Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19174
Title: กระบวนการควบคุมตนเองเพื่อลดความวิตกกังวล ในการเตรียมตัวสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
Other Titles: The process of self-control in the reduction of anxiety in the preparation for the joint-higher education entrance examination
Authors: อุบล วุฒิญาสิทธิ์
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความวิตกกังวล
พฤติกรรมมนุษย์
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความประสงค์ที่จะศึกษาว่ากระบวนการควบคุมตนเองสามารถลดความวิตกกังวลของผู้ที่เตรียมตัวสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้หรือไม่กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนกวดวิชาในโรงเรียนกวดวิชา Home of English เพื่อเตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐประจำปีการศึกษา 2528 และทำแบบวัดความวิตกกังวล DES+A ได้คะแนนสูงกว่า 0.5 S.D. เหนือค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากแบบวัด กลุ่มตัวอย่างนี้ประกอบด้วยกลุ่มทดลอง 10 คน กลุ่มควบคุม 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกกระบวนการควบคุมตนเอง ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระยะ ห่างกันระยะละประมาณ 1 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึก หลักจากเสร็จสิ้นกระบวนการฝึกควบคุมตนเองแล้ว ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มทำแบบวัดความวิตกกังวลซ้ำอีกครั้ง ผลจากการวิเคราะห์ความแตกต่างในระยะก่อนและหลังการทดลองด้วยวิธีการทดสอบความเท่าเทียบของค่าสหสัมพันธ์ที่ขึ้นต่อกัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึกกระบวนการควบคุมตนเองสามารถลดความวิตกกังวลในการเตรียมตัวสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ( P < .05 )
Other Abstract: The purpose of this research was to study whether the process of self-control could reduce anxiety among M.S. 5 students in the preparation for the joint-higher education entrance examination. The subjects were 20 students of Home of English School who scored higher than 0.5 S.D. above the mean on the DES+A (a measure of anxiety). They were randomly assigned to an experimental and a control group. Each group included 10 persons. The experimental group was trained in the process of self-control once a week for 5 weeks where as the control group received no training. The statistical method for data analysis was the comparison of tests of the equality of dependent correlation coefficients. Results showed that the experimental group was able to reduce anxiety more than the control group, significant at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19174
ISBN: 9745637815
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ubon_Wu_front.pdf369.65 kBAdobe PDFView/Open
Ubon_Wu_ch1.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Ubon_Wu_ch2.pdf380.37 kBAdobe PDFView/Open
Ubon_Wu_ch3.pdf285.75 kBAdobe PDFView/Open
Ubon_Wu_ch4.pdf315.73 kBAdobe PDFView/Open
Ubon_Wu_ch5.pdf265.01 kBAdobe PDFView/Open
Ubon_Wu_back.pdf770.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.