กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. การใช้แผ่นโปร่งแสงประกอบการสอนให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสูงกว่าการไม่ใช้แผ่นโปร่งแสงประกอบการสอน กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. การเรียนโดยการใช้กับไม่ใช้แผ่นโปร่งแสงประกอบการสอนทำให้ความจำหลังเรียนแล้วหนึ่งเดือนของผู้เรียนคงเดิม กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนใหม่ ๆ และหลังเรียนหนึ่งเดือนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่การเรียนโดยการใช้แผ่นโปร่งแสงประกอบการสอนยังคงให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสูงกว่าการเรียนโดยไม่ใช้แผ่นโปร่งแสงประกอบการสอน กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนหนึ่งเดือนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยคือ ควรจะได้มีการจัดทำแผ่นโปร่งแสงและนำไปใช้ประกอบการสอนวิชาการใช้ห้องสมุดในเรื่องอื่น ๆ โดยคำนึงถึงเนื้อเรื่องและเวลาที่ใช้ในการสอนแต่ละเรื่องด้วย |
Other Abstract: | The purpose of this study were twofold : to construct a set of transparencies, specially focusing on the curriculum areas of classification numbers, call numbers and book-shelving in the use of books and libraries course of upper secondary students; and to compare the achievement and retention of upper secondary students in learning the use of books and libraries with and without transparencies that specially constructed in the curriculum areas cited above. The population used for research consisted of sixty students in Matayom Suksa IV in the Wat Bavornmongkol School, who were in attendance during the first semester of the 1979 academic year. Selection of the population was decided by the final scores in Matayom Suksa III. The scores were stratified and selected into two groups, the experimental and control groups with thirty students in each group. Thus the arithmetic means and variances of both groups were similar. Research tool used were 25 handmade transparencies composed of pictures and captions and a set of achievement tests composed of 40 items. The experimental group was taught by lecture method accompanied by specially prepared transparencies; while the control group was taught by lecture method accompanied by charts. Two tests used to measure achievements were constructed and taken on trials to assure validity and reliability before the experiment was conducted. Pre-tests and post-tests were given to the experimental and control groups, and retention tests were given to both groups four weeks after the immediate performance. Determination of the significant differences of the arithmetic means was done by the t-test at the .05 level. The conclusions are: 1. The effectiveness of transparencies as evaluated by the experts was in good level (89.00 percent). 2. Learning with and without transparencies effected both experimental and control groups on more knowledge gained, for the arithmetic means of the pre-test and post-test scores of both groups were significant differences at the .05 level. 3. Learning with transparencies heightened the achievement capacity more than learning without transparencies, for there were significant differences at the .05 level between the post-test scores of the experimental and control groups. 4. Learning with and without transparencies did not effect higher retention in one month, for there were no significance differences at the .05 level between the post-test scores and retention scores of both the experimental and control groups, but learning with transparencies still effected higher achievement for there were significant differences at the .05 level between the retention test scores of the experimental and control groups. The recommendation is that transparencies should be constructed and utilized in other areas of the course on instruction of library use, taking into considerations the appropriate contents and time required for the application of each. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18999 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchada_Am_front.pdf | 527.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchada_Am_ch1.pdf | 558.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchada_Am_ch2.pdf | 917.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchada_Am_ch3.pdf | 399.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchada_Am_ch4.pdf | 401.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchada_Am_ch5.pdf | 347.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchada_Am_back.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.