Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19202
Title: วาทกรรมผู้หญิงเซ็กซี่ในนิตยสารมาร์สและอิมเมจ
Other Titles: A discourse analysis of sexy women in Mars and Image magazines
Authors: โสภา สถาพรชัยวัฒน์
Advisors: วิลาสินี อดุลยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สตรีในโฆษณา
วจนะวิเคราะห์
วารสาร
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบชุดความหมายวาทกรรมผู้หญิงเซ็กซี่ที่นำเสนอในนิตยสารผู้ชายและผู้หญิง 2) เพื่อศึกษาระบบ วิธีการ ปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆ ในการประกอบสร้างวาทกรรมผู้หญิงเซ็กซี่ในนิตยสารผู้ชายและผู้หญิง 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดแนวทางการนำเสนอวาทกรรมผู้หญิงเซ็กซี่ในนิตยสารผู้ชายและผู้หญิง และการต่อรองของผู้ถูกสร้างให้เป็นภาพตัวแทนของวาทกรรมในกระบวนการผลิต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อวิเคราะห์ชุดความหมายและวิธีการนำเสนอความหมายวาทกรรมผู้หญิงเซ็กซี่ในนิตยสารผู้ชายและผู้หญิง ได้แก่ นิตยสารมาร์สและอิมเมจจำนวน 32 ฉบับ รวมทั้งใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิตนิตยสารและผู้ถูกสร้างให้เป็นภาพตัวแทนของวาทกรรม โดยนำแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์วาทกรรม และความเป็นหญิงและร่างกายผู้หญิง มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ชุดความหมายวาทกรรมผู้หญิงเซ็กซี่ที่นำเสนอในนิตยสารมาร์สและอิมเมจมี 4 ชุด เรียงลำดับตามความถี่ของตัวบทจากมากไปน้อย ดังนี้ ชุดที่หนึ่ง ผู้หญิงเซ็กซี่ คือ ผู้หญิงสวย หมายถึง ผู้หญิงที่แต่งกายเปิดเผยเรือนร่าง หรือขับเน้นอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเพื่อแสดงออกถึงรูปร่างหน้าตาที่สวยงามและสมบูรณ์, ชุดที่สอง ผู้หญิงเซ็กซี่ คือ ผู้หญิงที่มีทุนทางร่างกายเป็นโอกาส หมายถึง ผู้หญิงที่สามารถใช้ประโยชน์จากรูปร่างหน้าตาและเสน่ห์ทางเพศของตนในการสร้างโอกาสในมิติต่างๆ เช่น โอกาสในการประกอบอาชีพ โอกาสด้านความรัก, ชุดที่สาม ผู้หญิงเซ็กซี่ คือ ผู้หญิงทันสมัย หมายถึง ผู้หญิงที่รู้จักแต่งกาย จัดวางท่วงท่า ปรับแต่งบุคลิกตามสมัยนิยม เพื่อบ่งชี้ถึงความเป็นผู้หญิงยุคใหม่ และชุดที่สี่ ผู้หญิงเซ็กซี่ คือ ผู้หญิงที่แสดงบทเป็นฝ่ายรุกเรื่องเพศ หมายถึง ผู้หญิงที่เปิดเผยความรู้สึกและความต้องการทางเพศของตนเองออกมาโดยสื่อผ่านทางอากัปกิริยาเชิญชวน ถือเป็นผู้หญิงที่มีเสน่ห์ทางเพศ วาทกรรมผู้หญิงเซ็กซี่ในนิตยสารทั้งสองไม่มีความแตกต่างกันในด้านชุดความหมาย แต่แตกต่างกันในด้านวิธีการสื่อความหมาย 2) วาทกรรมผู้หญิงเซ็กซี่ในนิตยสารมาร์สและอิมเมจนำเสนอผ่านตัวบท 8 รูปแบบ ได้แก่ ภาพปก ข่าวสังคม ภาพแฟชั่น บทความ สารคดี การ์ตูน โฆษณา และบทความเชิงโฆษณา โดยส่วนใหญ่พบในโฆษณา ภาพแฟชั่น และบทความ รูปแบบโฆษณาในอิมเมจเน้นภาพผู้หญิงเซ็กซี่ในโฆษณาสินค้าเครื่องสำอาง เครื่องแต่งกายจากต่างประเทศ ส่วนมาร์ส เน้นภาพผู้หญิงเซ็กซี่ในสินค้าเทคโนโลยี สำหรับภาพแฟชั่น มาร์สเน้นภาพอิริยาบถส่วนตัวของนางแบบ ไม่เน้นความสวยงามของเสื้อผ้า ส่วนอิมเมจเน้นภาพนางแบบโพสท่าเพื่อนำเสนอเสื้อผ้าที่สวยงาม สำหรับบทความ มาร์สเน้นข้อมูลเกี่ยวกับผู้หญิงเซ็กซี่ในพื้นที่ของผู้ชาย ส่วนอิมเมจเน้นข้อมูลเกี่ยวกับนักแสดง นักร้องชื่อดังในต่างประเทศ และสาวเซ็กซี่ในสังคมชั้นสูง 3) ปัจจัยที่กำหนดแนวทางการนำเสนอวาทกรรมผู้หญิงเซ็กซี่ในนิตยสารมาร์สและอิมเมจ แบ่งเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล, ปัจจัยด้านองค์กรสื่อ และปัจจัยด้านสังคม การต่อรองของผู้ถูกสร้างให้เป็นภาพตัวแทนของวาทกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระหว่างการตัดสินใจเลือกรับงาน โดยปัจจัยที่ใช้พิจารณาต่อรอง ได้แก่ ประเภทและแนวทางของนิตยสาร สถานภาพนักศึกษา คอนเส็ปต์เซ็ทแฟชั่น และชื่อเสียงของช่างภาพและสไตลิสต์ ทั้งนี้ วาทกรรมผู้หญิงเซ็กซี่ในนิตยสารมาร์สและอิมเมจสะท้อนถึงอำนาจของทุนนิยมและสังคมปิตาธิปไตยที่เข้ามากำกับความหมายของผู้หญิงทั้งในมิติเพศสรีระ เพศสภาพ และเพศวิถี และทำให้ภาพผู้หญิงเซ็กซี่กลายเป็นสินค้าในพื้นที่สื่อ
Other Abstract: The three main objectives of this research are to: 1) analyze and compare meanings of discourse on sexy women featured in men and women's magazines 2) examine forms of the discourse expression, and 3) analyze factors influencing the contents and the negotiation. This qualitative research fundamentally applies the discourse analysis as a mean of examining meanings and presentation of sexy women discourses in 32 issues of 'Mars' and 'Image' magazines and in-depth interview with the magazines' publishers as well as subjects of the discourse. The analytical framework is based on discourse and concept of femininity and women's body. Results of the research are as follows: 1) The meaning of sexy women presented in Mars and Image magazines can be categorized into 4 series. First, a sexy woman as a beautiful woman: a woman who dresses exposingly to show her beautiful and perfect figure. Second, a sexy woman possessing physically capital: a woman who uses her sex appeal to get more opportunities in many aspects such as work and love. Third, a sexy woman as a modern woman: a woman who always changes her physical appearance and improves personality to see herself as an up-to-date individual. And fourth, a sexy woman as a sexual aggression: a woman who expresses her erotic feelings through her seductive body language. The discourses presented in both magazines are not different in term of meanings, but in term of meaning presentation. 2) The discourse appears in 8 forms including front cover, social news, fashion set, article, feature, cartoon, advertisement and advertorial. Most of them are found in advertisement, fashion set and article. Sexy women are mostly featured in cosmetics and brand-name clothing ads in Image magazine while Mars magazine prefers sexy women in technology-related product ads. As for fashion set, Mars magazine emphasizes on model's gesture and pose than clothing while Image magazine focuses on both excellent clothing and model's pose. Mars magazine provides information on sexy women mostly in for-men columns while Image magazine prefers information on international sexy performers, singers and celebrities. 3) Factors influencing the presentation of contents in Mars and Image magazines can be divided into 3 levels; individual, media institutional and social factors. Subjects of the discourse often make their conditions of agreement during a negotiation with the magazines' publishers. Four conditions considered are magazine type, student status, concept of fashion set and photographer and stylist's credit. The discourse on sexy women found in Mars and Image magazines empowers capitalism and patriarchy to define the meaning of women in terms of sex, gender and sexuality, and regard sexy models as commercial products in mass media.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19202
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.850
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.850
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sopa_s.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.