Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19212
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพร พานโพธิ์ทอง-
dc.contributor.authorเพชรีภรณ์ เอมอักษร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-04-25T08:00:37Z-
dc.date.available2012-04-25T08:00:37Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19212-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการบอกเลิกสัญญาในภาษาไทยกับปัจจัยด้านสถานภาพของคู่สนทนา และความสัมพันธ์ของการบอกเลิกสัญญากับน้ำหนักความรุนแรงของสถานการณ์ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้จากคำตอบในแบบสอบถามที่กำหนดสถานการณ์ซึ่งมีความต่างกันในด้านปัจจัยสถานภาพและความรุนแรง ทั้งหมด 6 สถานการณ์ ต่อ 1 สถานภาพ (รวมสถานการณ์ที่กำหนดทั้งสิ้น 6 x 3 = 18 สถานการณ์) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษา จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้พูดภาษาไทยใช้กลวิธีทางภาษาในการบอกเลิกสัญญาทั้งกลวิธีตรงและกลวิธีความสุภาพ รวม 18 กลวิธี ผู้พูดทั้งสามสถานภาพจะบอกเลิกสัญญาโดยคำนึงถึงความสุภาพมากกว่าที่จะแสดงเจตนาบอกเลิกโดยตรง นอกจากนี้ ยังพบว่าการบอกเลิกสัญญาของผู้พูดภาษาไทยมีความสอดคล้องกับค่านิยมในวัฒนธรรมไทย ได้แก่ ค่านิยมในการรักษาคำพูด ซึ่งคนไทยเชื่อว่าเมื่อได้พูดหรือให้สัญญากับใครแล้วผู้พูดต้องปฏิบัติตามนั้น หากไม่ทำตามที่พูดก็อาจถูกตำหนิว่าเป็นคนไม่รักษาคำพูด ยิ่งผู้พูดมีสถานภาพสูงก็ยิ่งต้องรักษาคำพูด เพื่อรักษาภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือในสายตาของผู้อื่น อีกทั้งผู้พูดภาษาไทยยังคำนึงถึงเรื่องการรักษาน้ำใจกัน ซึ่งเห็นได้จากการที่ผู้พูดส่วนใหญ่นิยมใช้กลวิธีการชี้แจงเหตุผลมากที่สุด และมักจะใช้ร่วมกับการกล่าวคำแสดงเจตนาขอโทษ เพราะเป็นกลวิธีที่ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเหตุผลที่ทำให้ผู้พูดไม่สามารถทำตามสัญญาได้ พร้อมทั้งแสดงความรู้สึกสำนึกในความผิดที่ผู้พูดทำให้ผู้ฟังผิดหวังหรือเดือดร้อนจากการไม่ทำตามสัญญาของตน จากการศึกษายังพบว่าสถานภาพของผู้พูดเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการบอกเลิกสัญญา โดยผู้พูดที่มีสถานภาพต่ำกว่า พบกลวิธีในการบอกเลิก 16 กลวิธี และกลวิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การชี้แจงเหตุผล ผู้พูดที่มีสถานภาพสูงกว่าผู้ฟัง พบกลวิธีในการบอกเลิก 11 กลวิธี และกลวิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การผัดเวลา ส่วนผู้พูดที่มีสถานภาพเท่ากับผู้ฟัง พบกลวิธีในการบอกเลิก 15 กลวิธี และกลวิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การชี้แจงเหตุผล นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้พูดที่มีสถานภาพต่ำกว่าจะพยายามแสดงความสุภาพมากกว่าสถานภาพอื่น โดยส่วนใหญ่จะใช้ถ้อยคำที่มีความยาวและใช้กลวิธีความสุภาพในการบอกเลิกสัญญาแต่ละครั้งมากกว่าสถานภาพอื่น สำหรับปัจจัยด้านน้ำหนักความรุนแรงของสถานการณ์ก็มีผลต่อการตัดสินใจบอกเลิกหรือไม่บอกเลิกสัญญาด้วย กล่าวคือ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีความรุนแรงมากขึ้น ผู้พูดทั้งสามสถานภาพจะบอกเลิกสัญญาน้อยลงเช่นเดียวกันen
dc.description.abstractalternativeThe aim of this research is to examine the linguistic strategies used by speakers of different social status in the speech act of cancellation in Thai. The data was elicited by means of questionnaire which included 6 situations. The respondents were 200 students from secondary schools and universities in Bangkok, Ayutthaya and Suphanburi areas. It is found that Thai speakers of three groups adopted 18 linguistic strategies to perform the act of cancellation. Most of them preferred politeness strategies to direct strategies. Furthermore, the finding indicated that the cancellation complied with values in Thai culture such as value of keeping a promise; Thai people believe that whenever they tell or make a promise, they have to keep it. If they fail to keep their promise, they are blamed to be an untrust fellow. Moreover, Thai speakers also placed value on the concept of /rak saa nam cay/ ‘maintaining smooth interpersonal relationship’. It is found that most of the speakers preferred to provide a reason together with an apology to show that they really had to perform the act of cancellation even though they did not want to. It is also found that the status of the speakers was one of many factors in strategy selection. That is, for the speakers of lower status, 16 strategies were adopted and the most preferred was providing a reason. For the speakers of higher status, 11 strategies were selected and the most adopted was postponement. For the speakers with the same status as the listeners, 15 strategies were used and the most adopted was providing a reason. In addition, it appears that the more serious the situation was, the number of those who decided not to perform the act increased.en
dc.format.extent1889402 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.51-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาไทย -- การใช้ภาษาen
dc.subjectวัจนกรรมen
dc.titleกลวิธีการบอกเลิกสัญญาในภาษาไทย : กรณีศึกษาผู้ฟังที่มีสถานภาพต่างกันen
dc.title.alternativeThe strategies of cancellation in Thai : a case study of hearer of different statusen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.51-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Petchareeporn_am.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.