Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19750
Title: การพัฒนาและขยายผลองค์ความรู้การสื่อสารเพื่อสุขภาวะของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
Other Titles: Generation and expansion of the body of knowledge in health communication of health personnel at Namkian subdistrict health center, Phupeang district, Nan province
Authors: นฤมล ใจดี
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การสื่อสารสาธารณสุข
บุคลากรสาธารณสุข -- การสื่อสาร
การบริหารองค์ความรู้
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีลักษณะเป็นกรณีศึกษา ผู้ที่เป็นกรณีศึกษาคือคุณสฤษฎิ์ สุฤทธิ์ หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลน้ำเกี๋ยน วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ 1) ศึกษาแบบจำลองการสื่อสารแบบ บ้าน วัด โรงเรียน และสถานีอนามัย หรือ”บวรส.” 2)ศึกษาบทบาทด้านการสื่อสารของคุณสฤษฎิ์ สุฤทธิ์ 3)ศึกษาคุณลักษณะที่เป็นคุณูปการและข้อจำกัดในการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ 4) ศึกษาการสื่อสารขาเข้า และการสื่อสารขาออก 5) ศึกษาปัจจัยด้านระบบบริการและระบบสุขภาพที่เป็นปัจจัยเอื้ออำนวยและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ 6) ศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ และ 7)ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ/ล้มเหลวในการขยายผลชุดความรู้นี้ไปยังพื้นที่อื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า (1) การสื่อสารเพื่อสุขภาวะแบบ”บวรส”.มีองค์ประกอบคือ 1)เป็นการรวมแกนนำจากสถาบันหลักของชุมชน ซึ่งเป็นที่รวมศรัทธาของชาวบ้าน และเป็นการทำงานบนประเด็นความสนใจเดียวกัน 2)ใช้กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเป็นหลัก 3) มีหลักการที่สำคัญคือชุมชนเห็นปัญหาและแก้ไขปัญหาด้วยชุมชนเอง 4)กระทำการแบบค่อยเป็นค่อยไป 5)การคงไว้ซึ่งความศรัทธาและมิตรภาพของแกนนำกับชาวบ้าน 6)ผู้นำมีส่วนสำคัญ และ 7)ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก (2)คุณสฤษฎิ์ สุฤทธิ์มีบทบาทหน้าที่ด้านการสื่อสารทั้งที่เป็นบทบาทหน้าที่หลักในฐานะเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และบทบาทหน้าที่ตามความต้องการของชุมชน (3)คุณลักษณะที่เป็นข้อเด่นได้แก่ การเป็นคนมีจิตสำนึกสาธารณะ มีความสุภาพอ่อนน้อม มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความเพียรพยายามและความมุ่งมั่น และการไม่ยึดติดอยู่กับข้อจำกัด ข้อด้อยได้แก่ ความสามารถด้านการพูด และการใช้คอมพิวเตอร์ ความล่าช้าในการทำงาน และความไม่ถนัดในการจัดทำเอกสารรายงาน (4) ความสามารถด้านการสื่อสาร ประกอบด้วย (4.1) การสื่อสารขาเข้ามีกระบวนการดังนี้คือ 1)การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ 1.1)การตั้งรับ 1.2) เชิงรุก และ1.3) จากประสบการณ์ตนเอง 2) การจัดการกับข่าวสาร/ข้อมูลได้แก่ 2.1) วิเคราะห์ตรวจสอบ 2.2) จัดระบบ/จัดเตรียมสารสำหรับใช้งานในลักษณะต่างๆ 3) การจัดเก็บข้อมูลข่าวสารแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้ 3.1) จัดเก็บไว้ในสมองด้วยการจดจำ 3.2) จดบันทึกลงในสมุดบันทึก 3.3) บันทึกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ 3.4) เก็บรวบรวมไว้ในห้องหนังสือ 3.5) ฝากให้ผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้ (4.2) การสื่อสารขาออก ได้แก่ 1) การมีความรู้เกี่ยวกับ 1.1) มิติด้านสุขภาพ และ 1.2) การมีความรู้ด้านการสื่อสาร ได้แก่ 1.2.1) มีความรู้เกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร 1.2.2)มีความรู้เกี่ยวกับผู้รับสาร 1.2.3)ความรู้เรื่องบริบทและสภาพการณ์ทางสังคม และ1.2.4) มีความรู้เรื่องการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 2)มีทักษะด้านการสื่อสารคือ 2.1) ทักษะการใช้สื่อ 2.2)ทักษะในการเลือก/ออกแบบสาร 2.3) มีทักษะเฉพาะคือ 2.3.1) ทักษะด้านการฟัง 2.3.2)ทักษะด้านการโน้มน้าวใจ 2.3.3)ทักษะด้านการสอนหรือให้คำแนะนำ 2.3.4) ทักษะเกี่ยวกับวิธีคิดแก้ปัญหา และ 2.3.5) ทักษะในการประสานงาน 3) มีกลยุทธ์การสื่อสาร คือกลยุทธ์การประสมประสานสิ่งเก่า/สิงใหม่ (Hybridization) และกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเป้าหมายในการสื่อสาร 3 ลักษณะคือ 3.1) เพื่อสืบสานเจตนาหรือการได้ทำในสิ่งที่ตั้งใจ 3.2) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และ 3.3) เพื่อสร้างกระแสด้านสุขภาพคือการแข่งเรือปลอดเหล้า (5)ปัจจัยด้านระบบบริการและระบบสุขภาพที่เอื้ออำนวย ได้แก่ ปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งในหน่วยงานเดียวกันและในหน่วยงานตามสายการบังคับบัญชา/สายการประสานงาน ปัจจัยด้านศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนน้ำเกี๋ยน ปัจจัยด้านบรรยากาศด้านสิ่งแวดล้อม และด้านคนทำงานเกี่ยวกับสุขภาวะของจังหวัดน่าน ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคได้แก่ การจัดสรรงบประมาณที่ไม่เอื้อต่องานสร้างเสริมสุขภาพ การมีระบบระเบียนรายงานจำนวนมาก และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นโยบายของรัฐที่ไม่เอื้อต่อการพึ่งพาตนเอง การมีปัจจัยที่เอื้อและกระตุ้นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (6) ผลของการสื่อสารเพื่อสุขภาวะ ได้แก่ ผลที่เป็นกฎระเบียบ การตั้งองค์กร ผลที่เป็นกิจกรรม และผลด้านการเรียนรู้ (7)ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ/ล้มเหลวในการขยายผลองค์ความรู้การสื่อสารเพื่อสุขภาวะไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ ปัจจัยด้านการเป็นชุมชนชนบทที่มีความผูกพันกันของคนในชุมชน การสื่อสารเพื่อสุขภาวะนี้เหมาะสมที่จะใช้ในพื้นที่เล็กๆ เช่น เป็นหมู่บ้านหรือตำบล คุณลักษณะของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารเพื่อสุขภาวะที่ควรมี ได้แก่ ความเชื่อมั่นในพลังของชุมชน ความมีจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ความอดทนเพียรพยายาม ความสุภาพอ่อนน้อม ฯลฯ และที่สำคัญที่สุดคือเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยต้องมีความสามารถด้านการสื่อสาร
Other Abstract: This research is a case study . A case studied , is Mr.Sarit Surit, a leader of Namkian health center. The objectives of this research are as follows (1) to study a health communication model of Namkian district named Bor- Wor- Ror- Sor or community -temple-school-health center, (2) to study communication roles of Mr.Sarit Surit, (3) to study the advantages and the disadvantages characteristics to be a good communicator, (4) to study his input and output communications, (5) to study factors about health service system and health system effected to health communication roles of Mr.Sarit Surit, (6) to study outcomes of health communication programs at Namkian district, (7) to study conditions to success when applying this body of knowledge to other health centers. The result of this research are as follows.(1)The main principal of health communication model of Namkian district were 1) It comprised of 4 parts of the community, who received trustworthiness from the community i.e. community leaders, school teachers, monks, and health center personnel. They joined and worked together toward the same targets, 2) most communication activities used participation communications, 3) all activities worked by people in community for their community, 4)the strategies for sensitive issues was to do any activities step by step, 5)maintain trustworthiness from the community, 6)community leaders was one of key factors to success, and 7) asked for supported from outside organizations, (2) Mr.Sarit had 2 roles in Namkian district, one was a role as a health personnel ,another is a role that responded to some requirements of the community, (3) the advantage characteristics for being a good communicator were to be a public minded person, to be polite, to be social able, having strong intentions to do things, didn’t give up with any restrictions, and the disadvantage characteristics were speaking abilities, not so good using computer, needed plenty of time for working, unhappy writing reports, (4) communication competencies are 4.1) Input communication which is considered as information management processes are as follows 1) Having information seeking strategies such as active strategies 2) passive strategies 3) and his own experiences 2) managed information such as analyzed and checked its accuracy , sent information to keeping system, conveniently to restore. 3) keeping system i.e. keep it in his memory , wrote down on note books , saved it in computer , kept it in library, and asked someone to keep them. 4.2)Output communication are 1) having knowledge about 1.1) health dimensions and 1.2) communications namely 1.2.1) to determining objectives of communication, 1.2.2) about audiences analysis 1.2.3) about contexts and situations , and 1.2.4) about participation communications. 2) having skills about 2.1) select channels, and 2.2)message design which appropriated to the audiences and the contexts related to communication situations 2.3) specific skills which are skill about 2.3.1) listening 2.3.2) persuasion 2.3.3) teaching and advice 2.3.4) problem solving and 2.3.5) coordinating 3) having strategies about hybridization and strategies to reach 3 goals of communications which are 3.1) strategies in order to do something that he needed to do 3.2 strategies to raise community participations 3.3) strategies to raise public concerns about alcohol assumptions, (5) Factors related to health systems and health service systems which supported to health communication were good relationships among colleagues in the same office, and colleagues in a line of command and a line of coordinated, community potential and community participation , atmosphere of circumstances and people working for health communications in Nan province. The obstacles were : lacked of budgets to do some health promotion activities, a lot of reports, and some of government’s policy which opposed to self-dependent of the community and some of bad surroundings that stimulated alcohol assumptions. (6)The outcomes of doing health communication activities called Bor- Wor- Ror- Sor model were 1) having community’s regulations, 2) established 2 functional organizations namely the organization to develop quality of life of people in the community and university for life program at Namkian district, 3) having some activities, and 4)having learning processes of the community. (7) The conditions to success when applying this body of knowledge to others health centers were being a rural community, developing unit was district or sub-district, and some characteristics of a change agent namely believed in community potential, kindly helping people, to be polite, and having strong intentions to do things etc., and the important thing is communication competencies.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19750
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.656
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.656
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naruemol_ch.pdf6.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.