Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1992
Title: ผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการปรับเปลี่ยนความคิดต่อภาวะซึมเศร้าของภรรยาที่ถูกทำทารุณกรรม
Other Titles: Effect of empowerment and cognitive restructuring program on depression in abused wives
Authors: ทมาภรณ์ บูรณสมภพ, 2520-
Advisors: เพ็ญพักตร์ อุทิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การทารุณภรรยา
ความรุนแรงในครอบครัว
ความซึมเศร้าในสตรี
การเสริมสร้างพลังอำนาจ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะซึมเศร้าของภรรยาที่ถูกสามีทำทารุณกรรมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการปรับเปลี่ยนความคิด ใช้แบบแผนการวิจัยรูปแบบกลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา (The One-Group Time Series Design) โดยทำการวัดก่อนได้รับโปรแกรม 2 ครั้ง และหลังสิ้นสุดโปรแกรม 2 ครั้ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ภรรยาที่มีภาวะซึมเศร้าจากการถูกสามีทำทารุณกรรม ระดับปานกลางถึงมากจำนวน 20 คน ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติ จากภรรยาที่มาขอรับคำปรึกษา ณ. ศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการปรับเปลี่ยนความคิด แบบประเมินแหล่งพลังอำนาจซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอบบาคเท่ากับ .82 แบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยสัมประสิทธิแอลฟ่าครอบบาคเท่ากับ .82 และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอบบาคเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measures ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าของภรรยาระหว่างก่อนได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 และหลังสิ้นสุดโปรแกรมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ([Mean] = 25.7, 25.4, 19.2 และ 16.9 ตามลำดับ, F = 135.334, df = 3) 2. เมื่อพิจารณาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าจากการวัดทั้ง 4 ครั้ง เป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Least Significant Difference (LSD) พบว่า 2.1 ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้า ก่อนได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ไม่แตกต่งกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แตกต่างกับค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะซึมเศร้าก่อนได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 6.5, 6.2, 8.8 และ 8.5 ตามลำดับ) โดยค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าภายหลังได้รับโปรแกรมทั้ง 2 ครั้ง ([Mean] = 19.2 และ 16.9 ตามลำดับ) มีค่าต่ำกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าก่อนได้รับโปรแกรมทั้ง 2 ครั้ง ([Mean] = 25.7 และ 25.4 ตามลำดับ) 2.3 ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าหลังสิ้นสุดโปรแกรมครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.3) โดยค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าหลังสิ้นสุดโปรแกรมครั้งที่ 2 ([Mean] = 16.9) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าหลังสิ้นสุดโปรแกรมครั้งที่ 1 ([Mean] = 19.2)
Other Abstract: The purpose of this Quasi Experimental Research study was to compare level of depression of abused wives between before and after receiveing empowerment and cognitive restructuring program. The One-Group Time Series Design was utilized. Data were collected at four points of time; 2 pre-test before the intervention and 2 post-test after the intervention. The purposive sample consisted of 20 abused wives recruited from the Friend of Women Foundation. Research instruments were empowerment and cognitive restructuring program, which was validated by experts, and three questionnaires including Sources of Power Questionnaire, Automatic Thought Questionnaire, and Beck Depression Inventory (BDI). The Cronbach's Alpha coefficiet reliability of these questionnaires were .82, .82 and .81, respectively. Data were analyzed using repeated measures ANOVA. Multiple comparison were conduted using Least Significant Difference (LSD). Major findings were as follows: 1. The mean level of depression of abused wives before receiving the empowerment and cognitive restructuring program and after receiving the program was significantly difference (p < .05) ([Mean] = 25.7, 25.4, 19.2 and 16.9 respectively, F = 135.334, df = 3) 2. The mean difference Level of depression of abused wives at 4 point were analyzed by Multiple comparison were conduted using Least Significant Difference (LSD) ; the finding revealed that : 2.1 The mean level of depression before receiving the program at time 1 and time 2 were not significantly difference (p < .05). 2.2 The mean level of depression after the program at time 1 and time 2, and before the program at time 1 and time 2 were significantly difference (p < .05). (t = 6.5, 6.2, 8.8 and 8.5 respectively) The mean level of depression after the program at 2 times ([Mean] = 19.2, [Mean] = 16.9) were lower than before the program at 2 times ([Mean] = 25.7, [Mean] = 25.4) 2.3 The mean level of depression after the program at time 1 and after the program at time 2 were significant difference (p < .05) (t = 2.3)by which the mean level of depression after the program at time 2([Mean] = 16.9) was lower than after the program at time 1 ([Mean] = 19.2).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1992
ISBN: 9741763018
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thamaporn.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.