Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19036
Title: | การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะระยะหย่านมถึงผสมครั้งแรกที่ลำดับครอกต่าง ๆ ในสุกร |
Other Titles: | Estimation of genetic parameters for weaning to first service interval at different papities in swine |
Authors: | เกียรติศักดิ์ เหล็งหนูดำ |
Advisors: | นลินี อิ่มบุญตา วิวัฒน์ ชวนะนิกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล [email protected], [email protected] |
Subjects: | สุกร -- การปรับปรุงพันธุ์ พันธุกรรม |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ข้อมูลของแม่สุกรพันธุ์แท้แลนด์เรซ (LR) ลาร์จไวท์ (LW) และแม่สุกรลูกผสม 50% แลนด์เรซ – 50% ลาร์จไวท์ (50LR) 50% ลาร์จไวท์ – 50% แลนด์เรซ (50LW) 75% แลนด์เรซ – 25 % ลาร์จไวท์ (75LR) และ 75% ลาร์จไวท์ – 25 % แลนด์เรซ (75LW) ของฟาร์มที่เลี้ยงสุกรแบบการค้าแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถูกนำมาใช้ประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะระยะหย่านมถึงผสมครั้งแรก (WSI) ในหกลำดับครอกแรก และวิเคราะห์ร่วมกับลักษณะอายุที่ผสมติดครั้งแรก (AFC) จำนวนลูกสุกรแรกเกิดทั้งหมด (TB) และจำนวนลูกสุกรแรกเกิดมีชีวิต (BA) จำนวนทั้งหมด 23,075 บันทึก จากแม่สุกรจำนวน 6,343 แม่ ที่คลอดลูกระหว่างปี พ.ศ. 2545 ถึง 2549 วิเคราะห์องค์ประกอบความแปรปรวนโดยวิธี Average Information Restricted Maximum Likelihood (AI-REML) ผลจากการศึกษาพบว่า ปี-เดือนที่หย่านม อายุที่คลอดลูกครั้งแรก (ลำดับครอกที่ 1) ช่วงห่างในการคลอดลูกมีอิทธิพลต่อ WSI ในลำดับครอกที่ 2 3 และ 5 และจำนวนลูกหย่านมมีอิทธิพลต่อ WSI ในลำดับครอกที่ 2 และ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และค่าอัตราพันธุกรรม (h2) ของ WSI มีค่าต่ำในทุกลำดับครอก ค่าอัตราพันธุกรรมมีค่าอยู่ในช่วง 0.09 ในลำดับครอกที่ 1 ถึง 0.02 ในลำดับครอกที่ 6 โดยที่ค่าอัตราพันธุกรรมของ WSI ในลำดับครอกที่ 1 มีค่าสูงสุด (0.09) ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม (rg) ระหว่าง WSI ในลำดับครอกที่1 ถึง 6 มีค่าอยู่ในช่วง 0.24 ถึง 0.88 ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่ประมาณได้ทุกค่ามีค่าต่างจาก 1 ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า ผลตอบสนองจากการคัดเลือกลักษณะ WSI คาดว่าจะเกิดขึ้นสูงสุดในลำดับครอกที่ 1 และควรพิจารณาให้ WSI ที่มาจากต่างลำดับครอกเป็นคนละลักษณะกันเพื่อให้ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมมีความแม่นยำยิ่งขึ้น ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในการให้ผลผลิตครั้งแรกระหว่าง AFC กับ TB BA และ WSI เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ มีค่าเท่ากับ -0.47, -0.72 และ 0.61 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง TB และ WSI เป็นไปในทิศทางที่ไม่พึงประสงค์ แต่มีขนาดความสัมพันธ์ต่ำ และสามารถสรุปได้ว่าถ้าทำการคัดเลือกเพื่อลด AFC จะทำให้ TB BA เพิ่มขึ้น และ WSI ลดลงในลำดับครอกที่ 1 และถ้าคัดเลือก TB ให้เพิ่มขึ้น จะทำให้ WSI เพิ่มขึ้นเล็กน้อย |
Other Abstract: | Data of purebred Landrace (LR), Large White (LW) and crossbred 50% Landrace – 50% Large White (50LR), 50% Large White – 50% Landrace (50LW), 75% Landrace – 25 % Large White (75LR) and 75% Large White – 25 % Landrace (75LW) sows of a commercial farm in the northeastern part of Thailand were used to estimate genetic parameters for weaning to first service interval (WSI) of the first six parities. WSI was analysed together with age at first conception (AFC) total number of piglets born (TB) and number of piglets born alive (BA). The data comprised of 23,075 records form 6,343 sows that farrowed between 2002 and 2006. The variance components were estimated by Average Information Restricted Maximum Likelihood (AI-REML) procedure. The results showed that year – month at weaning, age at first farrowing (1st parity), farrowing interval (2nd 3thand 5th parity) and number of pigs weaned (2nd and 6th parity) significantly influenced WSI (p < 0.05). Estimates of heritability were low for WSI in all parities. Heritabilities of WSI ranged from 0.09 in the first parity to 0.02 in the sixth parity. The highest heritability was found in the first parity (0.09). Estimates of genetic correlation among WSI in different parities ranged from 0.24 to 0.88. These estimates were different from 1. Results from this study suggested that the greatest response can be expected in the first parity. WSI from different parities should be considered as different traits in order to increase accuracy of the estimates. At first parity AFC was genetically correlated favorably with TB (-0.47), BA (-0.72) and WSI (0.61). Genetic correlation between TB and WSI was unfavorable, however, a low genetic correlation was obtained. It was concluded that selection for low AFC will increase TB, BA and decrease WSI. Selection for increase TB will slightly increase WSI. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19036 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.489 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.489 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kiettisak_hi.pdf | 2.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.