Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19193
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา
Other Titles: Selected factors related to insomnia in patients with hematological malignancies
Authors: นงลักษณ์ อนันตอาจ
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: การนอนไม่หลับ
เลือด -- มะเร็ง
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรด้านอายุ เพศ สุขอนามัยการนอนหลับ อาการเหนื่อยล้า ความซึมเศร้า ชนิดของโรค ระยะของโรค และชนิดของการรักษาที่ได้รับ กับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 140 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเหนื่อยล้าของ Piper et al. (1998) แบบประเมินความซึมเศร้า Beck Depression Inventory (1996) แบบประเมินสุขอนามัยการนอนหลับ และแบบประเมินอาการนอนไม่หลับ (insomnia Severity Index) ของ Morin (1993) ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .91 , .83 , .64 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สถิติอีต้า และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาอยู่ในระดับ “ระยะเริ่มของการมีอาการนอนไม่หลับ” โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.05 2. อายุ อาการเหนื่อยล้า ความซึมเศร้า และสุขอนามัยการนอนหลับมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการนอนไม่หลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.316, .549, .585 และ.265 ตามลำดับ) 3. เพศ มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา (n= .513) 4. ชนิดของโรคมะเร็ง ระยะของโรคมะเร็ง และชนิดของการรักษาที่ได้รับมีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F= 7.55, 4.16 และ 4.30 ตามลำดับ)
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the relationships among age, sex, fatigue, depression, sleep hygiene, types of hematological malignancies, stages of hematological malignancies, types of treatment, and insomnia in hematological malignancy patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The study sample consisted of 140 hematological malignancy patients selected by a purposive sampling. The instruments for this study was a five part questionnaire that included a demographic data form, a fatigue questionnaire of Piper et al., (1998), a depression questionnaire of Beck Depression Inventory (1996), a sleep hygiene questionnaire, and an Insomnia Severity Index of Morin (1993). Content Validity for the instrument was reviewed by a panel of experts. Internal consistency reliabilities determined by Cronbach’s alpha were .91, .83, .64, and .88 respectively. Pearson product moment correlation, Eta correlation and ANOVA were used for statistical analysis. Result were as follows: 1. The mean of insomnia score of hematological malignancy patients was at the “subthreshold insomnia” (mean=9.45, S.D.=5.05 ) 2. Significant positive correlations were detected between age (r=.316), fatigue (r=.549), depression (r=.585), sleep hygiene (r=.265), and insomnia of hematological malignancy patients. (p=.05) 3. Significant correlation was detected between sex (n=.513) and insomnia of hematological malignancy patients. 4. Hematological malignancies, stages of hematological malignancies and types of treatment were significantly related to insomnia. (p=.01)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19193
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.416
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.416
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongluk_an.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.