Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19531
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมภพ มานะรังสรรค์ | - |
dc.contributor.author | กรกสิวัฒน์ เกษมศรี, ม.ล. | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-09T07:52:06Z | - |
dc.date.available | 2012-05-09T07:52:06Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19531 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความเป็นมาของ เฮดจ์ฟันด์ ในลักษณะ Historical Approach ตั้งแต่การเกิด รูปแบบ กลไกการทำงาน และพัฒนาการในบริบทของโลกาภิวัตน์ทางการเงิน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเฮดจ์ฟันด์เพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเงินของไทยให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เนื่องจากบทเรียนจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเฮดจ์ฟันด์ของสังคมไทยยังมีอยู่ในระดับจำกัด จากการที่คนทั้งภาครัฐและเอกชนไทยจำนวนมากขาดความเข้าใจต่อสถานการณ์ความเป็นไปและผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดจากเฮดจ์ฟันด์ จึงนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างไม่ตรงประเด็น สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยการวิจัยนี้จึงใช้กองทุนควอนตั้มฟันด์ของ บริษัท โซรอส ฟันด์เมเนจเม้นท์ ของนาย จอร์จ โซรอส (George Soros) เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบกับการพัฒนาของเศรษฐกิจการเงินของโลก เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลด้านการลงทุนของเฮดจ์ฟันด์มีอยู่อย่างจำกัดทำให้งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในประเทศไทยยังมีอยู่ไม่มากนัก ข้อมูลส่วนใหญ่จำต้องอาศัยเอกสารต่างประเทศ หรือแหล่งข้อมูลจากต่างประเทศ เช่น การสัมภาษณ์นักค้าเงินต่างชาติ ฯลฯ ดังนั้น การวิเคราะห์จึงอยู่ในลักษณะของมุมมองจากภายนอก จากการวิจัยเรื่องเฮดจ์ฟันด์ได้ผลสรุป ดังนี้ 1) เฮดจ์ฟันด์ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่แต่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1950 โดยมีความซับซ้อนขึ้นตามสภาวะแวดล้อมของโลกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายใต้การผลักดันของฉันทามติวอชิงตันของประเทศทุนนิยมศูนย์กลางผ่านองค์กร เช่น World Bank, IMF, WTO ฯลฯ 2) คำว่าเฮดจ์ฟันด์มีความหมายกว้างกว่าที่ผู้คนเข้าใจ เนื่องจาก “เฮดจ์ฟันด์” เป็นคำที่ใช้เรียกประเภทของกองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนหลากหลายแตกต่างกัน ทำให้คำว่า Hedge นี้ดูจะมีความหมายที่แคบเกินไปกว่าสิ่งที่เฮดจ์ฟันด์กระทำอยู่ในปัจจุบัน โดยเฮดจ์ฟันด์จำนวนมากทำการลงทุนโดยมิได้เน้นการทำ Hedging หรือ การป้องกันความเสี่ยง 3) เฮดจ์ฟันด์สามารถวิวัฒนาการได้ตามขบวนการโลกาภิวัตน์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบัน โดยผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์จึงพยายามหาข้อบกพร่องของระบบและช่องว่างในการทำกำไรตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากมีโอกาสเกิดขึ้นในตลาดใดเฮดจ์ฟันด์จะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ปรับกลยุทธ์และหาช่องว่างเข้าไปทำกำไรในตลาดนั้นๆ 4) เฮดจ์ฟันด์ให้ทั้งคุณและโทษต่อระบบเศรษฐกิจการเงินโลก ในแง่ประโยชน์นั้น เฮดจ์ฟันด์ได้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากเฮดจ์ฟันด์มีค่าสหสัมพันธ์ที่ต่ำเมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์แบบดั้งเดิม (Traditional Portfolio Investment) นอกจากลงทุนของเฮดจ์ฟันด์ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ตลาดได้แก่ การช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์ การทำให้ราคาหลักทรัพย์ปรับเข้าสู่ราคาพื้นฐานด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่สำหรับตลาดที่มีขนาดเล็กการลงทุนของเฮดจ์ฟันด์อาจให้ผลตรงกันข้ามได้เนื่องจากตลาดขาดความลึกและมีสภาพคล่องต่ำ ทำให้การลงทุนของเฮดจ์ฟันด์ขนาดใหญ่สามารถสร้างความผันผวนให้กับตลาดได้ ยิ่งไปกว่านั้นเฮดจ์ฟันด์อาจสร้างความเสียหายต่อสถาบันการเงินและตลาดการเงินได้ หากเฮดจ์ฟันด์ทำการกู้ยืมเพื่อการลงทุนมากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบในลักษณะปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ทำให้เกิดการทรุดตัวของทั้งตลาดเงินและตลาดทุนอย่างรุนแรง ซึ่งจะสร้างผลเสียหายอย่างมหาศาล จากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Spiral Down from Contagion Effect” ซึ่งนำไปสู่วิกฤติของระบบเศรษฐกิจได้ 5) การกำกับดูแลเฮดจ์ฟันด์ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากความสัมพันธ์ทางด้านผลประโยชน์ของเศรษฐกิจการเมืองสหรัฐฯและเฮดจ์ฟันด์มีอยู่ในระดับสูง 6) เฮดจ์ฟันด์ยังจะขยายตัวต่อไปในอัตราที่สูงต่อไปในอนาคต ถึงแม้ว่าเฮดจ์ฟันด์บางกลยุทธ์จะมีอัตราการทำกำไรที่ลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบัน แต่เฮดจ์ฟันด์ก็จะปรับตัวให้สอดรับกับโลกาภิวัฒน์ตลอดเวลาไม่ว่าสถานการณ์โลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดก็ตาม ผนวกกับการที่ธนาคารได้รุกเข้าไปทำธุรกิจเฮดจ์ฟันด์ สิ่งนี้ได้ช่วยเสริมศักยภาพให้อุตสาหกรรมเฮดจ์ฟันด์ได้รับการยอมรับจากผู้ลงทุนมากยิ่งขึ้น และจะช่วยผลักดันให้เกิดการขยายตัวของเฮดจ์ฟันด์สู่นักลงทุนรายย่อยได้ในที่สุด และท้ายที่สุด คือ การสนับสนุนจากภาครัฐ ได้แก่ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของเฮดจ์ฟันด์ในเอเชีย ซึ่งการสนับสนุนจากภาครัฐนี้จึงนับเป็นตัวแปรสำคัญต่อความรุ่งเรืองของเฮดจ์ฟันด์เอเชียทั้งในปัจจุบันและอนาคต | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this Thesis is to study the occurrence of hedge funds under historical approach from the beginning, formation, mechanism, to the development under globalization of finance in order to create proper perception in the concept of hedge fund investment and help sustain the growth in Thai financial system. Here, I examine using Quantum Fund of Soros Fund Management by George Soros for the case study in order to compare to the World’s Economic and Financial Development. As a result of limited access on hedge fund and the information are not subject to public disclosure or regulatory reporting requirements that makes only a small number of research on Thailand‘s hedge fund were found. Most information was obtained from foreign articles or resources from outside the country i.e. interview with foreign trader therefore the perception were given from the outside view. As a result, the outcome of the study were 1) Hedge fund was nothing new but was first introduced in the 1950s with increasing complications depending on the Capitalized Country through the international organizations e.g. World Bank, IMF and WTO 2) The term hedge fund has a broader meaning as “Hedge Fund” is used when calling a type of fund that has many difference investment strategies. The term hedge fund is loosely defined and does not always imply if a hedging technique is being used. 3) Hedge fund developed by revolution of which leads to a change in institutional structure. Hedge fund manager attempts to produce targeted returns or absolute performance, regardless of the underlying trends in the financial markets. In order to make benefit, they implement a wide array of trading strategies; however they each strive to capture market inefficiencies. 4) Hedge fund gives both positive and negative benefits to the whole financial systems. Hedge funds play a valuable arbitrage role in reducing and eliminating mispricing in financial markets. They also provide risk transfer and diversification in the Traditional Portfolio Investment. They are an important source of liquidity both in periods of calm and stress. They add depth and breadth to our financial markets. But on the other hand, hedge fund involvement in small market might give a negative impact owing to less liquidity and depth of financial market. For that reason, a large hedge fund can cause fluctuation in the market. If hedge fund highly leveraged in financing its investment, it may gives impact to the financial market and that makes hedge fund an important focus of attention from the systemic perspective which then leads to a shock in the economy and the whole financial market. “Spiral Down from Contagion Effect” which bring about the financial turmoil 5) There has been several significant efforts to induce hedge fund disclosure and regulations, but these efforts have fallen short because of large benefit associated with the US. 6) Hedge fund’s rapid growth in popularity continues every year, even though some hedge fund strategies might not provide substantial return like they used to. Hedge funds are still finding a way to play an important role in the financial markets. Moreover, investment in hedge fund become more acceptable to investors when the financial institutions were involved that could bring about more market participants including the individuals. However, I believed that with the support from the government, like in Hong Kong and Singapore, which are central for Hedge fund in Asia, I could see meaningful further increase both in aggregate size of the hedge fund and in the relative significance of their role in the near future | en |
dc.format.extent | 3901067 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1254 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์การเมือง | en |
dc.subject | การเงิน | en |
dc.title | การศึกษาเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยเฮดจ์ฟันด์และโลกาภิวัตน์ | en |
dc.title.alternative | The Political Economy of Hedge Funds and globalization | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1254 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kornkasiwat_Ka.pdf | 3.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.