Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19135
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสรี พงศ์พิศ | - |
dc.contributor.advisor | มารค ตามไท | - |
dc.contributor.author | สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-04-17T09:52:20Z | - |
dc.date.available | 2012-04-17T09:52:20Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745664162 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19135 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาทางศาสนาในมิติที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องการใช้ภาษาศาสนา โดยอาศัยแนวความคิดเรื่องเกมภาษาของวิตเกนสไตน์เป็นกรอบในการพิจารณา และอาศัยตัวอย่างการใช้ภาษาศาสนาของสำนักสันติอโศก หรือกลุ่มชาวอโศกเป็นตัวแบบของการศึกษาวิจัยวิธีการศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้อาศัยทั้งการวิจัยจากเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม ซึ่งใช้วิธีการทางมนุษย์วิทยาโดยเข้าไปสังเกตการณ์ ร่วมในกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ ตลอดจนทดลองใช้ชีวิตตามแบบวิถีชีวิตทางศาสนาของกลุ่มชาวอโศกจากการศึกษาพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องปัญหาการใช้ภาษาศาสนาในบทที่ ๒ ช่วยให้เข้าใจถึงประเด็นปัญหาที่ถกเถียงกันในหมู่นักปรัชญาทางตะวันตก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเด็นปัญหาการใช้ภาษาศาสนาที่เกิดขึ้นกับพุทธศาสนาแล้ว พบว่ามีพื้นฐานคล้ายคลึงกันกล่าวคือ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดการรับเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นแม่บทของความจริงและความมีเหตุผล ฐานะของศาสนาภายใต้วิธีคิดแบบนี้ จึงตกต่ำลงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กิจกรรมที่นักการศาสนาทั้งทางตะวันตกและตะวันออกพยายามกระทำ จึงอยู่ที่ความพยายามหาทางอธิบายคำสอนทางศาสนาให้สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เห็นว่า คำสอนทางศาสนานั้นก็เป็นเรื่องที่มีความเป็นเหตุผล และเป็นความจริงที่น่าเชื่อถือเช่นเดียวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และจากการศึกษาแนวความคิดของวิตเกนสไตน์ในบทที่ ๓ ทำให้เห็นว่าความรู้ของมนุษย์นั้นอาจจำแนกออกได้เป็น ๓ ระดับ คือ ในระดับของประสาทสัมผัสที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง (Fact) ระดับของความนึกคิดที่สัมพันธ์กับภาษาอย่างแนบแน่นซึ่งเกี่ยวกับความจริง (Truth) และระดับของสัจจะความเป็นจริง (Reality) ที่อยู่เหนือความจริงในระดับของความนึกคิดอีกขั้นหนึ่ง สิ่งที่วิตเกนสไตน์ชี้ให้เห็นในความคิดช่อวงแรกก็คือ ความจริงที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ด้วยความคิดและพูดถึงได้ด้วยภาษานั้น เป็นแค่ความจริงในระดับที่ ๒ นี้เท่านั้น และจากความคิดช่วงหลังของวิตเกนสไตน์ ซึ่งเมื่อสังเคราะห์เข้ากับแนวความคิดเรื่องการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ( Paradigm Shift ) ของโทมัส คูน ก็ช่วยให้เข้าใจต่อไปว่า ความหมายของภาษาเป็นสิ่งที่ผังตัวอยู่ในมิติของกาล-อวกาศ ภายใต้แบบวิถีชีวิตและปริบทของเกมภาษาในกระบวนทัศน์หนึ่งๆ นั้น ด้วยเหตุนี้ความจริงในระดับที่มนุษย์เข้าใจกับทั่วไป จึงไม่ได้มีอยู่อย่างตายเป็นภววิสัย เพราะเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับมิติของกาล-อวกาศในแต่ละกระบวนทัศน์ด้วยในบทที่ ๔ เมื่อนำเอาความคิดเรื่องเกมภาษาของวิตเกนสไตน์มาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์ปัญหาภาษาศาสนาของสำนักสันติโศก ซึ่งเป็นกลุ่มชาวพุทธที่กำลังชาวพุทธที่กำลังมีความขัดแย้งกับชาวพุทธกลุ่มอื่นในพุทธศาสนากระแสหลัก แต่ก็สัญญาณหลายอย่างชี้ให้เห็นว่าการใช้ภาษาของชาวพุทธกลุ่มนี้เป็นประสบความสำเร็จในการสื่อความกับคนในสังคมปัจจุบัน พบว่า การอธิบายคำสอนทางพุทธศาสนาของชาวอโศกมีลักษณะเป็นกระบวนทัศน์หนึ่งของพุทธศาสนาด้วยเหตุนี้ ความขัดแย้งในมิติด้านการเข้าใจความหมายของภาษาศาสนาไม่ตรงกันจึงเกิดขึ้นเนื่องจากการมีการใช้ภาษาศาสนาชุดเดียวกับภายใต้ปริบทของเกมภาษา ในกระบวนทัศน์ที่แตดต่างกันในกรณีที่มีกระบวนทัศน์ของการอธิบายคำสอนทางพุทธศาสนาอย่างสมเหตุสมผลในตัวเองมากกว่าหนึ่งกระบวนทัศน์ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ถ้ามองในระดับของสัจจะความเป็นจริงแล้ว เราไม่มีทางจะหาเกณฑ์ใด ๆ มาตัดสินใจได้ว่า กระบวนทัศน์ใดถูต้องตรงตามเจตนารมณ์ที่พระพุทธองค์มุ่งหมายถึง เพราะเป็นความจริงที่อยู่พ้นกรอบของภาษาและความนึกคิด ซึ่งเราไม่อาจแสวงหาที่สุดของความรู้หรือความจริงในระดับนี้ได้ด้วยการแสวงหาที่สุดของคำตอบ แต่เราอาจมีทางประจักษ์ถึงที่สุดของความรู้หรือความจริงดังกล่าวได้ด้วยการแสวงหาที่สุดของคำถาม ความรู้หรือสัจจะความจริงในระดับนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้รู้แต่ละคนจะพึงประจักษ์แจ้งได้เฉพาะตน โดยไม่อาจถ่ายทอดให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยภาษาใดๆโดยตรงอย่างไรก็ตาม เนื่องจากความหมายของภาษาเป็นสิ่งที่ฝังตัวอยู่ภายใต้แบบวิถีชีวิตหนึ่งๆฉะนั้น เมื่อมองจากกรอบของความจริงในระดับที่สามารถพูดถึงได้ เราจึงพอจะหาข้อยุติของการถกเถียงในขอบเขตหนึ่งว่า กระบวนทัศน์ของการอธิบายพุทธศาสนาแบบใดถูกหรือผิดได้จากการเปรียบเทียบเคียงกับศีลหรือวินัยต่างๆ ที่สะท้อนถึงแบบวิถีชีวิตทางศาสนาอย่างเป็นรูปธรรม และมีข้อถกเถียงน้องที่สุดเท่าที่จะพึงเป็นไปได้ เพราะภายใต้และวิถีชีวิตทางศาสนาที่ใกล้เคียงกับแนวทางที่พระพุทธศาสนาที่วางอยู่บนพื้นฐานของแบบวิถีชีวิตดังกล่าว จะเป็นกระบวนทัศน์ที่มีความหมายใกล้เคียงกับเจตจำนงที่พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายด้วย จากสาเหตุนี้ศีลและวินัยต่างๆ ที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้น จึงมีความสำคัญสูงสุดในฐานะเป็นศาสดาของศาสนาแทนตัวพระองค์หลังจากที่ทรงปรินิพพานไปแล้วข้อสรุปของการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาที่เกิดจากปัญหาการเข้าใจภาษาศาสนาไม่ตรงกัน จึงอยู่ที่การหันกลับไปสู่การมีแบบวิถีชีวิตทางศาสนาตามที่ศาสดาของแต่ละศาสนามุ่งหมายถึง ซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่า การแสวงหากระบวนทัศน์ของการอธิบายคำสอนทางศาสนาที่กลับไปสู่การมีแก่นสารของแบบวิถีชีวิตดั้งเดิมทางศาสนา ซึ่งจะนำไปสู่การลดละความต้องการส่วนเกินของชีวิตมีความขยันขันแข็ง และมีจิตสำนึกที่เอื้ออาทรต่อชีวิตร่วมโลกอื่นๆ ที่ขาดแคลนกว่า ภายใต้กระบวนทัศน์ของการอธิบายคำสอนทางศาสนาเช่นนี้เท่านั้นที่จะเป็นหนทางทำให้คำสอนทางศาสนาคืนกลับสู่การมีบทบาทสำคัญต่อการแก้ปัญหาของมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง ดังเช่นที่ศาสนาต่างๆ เคยมีบทบาทอย่างสำคัญต่อประวัติอารยธรรมของมนุษย์ในอดีตมาแล้ว | - |
dc.description.abstractalternative | The objective of this thesis is to study a dimension of the problem in religion concerning the use of religious Language. This study employs Wittgenstein’s language-game concept as the framework of analysis. The use of language by Santi-Asoka or Chaw Asoka will be analyzed. This study make use of both survey literature and field study. The field study follows an anthropological approach by observing, participating and leading the form of Chaw Asoka. The analysis of basic problems in the use of language in religion in Chapter 2 shed some light on this debate among western philosophers. The use of language in Buddhism ex exhibits the same problem. The advancement in scientific knowledge has made science the master of truth and rationality. The status of religion, within this context, has deteriorated to its historical low level. Religions in both the East and West attempt to regain their status by explaining their teachings to fit the foundation of scientific knowledge. The attempt is to know that these teachings are rational and contain as much respectable truth as scientific knowledge. The discussion of Wittgenstein’s concept in Chapter 3 shows that there are three levels of knowledge, namely, fact ( that can be sensed ), truth ( that car be proven ) and reality (which is the existence of truth ). Wittgenstein pointed out that the level of knowledge that is accessible by thinking and referred to by language is only the second level. The later Wittgenstein thinking, when synthesized with the concept of paradigm shift proposed by Kuhn, suggests that the meaning of language is deeply rooted in the time and space dimension within the form of life and context of a language game in one paradigm. Therefore, the truth that we usually understand may not exist concretely. It only exists in the time and space dimension within one paradigm. In Chapter 4 , the language game is used as a framework to analyze the use of language by the Santi-Asoka School, a new Buddhist group that has conflict with main-stream Buddhist groups in Thailand. Some evidences suggest that the use of language by the Santi-Asoka School is successful in communicating with the common people. The explanation of Buddhism by the Asoka School can be characterized as existing within a paradigm. The conflict thus arises because because of the difference in the dimension of the language used. The same set of religious language has been used by the main – stream Buddhist in a different context of language game under a different paradigm. In such a case where there are more than one self-contained paradigms of explanation of Buddhist teaching, it is not possible to judge which paradigm is correct according to the objective of Buddha. The reality is above and beyond the frame of language and realm of rationality. The search for ultimate knowledge and reality cannot be satisfied by seeking an ultimate answer. The ultimate realization of knowledge or reality can be attained by seeking the ultimate of questioning. That level of knowledge can be achieved only by self realization and cannot be transferred to other by the use of language. Since language is also rooted within a “form of life” , at the level of truth that can be represented by language, we can find a resolution to the debate within a paradigm. For the teaching of Buddha, this problem can be solved by the comparison of each explanation with the “Sila” or “discipline” which reflects the concrete religious form of life. Therefore, “Slila” and discipline that Buddha created has the utmost important role as the “master” of the religion. It represents Buddha himself after his invariant . In conclusion, to solve the conflict in the religion arises from the problem of differences in understanding the religious language, one should go back to the “form of life” suggested by the prophet of each religion. I belief that the paradigm that explains the teaching of the prophet by resorting to the substance of the traditional “from of life” will point to the reduction of desire for the excess in life, and to the promotion of diligence and care for other beings. Within this paradigm of explanation of Religion, the role of Religion can regain its role in solving human problems as it used to do in the long history of human civilization. | - |
dc.format.extent | 555460 bytes | - |
dc.format.extent | 428863 bytes | - |
dc.format.extent | 1070709 bytes | - |
dc.format.extent | 1276105 bytes | - |
dc.format.extent | 2148889 bytes | - |
dc.format.extent | 445310 bytes | - |
dc.format.extent | 1008098 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วิตต์เกนสไตน์, ลุควิก, ค.ศ. 1889-1951 | en |
dc.subject | สันติอโศก | en |
dc.subject | ภาษา -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา | en |
dc.title | การประยุกต์แนวความคิดเรื่องเกมภาษาของวิตเกนสไตน์ ในการอธิบายเรื่องของความหมายในภาษาศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีภาษาของสำนักสันติอโศก | en |
dc.title.alternative | An application of Wittgenstein's concept of a language game to the concept of meaning in religious language : a case study of Santi- Asoka's language | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ปรัชญา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunai_Se_front.pdf | 542.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunai_Se_ch1.pdf | 418.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunai_Se_ch2.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunai_Se_ch3.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunai_Se_ch4.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunai_Se_ch5.pdf | 434.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunai_Se_back.pdf | 984.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.