Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19427
Title: | อัตตาณัติในหลุนอี่ว์ : บทวิเคราะห์ไจ๋หว่อ |
Other Titles: | Autonomy in the analects : an analysis of Zai Wo |
Authors: | อุทัช เกสรวิบูลย์ |
Advisors: | สุวรรณา สถาอานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ขงจื๊อ ปรัชญาขงจื๊อ ปรัชญาจีน มนุษยธรรม |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาประเด็นเรื่องมโนทัศน์อัตตาณัติในปรัชญาขงจื่อผ่านบทวิเคราะห์ไจ๋หว่อ สืบเนื่องมาจากความเข้าใจที่ว่าปรัชญาขงจื่อไม่มีพื้นที่ให้มโนทัศน์อัตตาณัติ เนื่องจากปรัชญาขงจื่อให้ความสำคัญกับความหมายที่มีอยู่ร่วมกันของมนุษย์ อีกทั้งยังมีวิธีการเข้าใจลักษณะของตัวตนที่แตกต่างกันระหว่าง ตัวตนที่มีลักษณะสัมพันธ์ในปรัชญาขงจื่อ และ ปัจเจกบุคคลอันเป็นฐานการมีอัตตาณัติในบริบทปรัชญาตะวันตกหลายสำนัก ในทศวรรษที่ผ่านมาถึงแม้จะมีความพยายามกล่าวถึงมโนทัศน์อัตตาณัติในปรัชญาขงจื่อในหลายลักษณะจากวงวิชาการปรัชญาจีนแต่ก็ยังขาดการศึกษาวิเคราะห์ที่ชัดเจน ผลการวิเคราะห์ที่ได้จากกรณีไจ๋หว่อซึ่งเป็นกรณีของการต่อรองที่เข้มข้นที่สุดเท่าที่ยังอยู่ในความสัมพันธ์กับขงจื่อ ร่วมกับเหล่าศิษย์ ชี้ให้เห็นว่าท่าทีที่ขงจื่อไม่ยอมรับไจ๋หว่อ และเหล่าศิษย์ แสดงถึงอัตตาณัติของพวกเขาในลักษณะที่แตกต่างไปจากกรณีของผู้ปกครอง และผู้หลีกลี้ เนื่องจากพวกศิษย์ยังมีความสัมพันธ์ต่อขงจื่อ อัตตาณัติในความสัมพันธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์นี้มีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งต่อมโนทัศน์มนุษยธรรม วิญญูชนซึ่งมีข้อผูกพันกับการมีมนุษยธรรม จำเป็นต้องยอมรับอัตตาณัติในความสัมพันธ์ของผู้คนที่ยังอยู่ในขอบข่ายของมนุษยธรรม จึงสรุปได้ว่ามีพื้นที่ให้กับการกล่าวถึงอัตตาณัติในความสัมพันธ์ในปรัชญาขงจื่อ |
Other Abstract: | This thesis offers a study of the concept of “autonomy” in Confucian ethics through the analysis of the role of Zai Wo. There has been an understanding that Confucian ethics offers no room for an autonomous person, as it is a form of ethics which places greatest emphasis on the human collective co-existence. This perceived absence of the concept of “autonomy” in Confucian ethics indicates different ways of understanding the nature of identity. In Confucian ethics, identity is based on a conception of human beings as “relational self,” while a conception of human beings as basically individuals forms the basis of “autonomy” in several Western ethical traditions. In the past decade, there have been some attempts to argue for a viable concept of “autonomy” in Confucian ethics, but non of them base their analysis on the role of Zai Wo. This thesis argues that Zai Wo is the case which illustrates a most intense negotiation for autonomy while still being part of teacher-student relationship with Confucius. Three other students, namely, Yen Hui, Tzu-kung, Tzu-lu convey their being autonomous in a different degree. Some rulers and the recluse suggest that they are no longer in relationship with Confucius. Autonomy in relationship in this analysis is intimately linked with the concept of ren (humaneness). This humaneness of a superior man obligates him to accept others’ autonomy. The major finding of this thesis is that there is a room for “autonomy in relationship” in Confucian ethics. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19427 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1749 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1749 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Utach_ke.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.