Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19653
Title: นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ผงผักปรุงรสโรยข้าวแคลเซียมสูงจากไข่น้ำ (วอลฟ์เฟีย กลอโบซ่า)
Other Titles: Product innovation of high calcium rice vegetative seasoning from water meal (Wolffia globosa)
Authors: เกริกชัย ชีระปฏิยุทธ
Advisors: วรภา คงเป็นสุข
สุเมธ ตันตระเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: วัตถุเจือปนในอาหาร
สารให้กลิ่นรส
แคลเซียม
ไข่น้ำ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงผักปรุงรสโรยข้าวแคลเซียมสูงจากไข่น้ำ (วอลฟ์เฟียกลอโบซ่า) และศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ทดสอบแนวความคิดผลิตภัณฑ์ด้วยแบบสอบถาม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การทดสอบตลาดกับกลุ่มตัวอย่าง และการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ ผลจากการสำรวจการยอมรับของผู้บริโภคต่อแนวความคิดของผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสโรยข้าวจากไข่น้ำก่อนที่จะทำการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พบว่าร้อยละ 68.0 ของผู้บริโภคให้การยอมรับในแนวคิดผลิตภัณฑ์นี้ จากนั้นจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากไข่น้ำอบแห้ง โดยทำการศึกษาเวลาที่เหมาะสมในการอบแห้งไข่น้ำที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียล พบว่า ปริมาณความชื้นของไข่น้ำอบแห้งเริ่มคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไม่เกินร้อยละ ±0.001 หลังจากอบแห้งเป็นเวลา 7 ชั่วโมง จากนั้นศึกษาสูตรวิธีการผลิต พบว่าสูตรที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค มีส่วนผสมสูตรดังนี้ ไข่น้ำอบแห้ง 50% ปลาป่น 25% งาขาวคั่ว 15% งาดำคั่ว 5% ซีอิ๊ว 3% น้ำตาลทราย 1.3% พริกป่น 0.7% และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์ (น้ำหนักสุทธิ 100 กรัม) พบว่ามีคาร์โบไฮเดรต 31.57% โปรตีน 29.35% ไขมัน 25.40% ใยอาหาร 8.56% เถ้า 9.98% ความชื้น 3.70% แคลเซียม 589.36 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 583.44 มิลลิกรัม จากการทดสอบทางประสาทสัมผัสของผงโรยข้าวพบว่าคะแนนความชอบโดยรวม ความชอบต่อสี ความชอบต่อกลิ่นรส และความชอบต่อเนื้อสัมผัส ของผงไข่น้ำอบแห้งปรุงรสที่พัฒนาขึ้นมีค่าสูงกว่าผงสาหร่ายโรยข้าวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยร้อยละ 88 ของกลุ่มตัวอย่างสนใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์นี้หากมีการวางจำหน่าย เมื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการตลาด การผลิต และการเงิน พบว่านวัตกรรมผลิตภัณฑ์นี้มีโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากผลการวิเคราะห์ทางการเงิน เมื่อกำหนดอัตราการเติบโตประมาณ 5% ต่อปี ที่อายุโครงการ 5 ปี ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 1,000,000 บาท จะมีระยะเวลาคืนทุน 2 ปี 5 เดือน โดยค่าปัจจุบันสุทธิที่ได้จากการลงทุนเท่ากับ 1,365,736.10 บาท และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุนเท่ากับ 43.75%
Other Abstract: The purposes of this research were to develop the innovation product prototype of high calcium rice vegetative seasoning from Water meal (Wolffia globosa) and to study its feasibility. The study was divided into 4 parts as product concept testing by using survey questionnaire, developing the prototype, market testing with a sample and studying commercialization feasibility. Result from the product concept testing showed that 68% of the respondences were interested in the concept of rice seasoning. Then, the prototype made from water meal has been developed. Water meal was dried at 50C to determine the drying time. The result showed that the moisture content was stable (changed less than ±0.001%) after seven hours of drying. The rice seasoning from water meal was developed. The formula contained 50% dried water meal, 25% ground dried fish, 15% roasted white sesame, 5% roasted black sesame, 3% soy sauce, 1.3% sugar, and 0.7% chilli. The chemical composition analysis (100 gram net weight) were 31.57% carbohydrate, 29.35% protein, 25.40% fat, 8.56% fiber, 9.98% ashes, 3.7% moisture, 589.36 mg of calcium and 583.44 mg of phosphorous. The sensory evaluation of rice seasoning showed that average liking scores of overall, color, flavor, and texture of the developed formula were significantly higher than the leading brand of rice seasoning from seaweed available in the market (p<0.05). Moreover, the 88% of respondences were interested in purchasing if the prototype product is launched. This indicated that there was the possibility to bring this innovative product to the commercial. The feasibility study indicated that this product had an opportunity to commercialization because the financial analysis for 5 years showed that when growth rate was at 5% yearly with the investment of 1,000,000 baht the pay back period was at 2.5 years with 1,365,736.10 baht NPV and 43.75% IRR.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19653
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.322
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.322
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
krerkchai_ch.pdf13.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.