Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19430
Title: พลวัตของซากใบไม้ในป่าชายเลนรุ่นสอง จังหวัดตราด
Other Titles: Dynamics of leaf litter in secondary mangrove forest, Trat province
Authors: วิลานี สุชีวบริพนธ์
Advisors: ศศิธร พ่วงปาน
พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ป่าชายเลน -- ไทย -- ตราด
นิเวศวิทยาป่าชายเลน -- ไทย -- ตราด
ใบไม้ -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
Mangrove forests -- Thailand -- Trat
Mangrove ecology -- Thailand -- Trat
Leaves -- Biodegradation
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพลวัตของซากใบไม้ในป่าชายเลน ได้แก่ ซากใบไม้ที่ร่วงหล่น ซากใบไม้ที่ถูกนำเข้ามาบนผิวดิน ซากใบไม้ที่สะสมบนผิวดิน อัตราการย่อยสลายซากใบไม้และซากใบไม้ที่ถูกบริโภคในแปลงศึกษาขนาด 50x120 ตารางเมตร ซึ่งมีการแบ่งเขตพันธุ์ไม้โดยใช้พันธุ์ไม้เด่น เรียงลำดับจากริมฝั่งแม่น้ำเข้าไปด้านในของ แปลงศึกษา ได้แก่ เขตไม้แสม เขตไม้โกงกางและเขตไม้ตะบูน ตามลำดับ ศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณซากใบไม้ที่ร่วงหล่นที่เก็บจากกระบะรองรับซากพืชขนาด 1x1 ตารางเมตร ในเขตไม้แสมและเขตไม้โกงกางซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.27 และ 2.51 กรัม/ตารางเมตร/ วัน ตามลำดับ มีค่ามากกว่าเขตไม้ตะบูน (1.37 กรัม/ตารางเมตร/วัน) อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งปริมาณซากใบไม้ที่ถูกนำเข้ามาบนผิวดินที่เก็บจากพื้นป่าใต้กระบะรองรับซากพืช และปริมาณซากใบไม้ที่สะสมบนผิวดินที่เก็บจากพื้นป่าข้างกระบะรองรับซากพืช มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเขตพันธุ์ไม้ โดยเขตไม้โกงกางมีปริมาณซากใบไม้ที่ถูกนำเข้ามาบนผิวดิน และปริมาณซากใบไม้ที่สะสมบนผิวดินมากที่สุด รองลงมาคือ เขตไม้แสมและเขตไม้ตะบูน ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากระบบรากค้ำยันในเขตไม้โกงกาง สามารถกักเก็บซากใบไม้บนพื้นป่าได้มาก อัตราการย่อยสลายของซากใบไม้ซึ่งศึกษาโดยใช้ถุงซากพืชบรรจุซากใบไม้พบว่า อัตราการย่อยสลายซากใบไม้ทั้งสามเขตพันธุ์ไม้ไม่แตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มย่อยสลายซากพืชได้ช้าลงเมื่อระยะทางห่างจากริมแม่น้ำมากขึ้น ผู้บริโภคซากใบไม้ที่พบในแปลงศึกษา ได้แก่ ปูแสมก้ามแดงและปูแสมก้ามม่วง โดยเขตไม้ตะบูนมีความหนาแน่นของปูแสมทั้งสองชนิดรวมกันมากกว่าเขตไม้โกงกาง จึงทำให้ซากใบไม้ที่ถูกบริโภคในเขตไม้ตะบูนมีปริมาณมากกว่าเขตไม้โกงกางอย่างมีนัยสำคัญ (83.55% และ 22.85% ของปริมาณซากใบไม้ทั้งหมด ตามลำดับ) การศึกษาในครั้งนี้สามารถอธิบายได้ว่า พลวัตของซากใบไม้ทั้งสามเขตพันธุ์ไม้มีซากใบไม้ที่ร่วงหล่นเข้าสู่พลวัตซากใบไม้เป็นส่วนใหญ่คิดเป็น 72.9-100.0% ของปริมาณซากใบไม้เฉลี่ยต่อวัน แต่ในส่วนของซากใบไม้ที่ออกจากพลวัตมีความแตกต่างกัน กล่าวคือซากใบไม้ที่ออกจากพลวัตส่วนใหญ่ในเขตไม้แสมและเขตไม้โกงกาง เป็นซากใบไม้ที่ถูกนำออกไปจากผิวดินโดยการขึ้นลงของน้ำทะเล ในขณะที่ซากใบไม้ที่ออกจากพลวัตของเขตไม้ตะบูนส่วนใหญ่ เป็นซากใบไม้ที่ถูกบริโภคโดยปูแสม ปริมาณซากใบไม้ในส่วนต่างๆ ของพลวัตซากใบไม้ในป่าชายเลนเป็นผลมาจากปัจจัยทางชีวภาพและปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ ระบบรากของพันธุ์ไม้ในป่าชายเลน ความลาดชัน ระยะเวลาของการท่วมของน้ำทะเล ลักษณะของเนื้อดินและอุณหภูมิ
Other Abstract: Dynamics of leaf litter in Trat mangrove forest was studied in a 50x120 sq.m. plot, which was separated by dominant tree species into 3 zones from the river fringe to inland as Avicennia, Rhizophora, and Xylocarpus, during November 2008 to October 2009, and emphasized on 5 process categories; leaf-litter fall, import-exporting leaf-litter, leaf-litter standing stock, leaf-litter decomposition and consumed leaf-litter. The results showed that averages of leaf-litter fall entrapped in 1x1 sq.m. litter traps from Avicennia and Rhizophora zones were 2.27 and 2.51 g/sq.m./d, respectively. These were significantly higher than that from Xylocarpus zone (1.37 g/sq.m./d). In addition, importing leaf-litter collected from forest floor under the traps, and leaf-litter standing stocks on the floor nearby were significantly different between mangrove community zones. Rhizophora zone has the highest amount of leaf-litter accumulated on the forest floors, followed by Avicennia and Xylocarpus zones, respectively. This might be a consequence of dense Rhizophora stilt root system that was able to trap most leaf-litter within the zone. Leaf-litter decomposition rates studied by litter-bag method were not clearly different among zones but the process tended to slow down from the fringe to inland. Leaf-litter consumers found in the studied plots were Perisesarma eumolpe and Episesarma versicolor. The crabs were found in Xylocarpus zone more than those found in Rhizophora zone, resulting in significant higher consumed leaf-litter; 83.55% and 22.85% of all fallen leaves. This study draws the diverse patterns of leaf-litter dynamics in 3 different mangrove species zones. Even though average amount of leaf-litter input from falling leaves in these 3 zones were similar (72.9-100%), exporting leaf-litter processes from those systems were quite different i.e. most leaf-litter was removed from Avicennia and Rhizophora zones by tide, but in Xylocarpus zone great amount of leaf-litter was consumed by crabs. Therefore biological and physical factors, including species root systems, topography, inundation period, soil texture and temperature affect the dynamics of leaf-litter in mangrove forest.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19430
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1750
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1750
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vilanee_su.pdf15.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.