Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19814
Title: การศึกษาศักยภาพของคลองเพื่อการแก้ไขปัญหาทางผังเมืองของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of klong potentiality for the urban problems solution of Bangkok Metropolis
Authors: กิ่งเพชร ลีฬหาชีวะ
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: คลอง -- ไทย
เมือง -- ไทย -- การเจริญเติบโต
การใช้ที่ดิน -- ไทย
คมนาคม -- ไทย
การระบายน้ำ -- ไทย
ผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
คลอง
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กรุงเทพฯ ในอดีตเป็นเพียงชุมชนเล็กๆ แบบเมืองมีลักษณะเป็นสังคมเกษตร และมีคลองเป็นโครงสร้างของเมือง ทำหน้าที่เอนกประสงค์ทั้งในด้านการตั้งถิ่นฐาน การดำรงชีพ และการคมนาคมขนส่ง ทั้งในระดับภาคเมืองและชุมชนจากอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก ในช่วงศตวรรษที่ 19 สร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแก่ประเทศทั้งในด้านกายภาพ สังคมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกรุงรัตนโกสินทร์การใช้ที่ดินและระบบคมนมคม จะหันมาผูกพันกับถนนมากขึ้น โดยละเลยไม่ให้ความสำคัญแก่พื้นที่คลองกรุงเทพฯ ในปัจจุบันเป็นมหานครใหญ่ และพบปัญหาเช่นเมืองใหญ่ ๆ ทั้งหลายคือ ปัญหาประชากร ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาจราจรติดขัด ฯลฯ สภาพการณ์เช่นนี้ไม่อาจปล่อยปละละเลยได้อีก จำเป็นต้องหาแนวทางการแก้ไขโดยเร่งด่วน ซึ่งในปัจจุบัน คูคลองอันเป็นโครงสร้างเก่าแก่มาแต่เดิม ยังมีปรากฏในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด หากแต่มีสภาพแตกต่างกันไป ตามลักษณะการใช้ที่ดินในพื้นที่นั้น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า คลองต่างสภาพเหล่านี้มีลักษณะปัจจุบันเป็นอย่างไร และจะนำคลองมามาช่วยแก้ไขปัญหาของเมืองได้มากน้อยเพียงใด วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.ศึกษาสภาพ ปัญหา ระบบโครงข่ายและความสัมพันธ์ระหว่างคลองกับชุมชนกรุงเทพมหานครในอดีตถึงปัจจุบัน 2.ศึกษาตลอดจนเสนอแนะให้คลองมีศักยภาพ ในการแก้ไขปัญหาทางผังเมืองในบริเวณกรุงเทพมหานคร ผลของการศึกษา 1.ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคลองกับชุมชน โดยจัดแบ่งระยะเวลาของการศึกษาออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้คือ ระยะที่ 1 สมัยก่อนรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ เป็นชุมชนเล็กๆ มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อยังชีพ คลองมีความสัมพันธ์กับชุมชนในทุกระดับของพื้นที่ ภาค เมือง และชุมชน โดยเฉพาะในด้านการตั้งถิ่นฐาน สาธารณูปโภค เกษตรกรรม และในด้านยุทธศาสตร์ ระยะที่ 2 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนทำสนธิสัญญาบาวริ่ง เป็นช่วงระยะเวลาของการก่อสร้างเมือง โดยเลียนแบบความเจริญในสมัยอยุธยา วิถีชีวิตความเป็นอยู่การตั้งถิ่นฐานของคนกรุงเทพฯ การอุปโภค บริโภค จึงไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยา คือ ผูกพันกับน้ำด้วยกันทั้งสิ้น ระยะที่ 3 สมัยหลังสนธิสัญญาบาวริ่ง ถึงรัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่ไทยเผชิญกับการเผยแผ่ขยายของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ระบบเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนจากการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองมาเป็นเพื่อการส่งออกนโยบายของรัฐเป็นการทำนุบำรุงทั้งคลองและถนนในสมัยนี้คลองมีบทบาทมากที่สุดต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ ระยะที่ 4 สมัยรัชกาลที่ 6 –พ.ศ.2500 นับเป็นการต่อเนื่องจากอิทธิพลของรัชกาลที่ 4-5 นโยบายรัฐได้เน้นการพัฒนาคมนาคมทางบก และจากการพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ มีผลกระทบทำให้คลองมีบทบาทลดลงแทบทุกด้าน ระยะที่ 5 พ.ศ.2500-สมัยปัจจุบัน กรุงเทพมหานครภายใต้แนวความคิดด้านระบบถนนจากที่ปรึกษาชาวอเมริกัน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ฉบับ ลักษณะเศรษฐกิจเจริญเติบโตจากภาคเกษตรกรรมมาเป็นภาคอุตสาหกรรม บทบาทคลองต่อชุมชนกรุงเทพมหานคร มิได้เปลี่ยนแปลงจากระยะที่ 4 แต่ภายหลังน้ำท่วมกรุงเทพน ในปี พ.ศ.2518 และ 2526 คลองจึงได้เริ่มมีบทบาทและทวีความสำคัญมากขึ้น 2.กรุงเทพมหานครในปัจจุบันประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย แต่ปัญหาที่คลองมีศักยภาพในการแก้ไขมี 3 ด้านดังนี้ ด้านการระบายน้ำและน้ำท่วม ด้านปัญหาจราจรติดขัด และด้านการขาดแคลนสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ด้านการระบายน้ำท่วม แนวทางการจัดระเบียบคูคลองเพื่อบรรเทาปัญหาปราการแรกคือ การปรับปรุงประสิทธิภาพของคลองโดยจัดลำดับความสำคัญของคลองเพื่อการระบายน้ำ เป็น 3 ระดับ คือ คลองหลัก คลองเสริมระบบคลองหลัก และคลองซอย โดยพิจารณาปรับปรุงด้านประตูระบายน้ำ ขุดลอกคลองที่ตื้นเขิน เปิดทางน้ำไหลคูคลอง สร้างเขื่อนริมคลอง ปรับปรุงชุมชนที่อาศัยอยู่ริมคลอง ประการที่สองคือ การขุดคลองขนานไปกับแนวถนนที่ตัดใหม่ สำหรับการระบายน้ำแทนท่อระบายน้ำ ด้านปัญหาจราจร แนวทางการจัดระเบียบคูคลองเพื่อบรรเทาปัญหาจราจรติดขัด ประการคือ การส่งเสริมการขนส่งทางน้ำในเขตแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยระบบเรือด่วนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เรือข้ามผาก และเรือหางยาว โดยการปรับปรุงด้านกายภาพของคลอง ด้านการบริการ และปรับปรุงจุดต่อเชื่อมระหว่างเส้นทางคมนาคมบกและทางน้ำ ประการที่สองคือ เสนอแนะเส้นทางสัญจรระหว่างแหล่งงาน พักอาศัย แหล่งผลิต โดยให้สอดคล้องกันโครงการป้องกันน้ำของกรุงเทพมหานคร โดยการปรับปรุงคลองหลัก ขุดคลองเสริมระบบคลองหลัก และระบบโครงข่ายย่อย ด้านการขาดแคลนสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ แนวทางการจัดพื้นที่ริมคลองเพื่อแก้ไขปัญหาสวนสาธารณะคือ การพัฒนาที่ว่างเป็นแนวยาวสองข้างคลอง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในระดับชุมชน การพัฒนาที่ว่างเป็นจุด (Spot) บริเวณริมคลองที่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานโดยพัฒนาเป็นสวนสาธารณะระดับท้องถิ่นได้ และการพัฒนาที่ว่างบริเวณริมคลองให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศและเพื่อให้คลองมีประสิทธิภาพสูงสุดในการประกอบการแก้ไขปัญหาด้านการระบายน้ำและน้ำท่วม ด้านจราจรติดขัด และการขาดแคลนสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ คือ 1.จะต้องทบทวนนโยบายการใช้คลองในกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งหมดและกำหนดหน้าที่ วัตถุประสงค์ เป้าหมายคลองให้ชัดเจน 2.กำหนดให้มีแผนพัฒนาระบบคลองควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 3.ปรับปรุงและออกกฎหมาย ระเบียบข้อบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร การกำจัดน้ำเสีย การรุกล้ำทางระบายน้ำ หรือการปรับปรุงชุมชนที่อยู่อาศัยริมคลอง 4.จัดตั้งหน่วยงานกลางที่สามารถประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางน้ำคูคลองทั้งหมด 5.ดำเนินการควบคุมการใช้ที่ดินของเมือง โดยการจัดวางผังเมืองรวม และผังเมือเฉพาะขึ้น 6.เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนให้รู้จักคุณค่าของคลอง และร่วมมือป้องกันรักษาคลองไว้มิให้ถูกทำลาย
Other Abstract: Bangkok in the past was only a small community of the agricultural society type. Canals comprised the main structure and were purpose, serving as human settlements, means of livelihood and transportation at the regional, urban and community levels. Western influence in the 19th century led to significant physical changes in the country’s eco-society especially in Bangkok (Rattakosin City). Bangkok nowadays is a large metropolis facing the same difficulties as other big cities, i.e. population, rise flood problems and traffic congestion. This situation can not be ignored and needs to be remedied urgently. Since the old main structure of canals has left varied throughout the whole area of Bangkok, it is of great interest to study the canals’ present condition and to what extent they can be used in solving urban problems. Objectives of the study 1.To study the conditions, problems, networks and relationships of canals and communities in the Bangkok metropolitan area from past to present. 2.To study and make recommendations regarding the problem solving potential of canals for city-planning in the Bangkok area. Results of the study: 1.Study of the relationships between canals and community comprised 5 phases as follows: Phase I Pre-Rattanakosin ere Bangkok was a small community with a subsistence-type economic structure. Canals were related to communities at the regional, urban and community levels especially in regards to human settlements, public facilities, agriculture and military strategies. Phase II Rattanakosin ere The beginning of the Rattanakosin Period before the Bowring Treaty was a city construction period in Bangkok imitating the glory and consumption were not different from those of the Ayutthaya period, that is, all were bound to waterways. Phase III After the Bowring Treaty to the reign of King Rama V Thailand was faced with the influx of Western Imperialism. The economic system begun to change frotm subsistence production to exportation. The state policy was to preserve and maintain both canals and roads. During this period canals played a large role in the everyday life of Bangkokians. Phase IV From the reign of King Rama VI to 2500 B.E. This period largely shows the influence of the reigns of King Rama IV&V. The state policy was to develop the land-transportation, public facilities and utilities, that lessoned the canals’ importance. Phase V 2500 B.E. to present Bangkok Metropolis was attested by the ideas of American and system consultants and following five national Economic and Social Development Plans, the economic pattern shifted from agricultural to industrial. The role of canals in Bangkok communities did not change from that of Phase IV. However since the floods of 2518 and 2526 B.E. canals have taken a greater importance and role for Bangkok communities. 2.At present, Bangkok Metropolis faces many varied problems but canals have the potential to solve problems in 3 areas as follows: 2.1 Drainage and flood control 2.2 Traffic congestion 2.3 Lack of rest and recreational parks Drainage and flood control Guidelines for organizing the canal system in order to minimize drainage and flood problems rank as the first step improving the efficiency of the canals by prioritizing them for drainage into 3 levels: major, auxiliary, and feeder canals and considering the improvement of water gates, the dredging of shallow canals, the construction of levees, and the improvement of canal-side communities. Second, digging canals parallel to newly constructed roads for drainage purposes instead of laying drainage pipes. Traffic congestion Guidelines for organizing the canal system in order to alleviate traffic congestion include first the promotion of river transportation in the Chao Phraya River by express boat, ferry and long-tailed boat through the improvement of the physical conditions of canals, of boat services, and of the junctions of river and road routes. Second, recommending routes between offices residences and factories in conjunction with the flood-control system in Bangkok Metropolis, improving the system of major, auxiliary and feeder canals. Lack of rest and recreational parks Guidelines for using canal-side areas to solve the public park problem include developing vacant land along the canals for community recreation, spot development in settled areas along the canals to the local parks, and the development of vacant temple land on the canals as public parks for the local population and tourists. In order to make efficient use of canals in reaching solutions to the problem of drainage and fold control, traffic congestion and lack of rest and recreational parks, the following ,easers are receded ” 1.Review the policies of canal use in the Bangkok Metropolis; determine the functions, objectives and goals of the canal system. 2.Develope a plan for the improvement of the canal system along with other plans of the national economic and social and those of the metropolitan plan. 3.Revise laws and regulations concerned with the building construction, the sewage system encroaching on drainage canals; or improve communities on canals. 4.Set up a central body to coordinate efforts among all agencies concerned with waterways and canals. 5.Control land use in the Metropolis through an overall lay-out of the city and specific lay-outs. 6.Dissiminate the knowledge of canals to public and encourage them to not to destroy canals.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19814
ISBN: 9745669903
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kingpetch_Le_front.pdf762.86 kBAdobe PDFView/Open
Kingpetch_Le_ch1.pdf308.04 kBAdobe PDFView/Open
Kingpetch_Le_ch2.pdf670.98 kBAdobe PDFView/Open
Kingpetch_Le_ch3.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Kingpetch_Le_ch4.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open
Kingpetch_Le_ch5.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Kingpetch_Le_back.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.