Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19420
Title: ประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเทอร์บูทาลีนชนิดรับประทานสำหรับการรักษาต่อเนื่องหลังภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
Other Titles: Effectiveness and safety of oral terbutaline for maintenance therapy after threatened preterm labor
Authors: เก็จกนก แก่นบุญ
Advisors: เรวดี ธรรมอุปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การคลอดก่อนกำหนด
เทอร์บูทาลีน -- ยา
ภาวะเจ็บครรภ์
การใช้ยา
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเทอร์บูทาลีนชนิดรับประทานสำหรับการรักษาต่อเนื่องหลังภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับการไม่ได้รับยา รวมถึงศึกษาปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดของผู้ป่วยหลังภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ทั้งนี้ศึกษาข้อมูลย้อนหลังร่วมกับการเก็บข้อมูลไปข้างหน้า (Historical Cohort study) ณ โรงพยาบาลปัตตานี โดยเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในช่วงเดือน มกราคม 2550 ถึง กุมภาพันธ์ 2551 การวิเคราะห์ข้อมูลต่อเนื่องใช้ Student Unpaired t test การวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกประเภทใช้ Chi-Square test หรือ Fisher’s Exact test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P value < 0.05 จากการคัดเลือกผู้ป่วยตามเกณฑ์ได้จำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 91 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับยาเทอร์บูทาลีนชนิดรับประทาน (กลุ่มศึกษา) 46 ราย และเป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาเทอร์บูทาลีนชนิดรับประทาน (กลุ่มควบคุม) 45 ราย เมื่อทำการศึกษาประสิทธิผล พบว่าผลการรักษาโดยรวมในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน โดยกลุ่มศึกษามีผู้ป่วยคลอดครบกำหนด ร้อยละ 76.09 และกลุ่มควบคุมมีผู้ป่วยคลอดครบกำหนด ร้อยละ 66.67 (P=0.320) พบผู้ป่วยเกิดการกลับเป็นซ้ำของภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในกลุ่มศึกษา ร้อยละ 26.09 และในกลุ่มควบคุม ร้อยละ 31.11 (P=0.596) กลุ่มศึกษามีอายุครรภ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 31.33 + - 16.92 วัน และกลุ่มควบคุมมีอายุครรภ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 28.11 + - 14.96 วัน (P=0.340) นอกจากนี้ผลทางคลินิกของทารกที่คลอดจากผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน ทั้งในส่วนของน้ำหนักแรกคลอด ผลการประเมินสภาวะทารกแรกคลอด (APGAR score) การเกิดภาวะหายใจลำบาก และการเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกคลอด (P=0.651, 1.000, 1.000 และ 0.674 ตามลำดับ) การวิเคราะห์การอยู่รอดใช้วิธีแคแพลน-ไมเออร์(Kaplan-Meier Method) วิเคราะห์โอกาสการอยู่รอดของครรภ์ผู้ป่วยหลังภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และใช้การทดสอบล็อกแลงค์(Log-rank test)เปรียบเทียบโอกาสการอยู่รอดของครรภ์ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาเทอร์บูทาลีนชนิดรับประทานกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา ผลการศึกษาพบว่าโอกาสการอยู่รอดหลังภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาเทอร์บูทาลีนชนิดรับประทานและกลุ่มที่ไม่ได้รับยา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.340) อาการไม่พึงประสงค์ที่พบในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาเทอร์บูทาลีนชนิดรับประทานได้แก่ ภาวะหัวใจเต้นเร็ว (ร้อยละ 2.17) ใจสั่น(ร้อยละ 4.35) และทารกในครรภ์มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว(ร้อยละ2.17) จากการวิเคราะห์หาปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดของผู้ป่วยหลังภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โดยการทดสอบการถดถอยโลจิสติกชนิดตัวแปรเดียว พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดเพียงปัจจัยเดียว คือการกลับเป็นซ้ำของภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Odds ratio = 378.00, ช่วงความเชื่อมั่น 95%: 50.37-2836.87)
Other Abstract: The objectives of this study were to compare effectiveness and safety of oral terbutaline and no terbutaline for maintenance therapy after threatened preterm labor and to identify factors for predicting preterm delivery of patients after threatened preterm labor. The study was carried out retrospectively and prospectively (Historical Cohort study). Data were collected from Pattani Hospital during January 2007 to February 2008. Continuous data were analyzed by using student unpaired t test. Categorical data were analyzed by using Chi-Square test or Fisher’s Exact test. A significant level was established at alpha [is less than or equal to] 0.05 Ninety-one patients were included in this study. Forty-six patients received oral terbutaline for maintenance therapy after threatened preterm labor (study group) and 45 patients (control group) did not. No significant difference was found between groups with respect to term delivery(76.09% vs 66.67%, P=0.320), recurrent preterm labor (26.09% vs 31.11%, P=0.596), time gained (31.33+ -16.92 vs 28.11+ -14.96 days, P=0.340) and neonatal outcome such as birth weight, evaluation of newborn condition (APGAR score), respiratory distress syndromes, nursery admission (P= 0.651, 1.000, 1.000 and 0.674). With regard to survival analysis, Kaplan-Meier Method was used to analyze survival probability and Log-rank test was used to compare survival between the terbutaline and no terbutaline groups. Result demonstrated that there was no statistically significant between patients in the terbutaline and no terbutaline groups(P=0.340). Adverse effects during oral terbutaline treatment were tachycardia (2.17%), palpitation (4.35%) and fetal tachycardia (2.17%). Only recurrent preterm labor had a significant independent effect on preterm delivery from univariate logistic regression analysis (Odds ratio = 378.00, 95% confidence interval: 50.37-2836.87).
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19420
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.848
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.848
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ketkanok.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.