Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19155
Title: การพัฒนารูปแบบและกลไกความร่วมมือในการจัดกลุ่มทางวิชาการด้านศิลปศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมการออกแบบอุตสาหกรรม
Other Titles: A development of a model and mechanisms for art education consortium in higher education institutions for promoting industrial design
Authors: ขนบพร วัฒนสุขชัย
Advisors: สุกัญญา โฆวิไลกูล
สุลักษณ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ความร่วมมือทางการศึกษา
ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการความร่วมมือในการจัด กลุ่มทางวิชาการด้านศิลปศึกษา 2) วิเคราะห์ความร่วมมือในการจัดกลุ่มทางวิชาการด้านศิลปศึกษาระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาและระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมการออกเเบบอุตสาหกรรม ด้านหลักสูตรและการสอน วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 3) นำเสนอรูปแบบและกลไกการจัดการความร่วมมือในการจัดกลุ่มทางวิชาการด้านศิลปศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมการออกแบบอุตสาหกรรม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ 9 คน เเละจากเเบบสอบถาม จำนวน 314 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา และอาจารย์สอนศิลปะ 69 คน นิสิต/นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา 94 คน ผู้ประกอบการ นักออกเเบบอุตสาหกรรม ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม 94 คน และผู้สำเร็จการศึกษา สาขาวิชาศิลปศึกษา 57 คน จากนั้นจึงจัดประชุมเพื่อตรวจสอบรูปเเบบเเละกลไกโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจุบันความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่เกิดจาก ผู้บริหารเป็นผู้ดำเนินการสร้างความร่วมมือตามโอกาส ลักษณะความร่วมมือส่วนมาก คือ การจัดสัมมนาทางวิชาการและจัดอบรมให้กับบุคลากรภาคอุตสาหกรรมด้านการออกแบบอุตสาหกรรม สำหรับปัญหาที่พบมาก คือ การขาดหน่วยงานหรือสถาบันที่ทำหน้าที่ดำเนินการสร้างความร่วมมือและขาดงบประมาณ จึงต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนองค์กรนี้อย่างจริงจังเเละถาวร สำหรับความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคอุตสาหกรรมพบว่า ปัจจุบันความร่วมมือส่วนใหญ่เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในลักษณะของการพัฒนาหลักสูตร ส่วนเรื่องที่เป็นปัญหามาก ได้แก่ การขาดหน่วยงานหรือสถาบันที่ทำหน้าที่ดำเนินการสร้างความร่วมมือ จึงต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนองค์กรความร่วมมือนี้อย่างจริงจังเเละถาวร เมื่อวิเคราะห์ความร่วมมือทั้ง 4 ด้านพบว่า ส่วนใหญ่มีความร่วมมือในการจัดกิจกรรมด้านหลักสูตรและการสอน ในขณะที่มีความร่วมมือด้านบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมน้อย รูปเเบบเเละกลไกความร่วมมือที่นำเสนอ คือ รูปแบบความร่วมมือในการจัดกลุ่มทางวิชาการเเละวิชาชีพด้านศิลปศึกษาซึ่งเป็นรูปแบบของความร่วมมือในระดับสถาบันหรือองค์กรที่เน้นความร่วมมือในลักษณะไตรภาคีระหว่างสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมทั้งในประเทศเเละต่างประเทศ มีกลุ่มบุคคลทำหน้าที่บริหารองค์กรสำหรับกลไกในการดำเนินงาน คือ (1) ระดมสมองและระดมทุนเพื่อพัฒนางานวิชาการ (2) เผยเเพร่ ชี้นำ สร้างความรู้ความเข้าใจ เเละประยุกต์ใช้ความรู้ด้านศิลปศึกษาในการประกอบอาชีพ (3) ผลิตและพัฒนาอาจารย์ นักวิชาการ นิสิต/นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาที่เห็นความสำคัญและเข้าใจในบทบาทของครู/อาจารย์ศิลปศึกษา (4) ประสานงานเเละเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมอาชีพ และเพื่อความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ ควรแบ่งงานออกเป็น 3 ระยะ เมื่อองค์กรมีความมั่นคงในระยะเเรกแล้ว จึงดำเนินความร่วมมือในระยะที่ 2 คือ การขยายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นนอกภาคี เเละระยะที่ 3 คือ การขยายความร่วมมือไปยังต่างประเทศ
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to study present situations, problems and collaboration requirements for the establishment of art education consortium; 2) to analyze present collaborations on the establishment of consortium with respect to curricula and instruction, research, academic service, and, artistic and cultural preservation; 3) to propose a model and mechanisms for art education consortium in higher education institutions for the purpose of industrial design promotion. Data was collected through interviews with nine and 314 questionnaires distributed to 69 executives and art lecturers, 94 art education students and selected sample of 94 garment entrepreneurs, industrial designers, experienced industry individuals, and, 57 graduated art education students. The group connoisseurship verify the model and the specialize executive finalize the practical art education model. The research finds that the present collaborations among higher education institutions are occasionally initiated by executives in the forms of academic seminars and trainings for industrial design personnel. The key problems identified are the lack of a collaboration liaison agency or institute and the lack of funds. There is the need for the public sector to offer this liaison agency intensive and permanent support. Further, the research finds that the present collaboration between higher education institutions and the industrial sectors are mostly initiated through personal relationships with the purpose of curriculum development. The key problem identified is the lack of a collaboration liaison agency or institute. There is the need for the public sector to offer this liaison agency intensive and permanent support. Of all four aspects of collaboration, it appears that the collaborations mostly concern the development of curriculum and instruction while those concerning academic service and artistic and cultural preservation are not as strong in number. The model and mechanism proposed is the professional art education consortium (PAEC) which is a trilateral collaboration among domestic and foreign higher education institutions, the public sector and the industrial sector, led by a panel of executives. This consortium will operate by (1) brainstorming and raising funds for the engagement in academic initiatives; (2) publicizing and promoting artistic knowledge and its professional applications; (3) developing arts lecturers, academicians and students who appreciate and understand the roles of arts teachers and lecturers; (4) serving as a liaison office for professional development. In order to ensure operational feasibility, the model should be divided into three phases. Once the agency becomes well established in the first phase, collaboration will be sought from other agencies in the second phase and eventually from other countries in the third phase.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19155
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.503
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.503
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khanobbhorn_wa.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.