Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19901
Title: สุขภาพจิตของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Mental health of public service motorcycle drivers in Bangkok Metropolis
Authors: ผจงจิต ผาภูมิ
Advisors: นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ
เยาวลักษณ์ เลาหะจินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สุขภาพจิต
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความชุกของปัญหาสุขภาพจิตของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในกรุงเทพมหานครว่าเป็นอย่างไร และศึกษาว่าปัจจัยด้านบุคคลของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ อย่างไร เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยอื่นๆ ต่อไปโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบทดสอบสุขภาพจิต Symptoms Distress Checklist-90 (SCL-90) สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test f-test และทดสอบความ แตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี Scheffe ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC+ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความชุกของปัญหาสุขภาพจิตของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 31.5 โดยพบ ปัญหาสุขภาพจิต ด้านความรู้สึกว่ามีอาการทางกาย มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 15.2 รองลงมา คือ ความกลัวโดยไม่มีเหตุผล ความซึมเศร้า และความคิดหวาดระแวง คิดเป็นร้อยละ 11.9, 10.4 และ 10 ตามลำดับ 2. ปัญหาสุขภาพจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01-0.05 จำแนกตามตัวแปร ดังนี้คือ รายได้ ภาระหนี้สิน การมีโรคทางกาย ประสบการณ์ในการขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และจำนวนชั่วโมงการทำงาน
Other Abstract: The purpose of this study was to (1) determine the prevalence of mental health problems and to study factors that influence mental health of the public service motorcycle drivers in Bangkok metropolis (2) used as primary data for further study. The sample used in this study were 270 public service motercycle drivers. The personal questionnaires and symptoms distress checklist-90 (SCL-90) were used. The data were analyzed by percentage, arithmetric mean, standard deviation, t-test and f-test. Scheffe was used when data analyzed by f-test were significant. The major findings were as follows : 1. The prevalence of mental health problems pf public service motorcycle drivers was 31.5 percents. The somatization had the highest prevalence (15.2 percents) followed orderly by paranoid ideation (11.9) phobic anxiety (10.4) and depression (10). 2. The mental health problems were statistically significant difference at 0.01-0.05 level depending on variables : income, debt disease, experience of public service motorcycle driving and hours of driving per day
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19901
ISBN: 9746312782
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phachongchit_p.pdf8.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.